หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
โรคเบาหวาน | กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน | อาการโรคเบาหวาน | การตรวจเบาหวาน | การวินิจฉัยโรคเบาหวาน | ชนิดของโรคเบาหวาน | การรักษาโรคเบาหวาน | การดูแลโรคร่วมกับเบาหวาน | โรคแทรกซ้อนเบาหวาน | การรักษาโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน | เป้าหมายการรักษาโรคเบาหวาน | การประเมินผลการรักษาเบาหวาน | การป้องกันโรคเบาหวาน | ยารักษาโรคเบาหวาน | การดูตัวเอง
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหากับ ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง ท่านผู้อ่านสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆจากโรคเบาหวานได้ โดยการปรับ อาหาร การออกกำลังกาย และยาให้เหมาะสม ท่านผู้อ่านสามารถนำข้อเสนอแนะจากบทความนี้ไปปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านอยู่ ท่านต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษา บทความนี้เชื่อว่าจะช่วยท่านควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น
อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน เซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท
อินซูลินเป็นฮอร์โมนสำคัญตัวหนึ่งของร่างกาย สร้างและหลั่งจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต ถ้าขาดอินซูลินหรือการออกฤทธิ์ไม่ดี ร่างกายจะใช้น้ำตาลไม่ได้ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงมีอาการต่างๆของโรคเบาหวาน นอกจากมีความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีความผิดปกติอื่น เช่น มีการสลายของสารไขมันและโปรตีนร่วมด้วย
โรคเบาหวานเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นผู้ที่มีญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี น้อง เป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น หากมีทั้งพ่อ และแม่เป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานร้อยละ 50
นอกจากนั้นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อเบาหวานได้แก่ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือว่าอ้วน ไม่ออกกำลังกาย เป็นไขมันในเลือดสูง กลุ่มคนเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับชนิดที่ 1 ทุกคนมีสิทธิ์เป็นเท่าๆกัน
โรคเบาหวานชนิดที่สองจะมีอาการเป็นอย่างช้าๆโดยที่ผู้ป่วยอาจจะไม่ได้สังเกตุ อาการที่พบได้บ่อยคือ น้ำหนักลด หิวเก่งรับประทานอาหารเก่ง ดื่มน้ำเก่ง ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน
ส่วนโรคเบาหวานชนิดที่1 อาการค่อนข้างจะเฉียบพลันอาการทำนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลด และบางท่านอาจจะมาด้วยโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่นภาวะเลือดเป็นกรด
ผู้ป่วยโรคเบาหวานหลายคนมาโรงพยาบาลด้วยเรื่องโรคแทรกซ้อนโดยที่ไม่มีอาการเบาหวานมาก่อน โรคแทรกซ้อนที่นำผู้ป่วยมาได้แก่
เนื่องจากโรคเบาหวานจะมีอาการเป็นอย่างช้าๆโดยที่ไม่มีอาการ นอกจากนั้นโรคเบาหวานในระยะที่เริ่มเป็นจะไม่มีอาการ การคัดกรองจะทำให้การวินิจฉัยโรคได้เร็วยิ่งขึ้น การคัดกรองหมายถึงการคัดเลือกผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานมาเจาะเลือดเพื่อวินิจฉัย กลุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้แก่ น้ำหนักเกิน ไม่ออกกำลังกาย อ้วน มีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น
วิธีการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานแน่นอนคือการเจาะเลือดตรวจหาระดับน้ำตาล แต่วิธีการเจาะมีหลายวิธี
โรคเบาหวานมีด้วยกันหลายชนิด ชนิดที่พบบ่อยได้แก่เบาหวานชนิดที่ 2 พบในคนสูงอายุและมีน้ำหนักเกิน ส่วนเบาหวานชนิดที่ 1 มักจะพบในเด็กเป็นพวกขาดอินซูลิน การรักษาโรคเบาหวานทั้งสองชนิดไม่เหมือนกัน โรคแทรกซ้อนก็ต่างกัน การรักษาเบาหวานชนิดที่2จะเน้นเรื่องการควบคุมน้ำหนัก การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย ส่วนเบาหวานชนิดที่1จะให้อินซูลินเพื่อรักษาโรคเบาหวาน นอกจากนั้นยังมีโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
หลักการรักษาโรคเบาหวานจะต้องทำให้ผู้ป่วยอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข มีคุณภาพชีวิตที่ใกล้เคียงคนปกติ และไม่มีโรคแทรกซ้อนซึ่งต้องประกอบไปด้วย
ผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นโรคทางmetabolic ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีหลายโรคที่มักจะพบร่วมกันได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การดูแลผู้ป่วยเบาที่มีโรคดังกล่าวร่วมด้วยจะมีความแตกต่าง ในเรื่องการเลือกยาที่ใช้รักษา และค่าเป้าหมายที่ต้องการ ผู้ป่วยเบาหวานจะต้องมีเป้าหมายค่าความดันโลหิตต่ำกว่าคนทั่วไป และค่าไขมันก็ต่ำกว่าคนทั่วไป โรคที่พบร่วมบ่อยๆได้แก่
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งหรือตีบ หากหลอดเลือดแข็งหรือตีบที่อวัยวะส่วนไหนก็จะทำให้เกิดโรคที่อวัยวะนั้น ดังนั้นโรคเบาหวาจะมีโรคแทรกซ้อนทุกระบบ ได้แก่
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะมีโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ นอกจากนั้นยังมีภาวะฉุกเฉินที่มักจะเกิดในผู้ป่วยเบาหวานได้แก่
ส่วณโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลได้แก่
โรคเบาหวานส่วนหนึ่งเกิดจากกรมพันธ์ อีกส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรม โรคเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนมักจะปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงตีบ ดังนั้นเป้าหมายของการรักษาโรคเบาหวานจึงจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การควบคุม
การรักษาเบาหวานที่ดีจะต้องมีระดับน้ำตาล และน้ำตาลเฉลี่ยดี ความดันโลหิต ระดับไขมัน น้ำหนัก การออกกำลังจะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อ่านที่นี่
การประเมินการรักษาโรคเบาหวานสามารถทำได้สองแบบคือ ประเมินด้วยแพทย์ ซึ่งแพทย์จะเจาะหาระดับน้ำตาล น้ำตาลเฉลี่ย การตรวจปัสสาวะหาโปรตีน การเจาะเลือดตรวจไขมัน การตรวจร่างกาย การวัดความดันโลหิต การตรวจตา การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น
ในบางกรณีที่ผู้ป่วยจะต้องเจาะเลือดด้วยตัวเอง เพื่อการควบคุมโรคเบาหวานให้ดีเพื่อลดโรคแทรกซ้อน
แม้ว่าจะมียารักษาโรคเบาหวานเพิ่มเติม แต่ผลการรักษายังไม่ดี ประกอบกับจำนวนผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหานมีมากขึ้น ผูป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวานมีจำนวนมากขึ้น และอายุที่เป็นโรคเบาหวานมีอายุน้อยลง ดังนั้นการป้องกันโรคเบาจะต้องทำก่อนการเกิดโรคเบาหวานซึ่งการป้องกันทำได้โดย
ยารักษาเบาหวานมีด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดออกฤทธิ์ต่างกัน การเลือกใช้ยาอย่างถูกต้องจะป้องกันโรคแทรกซ้อนจากยา ยาเบาหวานแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มก็มีข้อบ่งชี้ในการใช้แตกต่างกัน
เรื่องที่เกี่ยวข้อง