หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ภาวะสมองขาดเลือดมีสาเหตุจากเส้นเลือดสมองตีบ หรือมีลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้ออกซิเจนและสารอาหารอื่นไม่สามารถขึ้นไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ หลังจากนั้นเซลล์สมองก็จะตายในเวลาเพียงสั้นๆ สมองขาดเลือดเพียงไม่กี่นาทีก็จะทำให้เซลล์สมองตาย โรคนี้จะทำให้เกิดอาการอัมพาตเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจสูญเสียความสามารถในการพูดและหรือการมองเห็น ลักษณะที่สำคัญของอาการสมองขาดเลือดได้แก่
ประวัติการเจ็บป่วย การตรวจร่างกาย การตรวจทางรังสี การเจาะเลือด
หากมีอาการเตือนต้องทำอย่างไรต้องทำอะไรบ้าง
ชนิดของโรคสมองขาดเลือด
โรคสมองขาดเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆได้แก่
หมายถึงภาวะที่มีคราบ plaque ที่ผนังหลอดเลือดหนาตัว จนทำให้หลอดเลือดตีบเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ หรือเกิดจากคราบชิ้นเล็กได้หลุดลอยไปอุดหลอดเลือดทำให้สมองขาดเลือด ซึ่งหลอดเลือดที่เกิดยังแบ่งเป็นหลอดเลือดขนาดใหญ่ เช่น carotid artery และแขนงของหลอดเลือดเล็กในสมอง
หมายถึงเกิดลิ่มเลือดจากบริเวณอื่น( ส่วนมากเกิดที่หัวใจ) หลุดลอยเข้าไปอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง
เมื่อมีอาการทางสมองเกิดขึ้น วิธีการรักษาต่างๆ จะต้องนำมาใช้อย่างทันที ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือเฉพาะทาง ขอให้ตระหนักไว้ว่าภาวะสมองขาดเลือดถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉิน แม้ว่าอาการอาจดูไม่รุนแรงก็ตาม สำหรับภาวะสมองขาดเลือดแบบสมบูรณ์นั้น การตรวจรักษาอาจต้องใช้ยา thrombolytic ซึ่งช่วยสลายลิ่มเลือดให้กระจายออก เพื่อลดการทำลายเนื้อเยื่อให้น้อยลง และในบางครั้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจตรวจดูส่วนของสมองที่ไม่ได้รับผลกระทบ เพื่อสันนิษฐานการจัดการหน้าที่ของสมองที่ถูกทำลายไป
โรคแทรกซ้อน
โรคแทรกซ้อนของภาวะสมองขาดเลือดแบ่งออกเป็น โรคแทรกซ้อนที่เกิดหลังจากเกิดภาวะสมองขาดเลือดภายในหนึ่งสัปดาห์ ส่วนใหญ่เกิดจากการบวมของสมอง หรือเกี่ยวกับหลอดเลือดในสมองได้แก่
ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่เกิดหลังจากเกิดอาการแล้วหนึ่งสัปดาห์มักจะเกิดจากการดูแลและภาวะจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงเช่น
นอกจากวิธีทางการรักษาต่างๆ ที่ได้พิจารณานำมาใช้ในการรักษาแล้ว การรักษาด้านกายภาพบำบัดที่ เหมาะสมก็มีความสำคัญอย่างมากและควรนำมาบำบัดให้แก่ผู้ป่วยตั้งแต่ช่วงแรกที่เกิดอาการ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ร่างกายอย่างถาวร การทำนายอาการของโรค
การป้องกัน
การป้องกันเป็นความสำคัญลำดับแรกของเราในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะสมองขาดเลือด ปัจจุบันนี้มียาสองชนิดที่สามารถป้องกันการอุดตันในเส้นเลือดได้
โดยสรุป
กลับไปหน้าโรคหลอดเลือดสมอง | สาเหตุของโรคสมองขาดเลือด | อาการสมองขาดเลือด | การวินิจฉัยโรคสมองขาดเลือด | การรักษาโรคสมองขาดเลือด | การป้องกันโรคสมองขาดเลือด | การดูแลหลังเกิดโรคสมองขาดเลือด