jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

C-reactive protein (CRP) เป็นการตรวจการอักเสบ


C-reactive protein (CRP) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการอักเสบ ดังนั้นการตรวจหาระดับ C-reactive protein (CRP) จึงเป็นการตรวจหาว่ามีการอักเสบในร่างกายหรือไม่ แต่การตรวจนี้บอกเพียงว่ามีการอักเสบ แต่ไม่ได้บอกสาเหตุหรืออวัยวะที่เกิดการอักเสบ และไม่สามารถบอกว่าภาวะนั้นเกิดแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรังจำเป็นต้องอาศัยประวัติ การตรวจร่างกายและการตรวจอื่นอื่นประกอบ

CRP จะถูกสร้างขึ้นเมื่อร่างกายมีภาวะอักเสบ หรือการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อคล้ายกับการตรวจ ESR โดย CRP จะเพิ่มอย่างรวดเร็วภายใน 6 – 10 ชั่วโมง และขึ้นสูงสุดใน 24 – 72 ชั่วโมง และลดลงสู่ระดับปกติใน 1 – 2 สัปดาห์ การตรวจ CRP มีข้อดีกว่า ESR คือ

วิธีเดิมที่ใช้กันทั่วไป ในห้อง LAB จะวัดค่า serum CRP ได้ในช่วง 10-1000mg/L แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาการวัดแบบความไวสูง หรือที่เรียกว่า hs-CRP (high sensitivity CRP) ซึ่งสามารถวัดค่า CRPได้ต่ำถึง 0.3mg/L

แพทย์จะสั่งตรวจเมื่อไร



การเตรียมตัวในการตัว

ไม่ต้องเตรียม

วิธีการตรวจ

การเจาะเลือดประมาณ 5 มิลลิลิตร ใส่ในหลอดเลือดที่ไม่มีสารกันเลือดแข็ง และควรจะนำส่งห้องตรวจภายใน 1 ชั่วโมง

ค่าปกติ

C-reactive protein (CRP) 
ค่าปกติ

น้อยกว่า 1.0 milligram per deciliter (mg/dL) หรือน้อยกว่า 10 milligrams per liter (mg/L)

การแปลผล

หากค่า CRP สูงอาจจะมีภาวะหรือโรคดังต่อไปนี้(แค่ตัวอย่าง มีโรคหรือภาวะที่ทำให้ค่า CRPเพิ่ม)

ปัจจัยที่มีผลต่อการตรวจได้แก่

การตรวจ High-sensitivity C-reactive protein (hs-CRP)

เป็นการตรวจหาปริมาณ CRP ที่มีความไวแม้ว่าจะมีปริมาณ CRP ในเลือดในปริมาณที่ต่ำ การตรวจนี้จะเป็นการตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่สูบบุหรี่

High-sensitivity C-reactive protein (hs-CRP) level 1
ค่าปกติ

น้อยกว่า 0.1 mg/dL or less than 1 mg/L

ค่า hs-CRP level และความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ

น้อยกว่า 1.0 mg/L

ความเสี่ยงต่ำ

1.0 ถึง 3.0 mg/L

ความเสี่ยงเหมือนคนทั่วไป

มากกว่า 3.0 mg/L

ความเสี่ยงสูง

สำหรับท่านที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจท่านต้องควบคุมความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และปรึกษาแพทย์

ESR  

เรียบเรียงวันที่ 23/1/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน