หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ในการวินิจฉัยท่านจะต้องเตรียมประวัติที่สำคัญเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และรวดเร็ว อ่านประวัติการเจ็บป่วยที่นี่
เกณฑ์การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะอาศัยประวัติของการเจ็บป่วย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และผลเลือดที่บ่งบอกว่ามีการเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ ที่สำคัญได้แก่ Troponin T,CPK
องค์การอนามัยโลกได้ตั้งเกณฑ์การวินิจฉัยไว้สามข้อดังนี้ จะต้องมีอย่างน้อย สองข้อ
การวินิจฉัยจะต้องอาศัยประวัติการเจ็บหน้าอก ซึ่งเข้าได้กับอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งจะมีอาการเจ็บตรงกลางหน้าอก หรือเยื้องไปทางซ้าย อาการเจ็บจะเจ็บร้าวไปที่แขนซ้ายหรือที่คอ หรือขากรรไกบางคนปวดร้าวไปที่หลัง โดยทั่วไปอาการปวดมักจะไม่เกิน 10 นาทีจะหายปวด อาการปวดจะเป็นมากเมื่อมีการออกกำลังกาย พักแล้วจะหายปวด หากกล้ามเนื้อตายจากเหตุขาดเลือดอาการปวดจะเป็นมาก ปวดนาน พักหรืออมยาจะไม่หายปวดและอาจจะมีอาการอื่นๆร่วมเช่นมือเท้าเย็น เป็นลม หรือหมดสติอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งสามารถปรกติหรือผิดปรกติก็ได้ ผู้ที่หลอดเลือดหัวใจตีบไม่มากพอที่จะทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในขณะพัก ซึ่งเมื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจก็จะไม่พบการเลี่ยนแปลง เมื่ออกกำลังกายหัวใจต้องการเลือดไปเลี้ยงมากขึ้นแต่หลอดเลือดตีบ เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การเปลี่ยนแปลงไฟฟ้าขณะเหนื่อยจะมีการเปลี่ยนแปลง หากกล้ามเนื้อหัวใจตายก็จะพบการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดโดยที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่ตาย ผลเจาะเลือดจะปกติ หากกล้ามเนื้อหัวใจตายจากเหตุขาดเลือดค่าสารเคมีจะสูง ค่าผลเลือดจะสามารถบอกว่าโรครุนแรงหรือไม อ่านเรื่องผลเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
การตรวจวินิจฉัยอื่นๆ
การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง Echocardiogram
เป็นการตรวจหัวใจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อตรวจการทำงานของหัวใจ การตรวจนี้จะบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจส่วนไหนเสียหายจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และบอกขนาดของหัวใจ
การตรวจ Radionuclide Imaging (Thallium Stress Test)
การตรวจนี้จะทำการแีดสารรังสีเข้ากระแสเลือด สารนี้จะจับกับเม็ดเลือดแดง การตรวจใช้เครื่องมือพิเศษวัดบริเวณหัวใจ การตรวจนี้สามารถบอก
การฉีดสี
การฉีดสีจะทำในรายที่สงสัยว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยการใส่สายสวนเข้ไปยังหัวใจโดยผ่านทางหลอดเลือดแดง เพื่อตรวจหาตำแหน่งของหลอดเลือดหัวใจที่มีการอุดตัน
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค | ชนิดของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด |