แนวทางการรับประทานอาหาร
- ให้รับประทานอาหารหลากหลาย ไม่มีอาหารประเภทใดที่ดีสำหรับโรคเบาหวาน ต้องรับประทานอาหารหลากหลาย เพราะจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
- รับอาหารพวกผักและผลไม้เพิ่มขึ้น ส่วนพวกเนื้อสัตว์ให้ลดลง
- รับประทานอาหารสด หรือทำเอง หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารจานด่วนทั้งหลาย
- ส่วนอาหารมันให้หลีกเลี่ยง ลดเนื้อสัตว์ ลดหนังสัตว์ นม ให้ใช้นมพร่องมันเนย stick margarine อาหารทอด ของทอดขนมขบเคี้ยว หลีกเลี่ยงอาหารที่ทอดด้วยน้ำมัน tranfatty acid หากจะใช้น้ำมันให้ใช้น้ำมันมะกอกแทน
- อาหารจำพวกแป้งต้องเลือกรับประทาน หลีกเลี่ยงน้ำตาล น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ขนมปัง หากรับขนมปังควรเลือกชนิด whole grain
- ดื่มนมพร่องมันเนยวันละ 3 แก้ว
- รับประทานโปรตีนพอควรโดยเลือกโปรตีนจากเนื้อปลา เนื้อไก่ไม่ติดหนัง และโปรตีนที่มีจากถั่วต่างๆ เต้าหู้
- ลดอาหารเค็มโดยบริโภคเกลือไม่เกิน 2300 มกต่อวันโดยการลดเครื่องปรุสรส เช่นซี่อิ้ว ซ้อส เกลือ ของดอง ซอสมะเขือเทศ ของขบเคี้ยว
- รับประทานอาหารที่มีเกลือโพแทสเซี่ยมเพิ่ม ซึ่งพบในอาหาร ผัก ผลไม้ รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยม เช่น นมพร่องมันเนย ผักใบเขียว
- รับประทานอาหารธัญพืช ข้าวกล้องอย่างน้อยวันละ 6 ออนซ์(ธัญพืช 1 ถ้วย,ข้าวครึ่งถ้วยเท่ากับ 1 ออนซ์) ยิ่งรับประทานมากยิ่งดี
- รับประทานผักเพิ่มโดยเฉพาะผักใบเขียว และใบเหลือง โดยให้มีผักทุกมื้อ
- รับประทานผลไม้เพิ่ม(ต้องระวังผลไม้ไทยเพราะหวานมาก)
- รับประทานปลาเพิ่มน้อยสี่ตรั้งต่อสัปดาห โดยนำไปย่าง อบหรือ ต้ม
- หากท่านชอบเนื้อต้องลดปริมาณลง และรับอย่าถี่ไป ให้ใช้เนื้อไก่แทน
- ส่วนเรื่องไข่ที่ถามกันบ่อย ให้รับประทานเท่าที่จำเป็นโดยไม่มากกว่าปริมาณไข่ขาวหนึ่งฟองต่อวัน
- รับประทานถั่วซึ่งมีหลักฐานว่าลดการเกิดโรคหัวใจ แต่ระวังน้ำหนักเพิ่ม
- ใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก แทนน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ
- ดื่มสุราไม่เกิน 1-2 drink)์( Count 5 ounces of wine, 12 ounces of beer, or 1½ ounces of liquor as one drink)
- ปรับอาหารและการออกกำลังเพื่อรักษาน้ำหนักให้คงที่
- ที่สำคัญคืออย่าไปเชื่อในสิ่งที่ไม่ได้มีการพิสูจน์
ถึงตอนนี้หวังว่าท่านคงจะตัดสินใจเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ที่สำคัญต้องมีวินัยต่อตนเองนะครับ
อาหารเบาหวาน สาระน่ารู้