การลดเกลือในอาหารนอกจากลดความดันโลหิตแล้ว ยังลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าการลดเกลือในอาหารจะสามารถลดความดันโลหิตได้ แต่การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจัง จนมีรายงานการศึกษาจาก Dr Nancy Cook (Brigham and Women's Hospital, Boston, MA)โดยศึกษาผู้ป่วยประมาณ 3000 คนโดยลดปริมาณเกลือลงร้อยละ25-30% ระยะเวลาศึกษาประมาณ 10-15 ปีผลการศึกษาพบว่า
- ผู้ที่ได้รับอาหารที่มีเกลือน้อยจะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยว่ากลุ่มที่รับประทานเค็มลงร้อยละ25
- อัตราการเสียชีวิตของผู้ที่รับประทานอาหารจืดก็ต่ำกว่าผู้ที่รับประทานอาหารเค็ม แต่ไม่มีนัยทางสถิติ
Cook NR, Cutler JA, Obarzanek E, et al. Long-term effects of dietary sodium on cardiovascular disease outcomes: observational follow-up of the trials of hypertension prevention (TOHP). BMJ 2007; DOI: 10.1136/bmj.39147.604896.55.
ความเห็น
- สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงควรจะรับประทานอาหารที่จืด
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจวาย โรคไตควรจะรับอาหารที่มีเกลือน้อย
ความเห็นของผู้เขียน
- วันหนึ่งๆเราไม่ควรจะได้รับเกลือเกิน 2400 มก หรือปริมาณ 1 ชช การได้รับเกลือสูงจะทให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคไต สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจก็ไม่ควรจะได้รับเกลือเกิน ครึ่ง ชช
อ่านเรื่องเกลือและสุขภาพ