หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนานมักจะมีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด หรือการทำงานของอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่ หลอดเลือด ตา สมอง หัวใจ ไต การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะดำเนินไปอย่างช้าๆโดยที่ไม่มีอาการอะไร ดังนั้นในการเริ่มต้นให้การรักษาจะต้องนำผลการตรวจเหล่านี้มาพิจารณาด้วย การตรวจเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นการตรวจเพิ่มเติม แพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม การตรวจดังกล่าวได้แก่
หัวใจเป็นอวัยวะที่ได้รับความเสียหายจากโรคความดันโดยที่ไม่เกิดอาการซึ่งสามารถตรวจได้จาก
การตรวจไตว่ามีอวัยวะเสียหายจากความดันหรือไม่โดยการตรวจเลือดและปัสสาวะ
การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่จอประสาทตา จะพบการเปลี่ยนแปลงชัดเจนในผู้ป่วยที่ความดันสูงมาก ดังนั้นจึงแนะนำให้ตรวจจอประสาทตาในรายที่ความดันโลหิตสูงมาก
ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงอาจจะมีสมองขาดเลือด หรือเลือดออกในสมองในปริมาณที่ไม่มาก การที่จะทราบจะต้องตรวจด้วยการทำ computer scan MRI สมอง แต่การตรวจดังกล่าวมีราคาแพงซึ่งผลที่ได้ไม่คุ้นค่ากับการตรวจจึงไม่แนะนำให้ตรวจในคนที่ไม่มีอาการทางสมอง
การตรวจทั้งหมดดังกล่าวเบื้องต้นหากพบว่าผิดปกติแสดงว่าความดันโลหิตที่สูงมีผลต่ออวัยวะดังกล่าว จะถือว่าอวัยวะได้รับความเสียหายโดยที่ยังไม่เกิดอาการ
ความดันโลหิตสูง คำถามที่พบบ่อย
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนจากความดัน | โรคที่เกิดจากความดันโลหิต |