หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ค่าความดันโลหิตมีสองค่า คือความดันโลหิตตัวบนเรียก Systolic ความดันโลหิตตัวล่างเรียก Diastolic เมื่อสมัยก่อนจะเน้นเรื่องความดันตัวล่างคือ diastole ว่าหากสูงจะทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ปัจจุบันทั้งความดันตัวบน( systole ) และความดันตัวล่าง(diastole) สูงจะทำให้เกิดทั้งโรคหัวใจ และหลอดเลือด พบว่าหากเป็นความดันโลหิตสูงโรคเดียว จะพบว่าเกิดโรคหลอดเลือดสมองมาก ภาวะนี้พบได้ในประเทศแทบเอเซีย แต่หากมีโรคอื่น เช่น ไขมัน เบาหวาน หรือสูบบุหรี่จะพบโรคหัวใจมากกว่าโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นภาวะที่พบในประเทศยุโรปและอเมริกา
ความดันโลหิตตัวบน ความดันโลหิตตัวล่างหรือ ช่วงระหว่างความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง อันไหนมีความสำคัญ
ค่าความดัน sysytole |
ค่าความดนตัวล่าง diastole |
||
ค่าความดันที่ต้องการ optimal |
<120 | และ | <80 |
ค่าความดันปกติ normal |
120-129 | และหรือ | 80-84 |
ค่าความดันปกติแต่สูง high normal |
130-149 | และหรือ | 85-89 |
ความดันสูงระดับ1 grade1hypertension |
150-169 | และหรือ | 90-99 |
ความดันสูงระดับ2 grade2hypertension |
170-189 | และหรือ | 100-109 |
ความดันสูงระดับ3 grade3hypertension |
>180 | และหรือ | >110 |
ความดันสูงตัวบน isolated hypertension |
>140 | และ | <90 |
เมื่อท่านวัดความดันโลหิตแล้ว ดูว่าความดันโลหิตท่านอยู่ในช่วงไหน โดยดูทั้งความดันตัวบนและตัวล่าง หากว่าค่าใดสูงให้เอาค่านั้น เช่าหากวัดได้ค่าความดันโลหิต150/120 mmHg จะจัดว่าท่านอยู่ในความดันโลหิตระดับ 3 แม้ว่าความดันตัวบนของท่านจะอยู่ในระดับ 1
White coat (isolated office) hypertension และ masked (isolated ambulatory) hypertension
ความดันโลหิตที่โรงพยาบาลมักจะสูงกว่าความดันโลหิตที่วัดจากที่บ้าน เนื่องจากความตื่นเต้น, ความกังวล ความเครียด หรือตอบสนองต่อสภาวะขณะนั้น ความแตกต่างของความดันโลหิต ดังกล่าวคือ white coat effect White coat hypertension (WCH) หมายถึงความดันโลหิตที่โรงพยาบาล/คลินิกสูง แต่ความดันโลหิตที่บ้านปกติ ในทางกลับกัน ความดันโลหิตที่โรงพยาบาล/คลินิกปกติ และ ความดันโลหิตที่บ้านสูงเรียก masked hypertension (MH) โดยค่าที่ใช้ตัดสินความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตที่โรงพยาบาล คือ 140/90 มม.ปรอท และ ความดันโลหิตที่บ้านคือ 135/85 มม.ปรอท
หลังจากที่ทราบค่าความดันโลหิตแล้ว ท่านต้องมาพิจารณาว่าท่านมีความเสียงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในขั้นไหน คลิกที่นี่
ความดันโลหิตสูง คำถามที่พบบ่อย
ความดันโลหิตสูง | ความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อน |