หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานหรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ควรจะได้รับความรู้เกี่ยวกับโภชนะบำบัด
โรคเบาหวานและการรับประทานอาหาร
แนวทางการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
การเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้องเพื่อสุขภาพ เป็นสิ่งที่สำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีโรคแทรกซ้อนก็จะลดลงด้วย
หลักการควบคุมง่ายๆในการคุมอาหาร
การควบคุมอาหาร Medical nutrition therapy(MNT) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยต้องสามารถที่จะวางแผนในการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อได้อย่างเหมาะสม เป็นที่ทราบกันดีว่าการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายเป็นการรักษาที่สำคัญในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง จุดมุ่งหมายในการควบคุมอาหารคือ
แผนการควบคุมอาหารให้ปรับเป็นรายๆขึ้นอยู่กับสภาพของโรค มี insulin resistant หรือไม่ อายุ น้ำหนัก ยาที่รับประทาน พฤติกรรมการบริโภค ตารางข้างล่างเป็นเป้าหมายในการคุมเบาหวานโดยคุมอาหาร
หลักการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การควบคุมอาหารในปัจจุบันไม่ได้เข้มงวดเหมือนในอดีต ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารต่างๆได้เหมือนปกติ แต่อาจจะต้องดัดแปลงหรือจำกัดปริมาณเพื่อให้เหมาะสมกับโรคปัจจัยที่เราจะต้องนำมาพิจารณาได้แก่
คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่าการกินน้ำตาลมากจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ผเมื่อเจาะเลือดตรวจพบน้ำตาลว่าสูงผู้ป่วยส่วนหนึ่งมักจะบอกว่าช่วงนี้ไม่ได้รับประทานหวานเลยทำไมน้ำตาลยังสูงอยู่ ความจริงระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นมากน้อยแค่ไหนมิได้ขึ้นกับปริมาณน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรต์ แต่ขึ้นกับปริมาณพลังงานที่ได้รับ หากรับมากเกินความต้องการของร่างกายระดับน้ำตาลในเลือดจะสูง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยระวังอาหารมันซึ่งเป็นสาเหตุของน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือดสูง
คาร์โบไฮเดรต์หมายถึงอาหารพวกแป้งซึ่งมีอยู่หลายชนิด เช่น น้ำตาล ( sugar) อาหารพวกแป้ง(starch ) ใยอาหาร (fiber)น้ำตาลชนิดอื่น (sucrose,fructose,lactose) จากการศึกษาพบว่าไม่ว่าจะรับประทานอาหารพวกแป้งชนิดไหนก็สามารถทำให้น้ำตาลขึ้นได้ใกล้เคียงกัน ขึ้นกับปริมาณของแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต์ที่ได้รับ ลบล้างความเชื่อที่ว่ารับประทานผลไม้แล้วน้ำตาลไม่ขึ้น หรือรับประทานอาหารที่มีใยมากแล้วน้ำตาลไม่เพิ่ม
Glycemic
index.
เป็นการวัดการดูดซึมของอาหารเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารมาตรฐาน ถ้าอินเด็กเท่ากับร้อยหมายความว่าดูดซึมได้เท่ากับอาหารมาตรฐาน
ถ้าต่ำกว่า 100ก็แสดงว่าดูดซึมได้น้อยกว่าอาหารมาตรฐาน ถ้าสูงกว่า 100 แสดงว่าอาหารนั้นดูดซึมได้ดีกว่าอาหารมาตรฐาน
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรจะมีค่าอินเด็กต่ำ
ชนิดอาหาร | ค่าอินเดกซ์ |
ขนมปังขาว | 110 |
ข้าวเหนียว | 106 |
ข้าวจ้าว | 100 |
ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ | 76 |
ก๋วยเตี๋ยวเส้นหมี่ บะหมี่ | 75 |
มะกะโรนี สะปาเก็ตตี | 64-67 |
วุ้นเส้น | 63 |
ทุเรียน | 62.4 |
สัปปะรด | 62.4 |
ลำไย | 57.2 |
ส้ม | 55.6 |
องุ่น | 53.1 |
มะม่วง | 47.5 |
มะละกอ | 40.6 |
กล้วย | 38.6 |
ดังนั้นผลไม้ที่ควรจะรับประทานได้แก่กล้วยและมะละกอ
ใยอาหาร
พลังอาหารที่ควรจะได้รับในแต่ละวัน
พลังงานที่รับประทาน/วัน calories |
|
อาหาร Protein |
|
อาหารไขมัน Fat |
ปริมาณไขมันสำหรับผู้ที่น้ำหนักปกติ ถ้าไขมัน LDL สูง ถ้าไขมัน Triglyceride สูง |
อาหาร cholesterol |
|
อาหาร carbohydrate |
|
สารให้ความหวาน น้ำตาลเทียม |
|
อาหารที่มีใย |
|
เกลือ |
|
แอลกอฮอล์ |
|
|
เมื่อไร่จะเรียกว่าอ้วน
การจะพิจารณาว่าอ้วนหรือไม่จะพิจารณาจากดัชนีมวลกาย Body mass index [BMI] =น้ำหนัก (กก)/ส่วนสูง(ม²) ค่าปกติอยู่ระหว่าง 18.5-22.9 กก/ม² BMI>25 กก/ม²ให้ถือว่าอ้วน BMI >30 กก/ม²อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องรีบลดน้ำหนัก
สารอาหารโปรตีน
โปรตีนเป็นส่วนประกอบพื้นฐานโครงสร้างของเซลล์ ฮอร์โมนหลายๆอย่าง สารอาหารโปรตีน 1กรัมให้พลังงาน 4 กิโแคลอรีแนะนำให้รับประทานปริมาณโปรตีน 0.8 กรัม/น้ำหนัก/วัน ในผู้ป่วยสูงอายุโปรตีนควรมาจาก ไข่ นม เนื้อไม่ติดมัน เต้าหู้ ถั่ว
สารอาหารไขมัน 1 กรัมให้พลังงาน 9 กิโแคลอรี ร่างกายต้องการ 25-30%ผู้ป่วยที่อ้วนหรือ LDL สูงควรลดปริมาณพลังงานจากไขมันให้ต่ำกว่า 30%
สารอาหาร carbohydrate
การรับประทานสารอาหาร carbohydrate จะทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง สารอาหารโปรตีน และไขมันจะช่วยชะลอการย่อยและการดูดซึมของ carbohydrate วันหนึ่งๆควรได้ carbohydrate 50-60%เมื่อคำนวณจำนวนสารอาหาร carbohydrate ก็แบ่งจำนวนดั่งกล่าวเป็นมื้อๆอย่างเหมาะสม นอกจากนั้นควรได้อาหารที่มีใยมากกว่า 25-40 กรัม/วันซึ่งใยอาหารจะลด cholesterolได้ดี carbohydrate 1กรัมให้พลังงาน 4 กิโแคลอรี
วิตามินและเกลือแร่
ยังไม่มีหลักฐานถึงความจำเป็นในการเพิ่มวิตามินสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แต่อย่างไรก็ตามสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น vitamin E, vitamin C, ß-carotene ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ การให้ chromium สามารถลดระดับน้ำตาลและเพิ่ม HDL ในผู้ป่วยที่ขาด chromium
Alcohol
แนะนำให้ดื่ม 1-2 ครั้งซึ่งจะลดอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ควบคุมน้ำหนักได้ยาก
และอาจจะทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดต่ำได้
การควบคุมอาหาร
การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง