การปฐมพยาบาลโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
โดยเฉลี่ยผู้ป่วยมักจะรอประมาณ 3 ชัวโมงหลังจากที่เริ่มมีอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งทำให้เสียเวลาในการรักษา
ดังนั้ถ้าท่านมีปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และมีอาการแน่นหน้าอกดังกล่าวข้างต้นให้ปฏิบัติดังนี้
- ให้นั่งหรือนอนลง
ถ้าอาการแน่นหน้าอกไม่หายใน
2
นาทีรีบโทรหารถพยาบาลฉุกเฉินหรือญาติทันที
- รีบติดต่อแพทย์ประจำตัวของท่านทันที โทร 1669
- ถ้าแพทย์ให้ยาอมใต้ลิ้น isordil 5 mg หรือ nitroglycerine ก็ให้อมทันที 1
เม็ดถ้าไม่หายให้อมซ้ำได้อีก
2 เม็ดทุก 5 นาที ถ้าแพทย์ไม่เคยให้ยาอมใต้ลิ้น ไม่ควรนำยาคนอื่นมาอมเพราะอาจจะอันตรายถึงชีวิต
- ถ้าหากมี aspirin ก็ให้เคี้ยวและกลืนทันที 1
เม็ด
- ติดต่อโรงพยาบาลใกล้บ้าน
และตามรถพยาบาล
- ติดต่อ จส.100
หรือร่วมด้วยช่วยกันเพื่อการจราจรที่คล่องตัว
- รีบนำส่งโรงพยาบาล
- ไม่ควรขับรถเอง
- ไม่ควรใช้ยาอื่นลองรักษา
เวลาทุกนาทีมีค่า
- เมื่อถึงห้องฉุกเฉินให้แจ้งแก่แพทย์ทันที่ว่าสงสัยโรคหัวใจ
- หากผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นให้ทำการกู้ชีวิตทันที
- อย่าปฏิเสธความจริง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
30% จะเสียชีวิตใน 2-3 ชั่วโมงแรก
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยรีบให้แพทย์ประเมินอาการทันที
- ผู้ป่วยสูงอายุ
หรือผู้ป่วยเบาหวานอาจไม่มีอาการแน่นหน้าอก แต่อาจมาด้วยอาการเหนื่อย
คลื่นไส้
- เตรียมประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลเดิม
ยาที่ได้รับประทานอยู่ไปพร้อมกับผู้ป่วย
ข้อแนะนำ
- สำหรับผู้ที่มีญาติเป็นโรคหัวใจควรได้รับการฝึกอบรมการกู้ชีพ
- มีเบอร์โทรของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
- มีเบอร์โทรของรถกู้ชีพ
- มีเบอร์โทรของญาติ
- มีการเขียนวิธีปฏิบัติเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก รวมทั้งคำแนะนำสำหรับผู้ที่พบเห็นผู้ป่วย