การตรวจการทำงานของไต
ร่างกายของคนเรามีไตสองข้าง หากเหลือไตข้างเดียวก็ยังสามารถดำรงชีวิตได้ ไตมีหน้าที่หลายประการที่ทำให้สุขภาพดี เมื่อ nephrons (หน่วยเล็กที่สุดของไต)เสื่อมจะทำให้การกรองน้ำและของเสียลดลง ซึ่งจะทำให้เกิดการคั่งของน้ำและเกลือแร่ โรคไตที่เริ่มเป็นจะไม่มีอาการ จนกระทั่งการทำงานของไตลดลงระดับหนึ่งจึงจะเกดอาการ
ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องตรวจการทำงานของไต เพื่อที่จะได้ทราบว่าเป็นโรคไตตั้งแต่เริ่มเป็น
- ไตของท่านอาจจะเสื่อมถึงร้อยละ 90 โดยที่ไม่มีอาการ แต่ก็ไม่อาจจะรักษาให้ไตกลับคืนมาสู่ปกติ
- คนทั่วไปจะยังคงมีชีวิตปกติสุขแม้ว่าหน้าที่การทำงานของไตจะเหลือเพียงร้อยละ 20
- อาการเริ่มต้นที่สำคัญคือ เหนื่อยง่าย เพลีย คันตามตัว
- เมื่อไตเสื่อมมากขึ้นจะมีอาการเปลี่ยนแปลงทางปัสสาวะ(ปัสสาวะลดลง สีปัสสาวะเปลี่ยน มีหนอง หรือมีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ)เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
- อาการอื่นๆได้แก่บวมเท้า ชาปลายมือปลายเท้า(จากอาการบวม)
ดังนั้นจะเห็นว่าหากเป็นโรคไตแล้วจะดำเนินไปสู่ไตวายเรื้อรัง โรคไตบางโรคสามารถป้องกันได้หากเจอตั้งแต่เริ่มเป็นโรค
โดยทั่วไปการเกิดโรคไตมีสองแบบคือ
- โรคไตวายเฉียบพลัน Acute Kidney Failure หมายถึงภาวะหรือโรคที่ทำให้หน้าที่ของไตลดลงอย่างรวดเร็ว การรักษาต้องรกษาที่ต้นเหตุ
- โรคไตวายหรือไตเสื่อม Chronic Kidney Disease (CKD) หมายถึงการทำงานของไตลดลง1/3เป็นเวลามากกว่า 3 เดือน ผู้ป่วยโรคไตส่วนหนึ่งจะต้องรักษาโดยการฟอกเลือด
การตรวจการทำงานของไต
การเจาะเลือด
- การประเมินอัตราการกรองของไต(Estimated Glomerular Filtration Rate (eGFR)) เป็นวิธีการหน้าที่ของไตที่ดีที่สุด การรายงานผลจะรายงานเป็น millilitres per minute per 1.73m2 (mL/min/1.73m2)
- ค่าปกติ A GFR of 100 mL/min/1.73m2 หากคำนวณแล้วได้ 100 mL/min/1.73m2แสดงว่าการทำงานของไตเท่ากับ'100%
- หากตรวจแล้วอัตราการกรองของไตเท่ากับ 50 mL/min/1.73m2การทำงานของไตเท่ากับ50%
- Creatinine เป็นของเสียที่เกิดจากกล้ามเนื้อ และถูกขับออกทางไต เมื่อไตเสื่อมจึงเกิดการคั่งของCreatinine ในเลือด ค่านี้จะผันแปรตามเพศ อายุ น้ำหนัก
- Ureaเป็นของเสียที่เกิดจากการสลายโปรตีนซึ่งค่าจะสูงเมื่อไตเสื่อม
การตรวจปัสสาวะ
- ค่า Albumin Creatinine Ratio เป็นการวัดปริมาณโปรตีนซึ่งส่วนใหญ่เป็น albumin ที่รั่วเข้าไปในปัสสาวะเนื่องจากไตเสื่อมอ่านเรื่องโปรตีนในปัสาวะ
- การตรวจปัสสาวะ Urinalysis เป็นการตรวจปัสสาวะทั่วๆไปซึ่งจะตรวจหาเม็ดเลือดแดง การติดเชื้อ สี น้ำตาลในปัสสาวะ
การตรวจเลือดสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน
การตรวจสำหรับผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง
การตรวจไขมันในเลือด
เมื่อแพทย์สั่งตรวจไขมันในเลือดแพทย์จะสั่งเจาะ 4 ตัวได้แก่
การตรวจวิตามินและเกลือแร่
- Potassium (K+) เป็นเกลือแร่ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีมากในอาหารพวกผักและผลไม้ หากร่างกายได้รับมากไป ไตจะขับออกทางปัสสาวะ ค่าทั้งสูงหรือต่ำเกินไปจะมีผลเสียต่อหัวใจ
- Sodium (salt, Na+) - เป็นเกลืแร่ที่สำคัญในกระแสเลือด ค่าสูง และค่าต่ำกว่าปกติจะส่งผลเสียต่อร่างกาย
- Calcium (Ca) เป็นแร่ธาตุที่สำหรับสร้างกระดูก และฟัน เซลล์ในร่างกายจำเป็นต้องมีแคลเซี่ยม เพื่อให้ทำงานปกติ ยังมีความสำคัญในการบีบตัวของกล้ามเนื้อ
- Phosphate (PO4) เป็นเกลือที่มีความสำคัญในการสร้างกระดูก ค่า phosphate สูงทำให้เกิดปวดตามข้อ เช่นข้อเข่า ศอก ข้อเท้า หากไตเสื่อมค่า phosphate จะสูง
- Vitamin D - ร่างกายเราสร้างวิตามิน ดีจากแสงแดด ไตเป็นตัวเปลี่ยนวิตามินดี เพื่อให้ร่างกายใช้วิตามินนี้
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
- Haemoglobin (Hb) -เป็นส่วนหนึ่งของเม็ดเลือดแดงทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย หากไตเสื่อมค่านี้จะต่ำหรือที่เรียกว่าโลหิตจางเนื่องจากขาดฮอร์โมน erythropoitin
- Haematocrit (Hct) ความเข้มข้นของเลือดซึ่งจะบ่งบอกว่ามีโลหิตจางหรือไม่
- Transferrin saturation (TSAT) -เป็นการวัดโปรตีนที่เป็นตัวนำธาตุเหล็กว่ามีธาตุเหล็กมากน้อยเพียงใด
- Ferritin -เป็นการวัดธาตุเหล็กในร่างกาย
การตรวจฮอร์โมน
- Parathyroid hormone (PTH)เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมแคลเซี่ยม ฟอสฟอร์รัส และวิตามินดี หากไตเสื่อมค่าฮอร์โมนนี้จะสูง
การตรวจทางรังสี
- X‐rays สามารถตรวจดูกระดูกและอวัยวะ
- Ultrasound สามารถตรวจขนาดไต ตรวจต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ และโครงสร้างอวัยวะในร่างกาย
- Computerised Tomography (CT) Scan หรือ Magnetic Resonance Imaging (MRI) เป็นการตรวจรายละเอียดของโครงสร้าง และเนื้อเยื่อ
- การตัดชิ้นเนื้อไตKidney biopsy เป็นการใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อไตเพื่อเอาชิ้นเนื้อส่องกล้องตรวจ
- Fistulagramหากมีรูการตรวจนี้จะแสดงให้เห็นว่ารูติดต่อกับอะไรบ้าง
- Cystoscopy เป็นการใช้กล้องส่องเข้ากระเพาะปัสสาวะเพื่อดูในกระเพาะปัสสาวะ
- Intravenous Pyelogram (IVP) เป็นการฉีดสีเข้าไปในหลอดเลือด และให้สีขับออกทางท่อปัสสาวะเพื่อจะดูขนาดไต โครงสร้างของไต นิ่วในไต นิ่วในท่อไต
โรคไตเรื้อรัง ระยะของโรคไตเรื้อรัง ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังอาหารที่ต้องระวังสำหรับผู้ป่วยโรคไต
อัตรากรองของไต | Creatinin | BUN | การตรวจปัสสาวะ | การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ | การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด | การตรวจไขมันในเลือด | การตรวจเกลือแร่ | แคลเซี่ยม
วันที่ 23/1/2566
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว