การเจาะเลือดหาระดับแคลเซี่ยม
ทำไมถึงต้องเจาะหาระดับแคลเซี่ยม
- เพื่อตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ ไต การแพร่กระจายของมะเร็งบางชนิด การอักเสบของตับอ่อน นิ่วในไต
- ตรวจว่าอาการของผู้ป่วยเกิดจากแคลเซี่ยมในเลือดต่ำหรือไม่ เช่น กล้ามเนื้อเป็นตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก ซึมลง หรือสับสน
- เพื่อตรวจว่าอาการของผู้ป่วยเกิดจากแคลเซี่ยมในเลือดสูงได้แก่ อ่อนแรง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูกปัสสาวะบ่อย ปวดกระดูก
ข้อสังเกต
การเจาะหาระดับแคลเซี่ยมไม่ได้บอกว่าท่านรับประทานหารที่มีแคลเซี่ยมพอหรือไม่ และไม่ได้บอกว่าท่านมีโรคกระดูกพรุนหรือไม่ เพียงแค่บอกว่ามีแคลเซี่ยมในเลือดท่านเป็นปริมาณเท่าใด
วิธีการเจาะเลือด
ให้งดวิตามินที่มีแคลเซี่ยมเป็นส่วนประกอบประมาณ8-12 ชั่วโมง วิธีการเจาะเลือด
- เจ้าหน้าที่จะนำสายยางมารัดที่ต้นแขนเพื่อให้เส้นเลือดดำโป่ง
- ทำความสะอาดบริเวณผิวหนังที่จะเจาะเลือดด้วยแอลกอออลล์
- ใช้เข็มเจาะเข้าหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ที่มีเส้นเลือดขนาดเล็กอาจจะต้องเจาะหลายครั้ง
- ดูดเลือดเก็บ
- ถอดสายรัดออก
- นำเอาสพลีสะอาดกดบริเวณที่เข็มเจาะ
- หลังเจาะเลือดอาจจะมีรอยช้ำอยู่บ้าง หากเลือดออกไม่หยุดหรือรอยช้ำเป็นวงกว้างให้ปรึกาาแพทย์
ค่าปกติ
ผู้ใหญ่ 9-10.5mg%
เด็ก 7.6-10.8 mg%
Ionized calcium 4.65–5.28 mg/dL
สาเหตุของค่าแคลเซี่ยมในเลือดสูง
- อาจจะพบได้ในผู้ป่วยที่นอนนาน หรือต่อม parathyroid ทำงานมากไป โรคไต วัณโรค หรือโรคมะเร็งที่แพร่กระจายไปที่กระดูก
- อาจจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีวิตามินดี วิตามินเอ หรือแคลเซี่ยมสูงไป หรือดื่มนมมากไป
- พบได้ในภาวะที่ร่างกายขาดน้ำ โรคตับ โรคไต
- ที่พบไม่บ่อยคือต่อมparathyroidทำงานมากไป
- หากพบแคลเซี่ยมในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคมะเร็งจะต้องรีบให้การรักษา
สาเหตุของแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ
- พบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคต่อม parathyroid โรคลำไส้ โรคตับ โรคไต ไขขาวในเลือดต่ำ
- อาจจะเกิดจาก magnesium ในเลือดต่ำ
- คนท้องและคนแก่ก็อาจจะพบได้
ข้อควรระวังในการเจาะเลือด
- การดื่มนมมากไป การกินยะantacid รักษาโรคกระเพาะอาหาร การรับประทานแคลเซี่ยมอาจจะมีผลต่อผลเลือด
- การรับประทานยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด ยา steroid อาจจะมีผลต่อระดับแคลเวี่ยม
- การรับประทาน vitamin D, lithium,ยาระบาย , ยาขยายหลอดลม theophylline, หรือ aspirin อาจจะมีผลต่อค่าเลือด
แคลเซี่ยมในเลือด
ทบทวนวันที่ 22/1/2566
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว