Erythrocyte sedimentation rate (ESR)
Erythrocyte sedimentation rate (ESR)ฌ)คืออัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงใน 1 ชั่วโมง เป็นการตรวจที่บ่งบอกว่ามีการอักเสบ แต่ไม่ได้บอกสาเหตุของการอักเสบ การรายงานจะเป็น mm/h เชื่อว่าเมื่อมีการอักเสบจะมีการสร้าง fibrinogen ซึ่งจะทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะติดกันทำให้ตกตะกอนได้เร็ว ค่า ESR เป็นการแสดงค่าไม่จำเพาะสำหรับสาเหตุการเกิดโรคและอวัยวะ
ค่าปกติESR
ผู้ใหญ่
- ผู้ชายอายุน้อยกว่า 50 ปีน้อยกว่า 15 mm/hr
- ผู้ชายอายุมากกว่า 50 ปีมีค่าน้อยกว่า 20 mm/hr
- ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 50 ปีค่าน้อยกว่า 20 mm/hr
- ผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปีค่าน้อยกว่า 30 mm/hr
เด็ก
- ทารก 0 to 2 mm/hr
- เด็กถึงวัยรุ่น 3- 13 mm/hr
ค่า ESR เพิ่มขึ้นพบในภาวะ
- มีการอักเสบ
- คนตั้งครรภ์
- โรครูมาตอยด์
- temporal arteritis
- polymyalgia rheumatica.
- Anemia
- Cancers such as lymphoma or multiple myeloma
- Kidney disease
- Pregnancy
- Thyroid disease
- Lupus
- Rheumatoid arthritis in adults or children
ค่า ESR ที่มีค่าสูงมาก
- Allergic vasculitis
- Giant cell arteritis
- Hyperfibrinogenemia
- Macroglobulinemia
- Necrotizing vasculitis
- Polymyalgia rheumatica
ค่า ESR สูงสาเหตุจากการติดเชื้อ
- Body-wide (systemic) infection
- การติดเชื้อที่กระดูก
- การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ
- โรค Rheumatic fever
- การติดเชื้อที่ผิวหนัง
- วัณโรค
ค่า ESR ลดลงพบในภาวะ
- หัวใจวาย
- โรคตับ
- polycythemia
- sickle cell anemia
- hereditary spherocytosis
เมื่อไรแพทย์จึงจะส่งตรวจ
แพทย์จะสั่งให้ตรวจ ESR ในกรณีที่สงสัยว่าจะมีการอักเสบ inflammation ในร่างกายซึ่งมีโรคหลายโรคที่ใช้การตรวจนี้วินิจฉัยโรค ยกตัวอย่างโรค เช่น ข้ออักเสบ temporal arteritis เป็นต้น นอกจากนั้นแพทย์ยังใช้ค่า ESR ในการติดตามการรักษา
เรียบเรียงวันที่ 25/1/2566
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว