jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

การทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ angiography


โรคหลอดเลือดหัวใจตีบส่วนหนึ่งสามารถรักษาด้วยยา การทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ angiography หรือการใส่สายสวนหัวใจ ซึ่งไม่ใช่การผ่าตัดใหญ่แต่สามารถทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้น

ทางการแพทย์เรียก percutaneous tranluminal coronary angioplasty [PTCA]

คือการสวนสายผ่านทางผิวหนังเข้าหลอดเลือดหัวใจ เพื่อถ่างขยายหลอกเลือดแดงที่ตีบตัน ที่ปลายสายจะมี balloon ซึ่งจะเป่าลมขยาย balloon ซึ่งจะไปขยายบริเวณที่ตีบ และเมื่อเอาสายออก รูที่ถ่างจะคงขยายอยู่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรมจะเป็นสวนสาย

เมื่อไรจึงจะใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ | การสวนสายเข้าหลอดเลือดหัวใจ Angioplasty | ประโยชน์ของการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน | จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหลังจากขยายหลอดเลือด |

 


การฉีดสีเข้าหลอดเลือดหัวใจ

เมื่อไรจึงจะใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ

การใส่สายสวนหัวใจเป็นวิธีการแพทย์ เพื่อวินิจฉัยว่าเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือไม่ แต่เนื่องจากการใส่สายสวน ก็อาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนได้ดังนั้นจะต้องมีข้อบ่งชี้ในการตรวจ เช่น

หากท่านเป็นโรคหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบและมีอาการเจ็บหน้าอกแบบ unstable angina

การใส่สายสวนหัวใจทำอะไรได้บ้าง

สำหรับผู้ที่กล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด ST Elevation จะมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด จึงได้มีการพัฒนาการรักษาโดยการใช้เข็มดูดเอาลิ่มเลือดออกก่อนที่จะทำบอลลูน

การทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ

การสวนสายเข้าหลอดเลือดหัวใจ Angioplasty

แพทย์แนะนำให้ทำ cardiac catherization หมายถึงการใสสายสวนเข้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ แพทย์ใส่สายสวนเข้าที่หลอดเลือดแดงที่ขาหรือแขน ซึงใส่ไปถึงหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจ coronary artery แพทย์จะฉีดสีเข้าเส้นเลือด coronary และดูหลอดเลือดหัวใจทางเครื่อง x ray หากพบว่าตีบแพทย์ใส่บอลลลูนเพื่อขยายหลอดเลือดส่วนที่ตีบเราเรียกว่า Coronary angioplasty

ข้อบ่งชี้ในการรักษาขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน Ballon Angioplasty

ขั้นตอนในการทำไม่ยุ่งยากมาก

การเตรียมตัวก่อนการรักษา

ขั้นตอนในการทำ การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Balloon Angioplasty)

เป็นวิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจซึ่งได้รับความนิยม เพราะไม่ต้องผ่าตัดและมีความปลอดภัย

ในกรณีที่แพทย์เห็นว่ารอยตีบยังขยายได้ไม่กว้างพอ ก็จะใส่ขดลวดเล็กๆ (stent) เข้าไปยึดติดกับผนังหลอดเลือด ในบางกรณีอาจมีการนำขดลวดที่เคลือบด้วยยามาใช้ แทนขดลวดธรรมดา ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายหลอดเลือดแล้ว ยังเพิ่มความปลอดภัย และลดปัญหาเรื่องการกลับมาตีบซํ้าอีกได้ด้วย แต่ขดลวดดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูง จึงขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์และผู้ป่วย

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง

หลอดเลือดแดง coronary artery ที่ตีบหรือตันเป็นผลมาจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง atherosclerosisทำให้มีคราบไขมันเกาะที่หลอดเลือดหัวใจ



ขดลวด

ขดลวดขยายหลอดเลือด

ประโยชน์ของการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน จะช่วยดันไขมันที่อุดตันหลอดเลือดอยู่ให้ไปชิดผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านจุดที่เคยตีบได้สะดวกขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บหน้าอกน้อยลง หายใจได้เต็มที่ขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้

ประโยชน์ของขดลวดขยายหลอดเลือด Stent

Stent คือขดลวดเล็กๆใส่เข้าหลอดเลือดแดงหลังจากถ่าง [balloon ]เรียบร้อยแล้วเพื่อป้องกันการตีบซ้ำ หลังใส่ขดลวดจะต้องกินยาละลายลิ่มเลือดสักระยะหนึ่ง ปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง พบที่สำคัญคือ

ข้อดีของการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด

ใช้เวลาในการขยายนานเท่าไร

ใช้เวลาในการขยายหลอดเลือดประมาณ 30 นาที-3 ชั่วโมง

จะต้องดมยาสลบหรือไม่

ใช้เพียงแค่ยาชาฉีดเท่านั้น และอาจให้ยาคลายเครียด เนื่องจากขณะขยายหลอดเลือดแพทย์จะต้องได้รับความร่วมมือ เช่น ไอ พลิกตัว หรือหายใจแรงๆ

ขณะขยายหลอดเลือดเจ็บหรือไม่

ขณะขยายหลอดเลือดจะไม่เจ็บแต่จะแน่นหน้าอกเมื่อแพทย์ฉีดลมเข้าใน balloon หลังขยายอาจจะมีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ หลังจากขยายหลอดเลือดอาจจะมีอาการปวดแผลแพทย์จะจ่ายยาแก้ปวด ผู้ป่วยพักในโรงพยาบาล 2-3 วันถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน

จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหลังจากขยายหลอดเลือด

หลังจากที่ตรวจเสร็จจะต้องนอนราบประมาณ8 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะต้องพักอยู่ในห้องพักฟื้นเพื่อสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด อาจจะนอนหนุนหมอนสองใบหลังจากทำไปแล้วสองชั่วโมง ระหว่างนี้ควรจะรับประทานอาหารที่เป็นน้ำ หลังการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน โดยผู้ป่วยอาจกลับบ้านได้ภายในวันที่ตรวจ หรืออาจต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล 1-2 วัน ขึ้นกับอาการของผู้ป่วย ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องนอนราบอยู่นิ่งๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง และต้องกดบริเวณที่ถอดสายสวนไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดออก

หากมีอาการดังต่อไปนี้ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ

หลังขยายเส้นเลือดจะตีบอีกหรือไม่

หลังขยายผู้ป่วย หนึ่งในสามจะมีการตีบซ้ำ restenosis มักจะเกิดภายใน 6 เดือน แต่อย่างไรก็ตามผลการรักษาก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดี

เมื่อกลับบ้านจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร

โรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น

ต้องลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดตีบ รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ถ้ามีการตีบซ้ำแพทย์จะทำการใส่ขดลวด Stent แพทย์จะนัดผู้ป่วยวิ่งสายพานว่ามีการตีบของหลอดเลือดหรือไม่

ข้อจำกัดของการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด

จะต้องดมยาสลบหรือไม่

ใช้เพียงแค่ยาชาฉีดเท่านั้น และอาจให้ยาคลายเครียด เนื่องจากขณะขยายหลอดเลือดแพทย์จะต้องได้รับความร่วมมือ เช่น ไอ พลิกตัว หรือหายใจแรงๆ

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

เพิ่มเพื่อน