jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

เมื่อไรจะเริ่มรักษาความดันโลหิตสูง


การจะเริ่มต้นรักษาความดันจะต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ ที่ผ่านมามักจะรักษาโดยพิจารณาจากระดับความดันโลหิต แต่แนวทางใหม่ได้มีการนำเอาปัจจัยเสี่ยง อวัยวะที่ได้รับความเสียหายจากความดันโลหิต และโรคที่เกิดจากความดันโลหิตมาพิจารณาร่วมด้วย

  1. ขั้นสองให้คุณพิจารณาว่าคุณมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดกี่ข้อโดยเปิดหน้าความเสี่ยงดู ความเสี่ยงกี่ข้อจะมาดูตามแนวนอนของตาราง หากคุณความดันโลหิต144/86 คุณมีความเสี่ยง2ข้อ (แนวนอนช่อง2)คุณก็ตกอยู่ในช่องเหลือง แล้วไปดูรายละเอียดข้างล่างว่าช่องสีเหลืองเค้าแนะนำอะไรบ้าง
  2. ขั้นตอนที่สามก็มาดูว่าอวัยวะคุณได้รับผลเสียหายจากความดันหรือเปล่า ค่านี้จะได้รับผลจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจ echocardiography การเจาะเลือดหาค่า Creatinin การทำ ultrasound หลอดเลือด การตรวจหาไข่ขาวในปัสสาวะ ตัวอย่างหากคุณวัดความดันโลหิตได้ 144/86 มีความเสี่ยง2 ข้อ แต่คุณตรวจปัสาวะพบว่ามีไข่ขาว ดังนั้นตารางในแนวนอนจะอยู่ในช่องที่ 3 คุณจะตกในช่องสีส้มแทนที่จะเป็นสีเหลือง
  3. ต่อไปให้ดูว่าคุณเป็นเบาหวานหรือน้ำตาลเกินหรือไม่ หากเกินหรือเป็นเบาหวานก็พิจารณาตารางแนวนอนช่องที่4
  4. ขั้นตอนสุดท้ายให้พิจารณาว่าคุณเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไตหรือไม่ หากเคยเป็นจะพิจารณาแนวนอนช่องที่ 5


เมื่อพิจารณาครบแล้วคุณก็จะได้ว่าคำแนะนำในการรักษาความดันของคุณอยู่ในสีอะไร คุณก็ไปเลือกอ่านในสีนั้นๆ

ระดับความดันโลหิต
    120-129/80-84 130-139/85-90 140-159/91-99 160-179/100-109 >180/110
        Grade1 Grade2 Grade3
1 ไม่มีความเสี่ยง A A 1B C D
2 มีความเสี่ยง 1-2 2B 2B C C E
3 ความเสี่ยง>3 ข้อ C C D D E
4 เป็นเบาหวาน C D D D E
5 มีโรคจากความดัน E E E E E

ความดันโลหิตเป้าหมาย ยารักษาความดันโลหิต การรักษาโรคความดันดื้อยา การรักษาความดันโลหิตสูงอื่นๆ

เมื่อไรจะรักษาความดันโลหิต โรคแทรกซ้อนความดันโลหิตสูง