หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ประโยชน์จากการรักษาโรคความดันโลหิต
พบว่าการลดความดันโลหิต จะสามารถลดโรคแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 30-35% และสามารถลดโรคแทรกซ้อนโรคเส้นเลือดหัวใจตีบได้ 20-25% และลดโรคหัวใจวายได้ 50 %
เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการ ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์เมื่อมีโรคแทรกซ้อนแล้วเช่น ไตวาย หัวใจวายเป็นต้น การตรวจวัดความดันประจำปีจะช่วยให้เรารักษาผู้ป่วยได้เร็วขึ้น การพิจารณาให้การรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่น ระดับความดันโลหิต โรคต่างๆที่พบร่วม ปัจจัยเสี่ยงต่างที่เป็นดังแสดงในตารางข้างล่าง
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ(1) |
โรคร่วมต่างๆที่เป็นอยู่(2) |
การสูบบุหรี่ |
กล้ามเนื้อหัวใจหนา |
ไขมันในเลือดสูง |
เคยเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ |
โรคเบาหวาน |
เคยผ่าตัดเปลี่ยนหลอดเลือดหัวใจ |
หญิงอายุมากกว่า 65 ปี ชายมากกว่า 55 ปี |
หัวใจวาย |
อ้วนดัชนีมวลกายมากกว่า 30 |
เคยเป็นอัมพาต |
ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ(หญิงก่อน 65 ชายก่อน 55) |
โรคไต |
ความดันโลหิตสูง |
หลอดเลือดขาตีบ |
ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย |
มีการเปลี่ยนแปลงทางตา |
พบไข่ขาวในปัสสาวะ |
เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงและโรคที่พบร่วมก็จะจัดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
หลังจากท่านได้จัดว่าท่านอยู่ในกลุ่มไหนแล้วก็จะมาพิจารณาว่าจะเริ่มรักษาความดันโลหิตสูงเมื่อใด
ความรุนแรงของความดันโลหิต (systolic/diastolic mm Hg) | Prehypertension คือผู้ที่มีความดันโลหิต (120-139/85-89) |
Stage 1 (140-159/90-99) |
Stage 2 ความดัน >160/100 |
ผู้ป่วยกลุ่ม A | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (จะให้ยาหลังจาก ปรับพฤติกรรมแล้ว เป็นเวลา 1 ปีความดันไม่ลด) | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม +การให้ยา2ชนิด |
ผู้ป่วยกลุ่ม B | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (จะให้ยาหลังจาก ปรับพฤติกรรมแล้ว เป็นเวลา 6 เดือนแล้วความดันไม่ลด หากมีหลายปัจจัยเสี่ยงต้องรีบให้ยา) | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม +การให้ยา |
ผู้ป่วยกลุ่ม C | การให้ยา +ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม | การให้ยา +ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม + การให้ยา |
แต่ต้องเน้นว่าจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วยเสมอ
การรับประทานอาหารสุขภาพการเลือกรับประทานอาหารเพื่อลดความดันโลหิตเรียก DASH Diet ซึ่งจะลดเค็มลดไขมันอิ่มตัว เพิ่มธัญพืช ซึ่งสามารถลดความดันโลหิตทั้งตัวบนและตัวล่าง แต่การเลือกรับประทานอาหารสุขภาพทั่วๆไปจะทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น |
ลดเค็มร่างกายเราขับเกลือออกทางปัสสาวะและเหงื่อ ผู้ที่รับประทานอาหารเค็มทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เกิดโรคไต การลดเล็มจะช่วยลดความดันโลหิต |
รักษาน้ำหนักให้ปรกติคนที่อ้วนจะมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 คนอ้วนลงพุงจะมีรอบเอวมากกว่า 90 และ80 ซมในชายและหญิง คนอ้วน จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน การลดน้ำหนักจะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าว |
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายใช้พลังงาน ลดความดื้อต่ออินซูลิน หัวใจแข็งแรง การออกกำลังกายจะลดการเกิดโรคเบาหวาน ลดการเกิดโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เรียนรู้วิธีออกกำลังที่ถูกต้อง |
ลดการดื่มสุราการดื่มสุรามากไปจะเกิดโรคตับ และความดัน และจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การดื่มสุราแต่พอควรจะลดอัตราการเสียชีวิต |
หยุดการสูบบุหรี่โรคความดันจะทำให้หลอดเลือดตีบ บุหรี่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบมากขึ้น การลดบุหรี่จะลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง |
สรุปการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
เมื่อไรจะรักษาความดันโลหิตสูง | โรคแทรกซ้อนความดันโลหิตสูง |
ทบทวน 5 มีนาคม 2549
เอกสารอ้างอิง
American Heart Association Updates Guidelines for Blood Pressure Management
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว