หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหมายถึงภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดหัวใจ Coronary ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับความเสียหาย สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมักจะเกิดจากโรคหลอดเลือดโคโรนารีตีบ
หัวใจของเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ และมีเส้นเลือดชื่อ Coronary artery นำเอาเลือดและออกซิเจนมาสู่หัวใจ หากมีลิ่มเลือดมาอุดเส้นเลือด จะทำให้หัวใจขาดเลือด และออกซิเจนซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย
โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือที่เรียกว่า Coronary artery disease เป็นโรคหัวใจที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นของประเทศที่เจริญแล้ว และประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย
เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีเส้นใหญ่ 2 เส้นคือ
กลไกการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดของ Unstable Angina หรือ Non STMI จะเป็นแบบหลอดเลือดค่อยๆตีบและมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด แต่ไม่ถึงกับตันยังพอมีเลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ ส่วนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเกิดจากลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อตาย
อ่านกลไกการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
อาการเจ็บหน้าอกของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาออกกำลังกาย โดยมากเจ็บไม่เกิน 10 นาทีพักแล้วจะหาย หากกล้ามเนื้อหัวใจตายจะมีอาการเจ็บหน้าอกขณะพัก เจ็บนาน เจ็บมากจนเหงื่อตก อมยาแล้วไม่หายปวด อาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้หลอดเลือดแดงตีบ จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ง่ายได้แก่ เพศ อายุ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ประวัติครอบครัวสายตรงเป็นโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดต้องอาศัยประวัติการเจ็บปวย การตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจเลือด อ่านการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่นี่
กลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดแบ่งออกเป็นสามกลุ่มได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง Angina pectoris กลุ่มอาการเจ็บหน้าอก Unstable angina และกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด nstemi ซึ่งจะมีอาการคล้ายกัน และกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจตาบชนิด STEMI อ่านชนิดของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่นี่
การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ประกอบไปด้วยการให้ยาแก้เจ็บหน้าอก ยาลดการขาดออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ ยาหรือการใส่สายสวนหัวใจเพิ่มเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหัวใจ อ่านการรักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
โรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากการเต้นของหัวใจผิดปรกติ หรือเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจวาย หรือเกิดจากลิ้นหัวใจรั่วเฉียบพลัน อ่านโรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่นี่
การป้องกันโรคหัวใจแบ่งเป็นสองแบบคือปฐมภูมิ คือป้องกันมิให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และทุติยภูมิคือการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ หลังจากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปแล้ว
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน NSTEMI | กล้ามเนื้อหัวใจตาย STEMI
ปัจจัยที่กระตุ้นให้โรคหัวใจกำเริบ
ผู้ป่วยโรคหัวใจจะไปพบแพทย์เมื่อไร
เป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแล้วจะหายหรือไม่
โรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ชนิดของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ภาพแสดงผนังหลอดเลือดที่มีคราบไขมันเกาะทำให้รู้หลอดเลือดแคบลง |
การที่คนเกิดปัจจัยเสี่ยงหลายๆอย่างจะทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดตีบเร็วขึ้น
การควบคุมปัจจัยเสี่ยงควรจะเริ่มทำเมื่อไร
คนทั่วไปจะเคยชินกับวิถีชีวิตไม่คำนึงถึงผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย ผู้ที่สูบบุหรี่ก็พยายามหาคำตอบเพื่อให้เขาเหล่านั้นไม่ต้องปรับพฤติกรรม แต่หากเวลาผ่านไปคราบไขมันมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกระทั่งเกิดอาการก็จะทำให้การรักษาลำบากยิ่งขึ้น
มีการศึกษาเด็กที่เสียชีวิตจากอุบัติเหต พบว่าเริ่มมีคราบไขมันเกาะตามผนังหลดเลือดตั้งแต่เด็ก แสดงว่ากระบวนการของการเกิดโรคหลอดเลือดตีบเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก และจากสถิติพบว่าแต่ละประเทศมีเด็กอ้วนในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมๆกับการที่เด็กมีเวลาออกกำลังกายลดลง และรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ
ดังนั้นเราควรจะรณรงค์เรื่องอาหาร การออกกำลังในเด็ก และโรคอ้วนในเด็กเพื่อที่อนาคตโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะได้ลดลง
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบ
ปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด
หากท่านเป็นโรคหัวใจจะทำให้คุณภาพชีวิตลดลงดังนั้นท่านควรจะป้องกันมิให้เป็นโรคหัวใจ วิธีการง่ายดังนี้
ข่าวเกี่ยวกับโรคหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ | ระบาดวิทยา |อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ | อาการเจ็บหน้าอก | การวินิจฉัยโรค | คลื่นไฟฟ้าหัวใจ | ผลการตรวจเลือด | ข้อมูลที่ต้องบอกแพทย์ | กลไกการเกิดโรค | การแบ่งประเภทของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด | ปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดโรค | จะพบแพทย์เมื่อไร | การการป้องกันทุติยภูมิ | ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด | การรักษา | การใส่สายสวนหัวใจ | การทำบอลลูน | การฟื้นคืนชีพ | การดูแลเบื้องต้น ||การป้องกันเส้นเลือดตีบ | การตรวจโรคหัวใจทางห้องปฏิบัติการ| โรคแทรกซ้อน |การตรวจหัวใจหลังกล้ามเนื้อหัวใจตาย | การตรวจพิเศษในผู้ป่วยที่หัวใจขาดเลือด | อาหารกับโรคหัวใจ | การออกกำลังกาย
เรื่องที่น่าสนใจ
กลไกการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด |
เอกสารอ้างอิง
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว