กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
หมายถึงภาวะที่มีอาการเจ็บหน้าอก และเราสงสัยว่าจะมีเส้นเลือดที่ไปลี้ยงหัวใจตีบ และทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งอาจจะมีกล้ามเนื้อหัวใจตายด้วยหรือไม่ก็ได้ การตรวจด้วยคลื่นเสียงจะมีประโยชน์ดังนี้
- การวินิจฉัยโรค การตรวจ echo ในโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย จะพบว่ากล้ามเนื้อบางส่วนของหัวใจทำงานน้อยลง หรืออาจจะไม่ทำงานเลย ซึ่งหากตรวจแล้วกล้ามเนื้อหัวใจทำงานเป็นปกติในขณะที่เจ็บหน้าอก อาการเจ็บหน้าอกนี้อาจจะไม่ใช่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดก็ได้
- ประเมินความรุนแรงหรือพยากรณ์โรค การตรวจ echo จะทำให้เห็นว่ากล้ามเนื้อหัวใจตายหรือทำงานน้อย ปริมาณกล้ามเนื้อหัวใจตายมากการพยากรณ์โรคหรือการเกิดโรคแทรกซ้อนก็จะมาก
- เพื่อตรวจหาโรคแทรกซ้อน เมื่อเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายก็อาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆดังนี้
- 3.1 ลิ้นหัวใจรั่ว Acute Mitral Regurgitation เนื้อจากกล้ามเนื้อที่ยึดลิ้นลิ้นหัวใจ(papillary muscle)ขาดเลือดทำให้กล้ามเนื้อนี้อาจจะขาดหรือทำงานไม่ได้จึงเกิดลิ้นหัวใจรั่วเฉียบพลันซึ่งมักจะอัตรายถึงชีวิต
- 3.2 กล้ามเนื้อหัวใจตายขยายมากขึ้น Infarct Expansion and LV Remodeling เป็นภาวะที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง การตรวจ echo จะพบว่าขนาดหัวใจใหญ่ขึ้น และการทำงานของหัวใจแย่ลง
- 3.3ผนังหัวใจรั่ว Ventricular Septal Rupture กล้ามเนื้อที่ตายอาจจะฉีกขาดทำให้หัวใจรั่วซึ่งสามารถตรจพบจากการตรวจ echo
- 3.4ผนังหัวใจรั่ว Free Wall Rupture
- 3.5 ลิ่มเลือดในหัวใจ Intracardiac Thrombus ผู้ที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายโดยเฉพาะส่วนยอดอาจจะมีลิ่มเลือดซึ่งหากหลุดลอยไปในกระแสเลือดอาจจะอุดเส้นเลือดสมอง
- 3.6 กล้ามเนื้อหัวใจตายของหัวใจห้องขวา RV Infarction
- 3.7 มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ Pericardial Effusion
- ประเมินผลการรักษา เมื่อรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปแล้วการตรวจ echo ซ้ำจะทำให้ทราบว่ากล้ามเนื้อหัวใจได้ฟื้นคืนมากน้อยแค่ไหน
- การประเมินผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน การรักษาโดยการให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด หากกล้ามเนื้อหัวใจไม่ตายก็มักจะฟื้นคืนมา การทำ echo โดยการให้ยากระตุ้นหัวใจที่ละน้อยจะสามารถบอกพยากรณ์โรคได้ กล้ามเนื้อที่ขาดเลือดไปเลี้ยงเมื่อกระตุ้นด้วยยาจะกลับมาบีบตัวเหมือนกลับเนื้อปกติ แต่หากกล้ามเนื้อนั้นตายแล้วกล้ามเนื้อนั้นจะไม่บีบตัว ทำให้เราประเมินผู้ป่วยว่ารายใดจะมีโอกาศที่จะดีขึ้น แต่การตรวจวิธีนี้ ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
การตรวจ Echo สำหรับผู้ที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีประโยชน์ดังต่อไปนี้
- เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
- การตรวจ Echocardiography โดยผ่านทางหน้าอก TTE การตรวจด้วยวิธีนี้จะทำให้เราทราบว่ากล้ามส่วนไหนที่ไม่ทำงาน ส่วนที่ตายเป็นอัตราส่วนเท่าไรของกล้ามเนื้อหัวใจ การทำงานของหัวใจดีหรือไม่ มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่น เช่นลิ้นหัวใจรั่ว
- Stress Echocardiography เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้การตรวจด้วยวิธีนี้มีความแม่นยำสูงในการวินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด วิธีการตรวจทำได้โดยการกระตุ้นให้หัวใจทำงานมากขึ้น ส่วนวิธีการที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้นก็มีสองวิธีใหญ่คือ การออกกำลังกายก็มีทั้งการวิ่งบนสายพาน การขี่จักรยาน และการใช้ยากระตุ้น ผู้ที่มีเส้นเลือดตีบหลายเส้นจะให้ผลการตรวจที่แม่นยำกว่าเส้นตีบเส้นเดียว การตรวจอาจจะให้ผลไม่ถูกต้องในกรณีที่ตรวจด้วยคลื่นเสียงหลังจากออกกำลังกายนานเกินไป หรือไม่สามารถมองเห็นกล้ามเนื้อหัวใจทุกส่วน การตรวจด้วยวิธีนี้ควรจะทำในรายที่การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขนะวิ่งด้วยสายพาน นอนจากนั้นไม่สมควรตรวจในคนที่ไม่มีอาการเจ็บหน้าอก
- เพื่อการวินิจฉัยว่ากล้ามเนื้อหัวใจยังทำงานได้ กล้ามเนื้อหัวใจเมื่อขาดเลือดไปเลี้ยงหากขาดมากกล้ามเนื้อหัวใจจะตาย หากไม่มากกล้ามเนื้อหัวใจอาจจะไม่ตายแต่ไม่ทำงาน ทำให้เราเข้าใจผิด การทดสอบโดยการทำ Stress Echocardiography จะช่วยเราพยากรณ์ว่าจะมีโอกาศฟื้นคืนมากเท่าไร
- ประเมินความรุนแรงของโรค/พยากรณ์ของโรคผู้ที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายหากมี Ejection Fraction ต่ำกว่า 30 จะมีอัตราการเสียชีวิตสูง หากต่ำลงอีกอัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้น
- ใช้ประเมินก่อนและหลังผ่าตัดหรือการทำบอลลลูน เนื่องการตรวจหรือการรักษาไม่ว่าจะเป็นการฉีดสี การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ หรือการผ่าตัดทำ bypass ล้วนมีความเสี่ยงและต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก การทำ Stress Echocardiography ก่อนการผ่าตัดเพื่อประเมินว่ากล้ามเนื้อหัวใจยังไม่ตายและมีโอกาสฟื้นคืน หากกล้ามเนื้อไม่ตายจึงจะตรวจและรักษาต่อ หากกล้ามเนื้อหัวใจตาย การผ่าตัดหรือรักษาอื่นๆอาจจะไม่ได้ประโยชน์
การตรวจหัวใจ
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว