โรคปีกมดลูกอักเสบ Pelvic inflamatory disease
โรคปีกมดลูกอักเสบหรืออุ้งเชิงกรารนอักเสบ เป็นการติดเชื้อของมดลูก หรือรังไข่ หรือท่อรังไข่ เป็นการติดเชื้อที่รุนแรงหากรักษาอาจจะทำให้เสียชีวิต การติดเชื้อของโรคปีกมดลูกอักเสบ อาจจะทำลายท่อรังไข่ รังไข่หรืออวัยวะใกล้เคียง หากไม่รักษาอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนเป็นหมัน หรือเสียชีวิต เชื้อที่เป็นสาเหตุคือ gonorrhea,chlamydia แต่ก็อาจจะเกิดเชื้อที่อยู่ในช่องคลอดของคนปกติ
สาเหตุเป็นทั้งการติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือเกิดตามธรรมชาติก็ได้
คนเป็นโรคนี้ได้อย่างไร
- โรคนี้เกิดจากเชื้อรุกรานจากช่องคลอดผ่าปากมดลูกไปยังมดลูกและท่อรังไข่และช่องท้อง
- มักจะเป็นในคนที่อายุต่ำกว่า
25 ปีเนื่องจากปากมดลูกยังไวต่อการติดเชื้อ
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับชายหลายคนมีโอกาสเป็นโรคนี้สูง
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีแฟนหลายคนก็มีโอกาสเป็นโรคนี้สูง
เกิดจากเพศสัมพันธ์
เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยได้แก่ หนองใน และ chlamydia
ไม่ได้เกิดจากเพศสัมพันธ์
- จากการใส่ห่วง
- การสวนล้างช่องคลอด
อาการของผู้ป่วยมีอะไรบ้าง
- ปวดแน่นท้องน้อย
- แสบร้อนในท่อปัสสาวะหรือปัสสาวะแล้วปวด
- คลื่นไส้อาเจียน
- เลือดออกผิดปกติ
- ตกขาวมากขึ้น
- ปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์
- ไข้สูงหนาวสั่น
การวินิจฉัย
- การวินิจฉัยทำได้ยากเนื่องจากบางคนไม่มีอาการแสดง
หรือมีแต่น้อย นอกจากนั้นการตรวจร่างกายอาจจะไม่พบความผิดปกติ
- ยังไม่การตรวจพิเศษที่ชี้เฉพาะว่าเป็นโรคนี้
- การตรวจอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเท่านั้น การตรวจที่สำคัญคือการตรวจภายในพบว่าเมื่อโยกปากมดลูกจะทำให้เกิดอาการปวด
หรือเมื่อแตะบริเวณเชิงกรานจะทำให้ปวด
- อาจจะนำสารคัดหลั่งไปตรวจหาเชื้อ
gonorrhea หรือ chlamydial infection
- เจาะเลือดตรวจเพื่อแสดงว่าเป็นโรคติดเชื้อ
- ตรวจ ultrasound ท้องน้อยเพื่อตรวจว่าท่อรังไข่บวมหรือไม่
มีหนองที่ท้องน้อยหรือไม่
- การส่องกล้อง laparoscope
เพื่อให้เห็นบริเวณที่ติดเชื้อ
Major criterior |
Minor criterior |
ประวัติปวดท้องน้อยทั้งสองข้าง |
ย้อมมูกจากปากมดลูกพบเชื้อหนองใน |
ตรวจภายในเจ็บเมื่อโยกมดลูก |
อุณหภูมิมากกว่า 38 |
ตรวจภายในกดเจ็บที่ปีกมดลูก |
ตรวจนับเม็ดเลือดขาวได้มากกว่า 104 เซลล์/มล |
|
ตรวจ ultrasound ได้ก้อนที่ปีกมดลูก |
|
serum reative protein >1 |
|
เจาะบริเวณปีกมดลูกได้หนอง |
เกณฑ์การวินิจฉัยต้องมี major
ครบ 3 ข้อและมี minor ข้อใดข้อหนึ่ง
การรักษาอุ้งเชิงกรานอักเสบ
- เนื่องจากการตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุเป็นไปได้ยากจึงต้องให้ยาปฏิชีวนะครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุอย่างน้อยสองชนิด
- แม้ว่าอาการจะดีขึ้นหลังจากได้ยา
ต้องรับประทานยาให้ครบ
- สำหรับคู่ครองต้องตรวจหาเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์
เมื่อไรต้องนอนโรงพยาบาล
- ไข้สูง คลื่นไส้อาเจียน
- ตั้งครรภ์
- ให้ยารับประทานแล้วอาการไม่ดีขึ้น
- มีหนองที่ท่อรังไข่หรือบริเวณรังไข่
การรักษาด้วยยา
- ยาที่แนะนำให้ใช้รักษาได้แก่
Cefoxitin 2 g ให้ทางเส้นเลือด ทุก 6ชั่วโมงร่วมกับ Doxycycline 100
mg รับประทานหรือฉีดเข้าเส้นเลือดทุก 12 ชั่วโมง
- ยาที่ใช้แทนได้แก่ Clindamycin 900 mgให้ทางเส้นเลือดทุก 8 ชั่วโมงร่วมกับ Gentamicin
- สำหรับผู้ที่มีอาการไม่มากก็สามารถให้ยารับประทาน Ofloxacin 400 mg รับประทานวันละสองครั้งเป็นเวลา 14 วันหรือ Levofloxacin
500 mg รับประทานวันละครั้งเป็นเวลา 14วันร่วมกับ
Metronidazole 500 mg วันละสองครั้งเป็นเวลา 14 วัน
- ยาที่เป็นทางเลือกสำหรับการรักษาผู้ป่วยนอกได้แก่
Ceftriaxone 250 mg ฉีดเข้ากล้ามครั้งเดียวร่วมกับ Doxycycline 100 mg
รับประทานวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 14 วัน
- สำหรับคู่ครองที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วย 60 วันก่อนเกิดอาการต้องไปตรวจว่ามีการติดเชื้อหรือไม่
โรคแทรกซ้อนอุ้งเชิงกรานอักเสบ
- ผู้ที่ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็นจะลดโรคแทรกซ้อน
- โรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือการเป็นหมันโดยพบว่าหนึ่งในห้าของผู้ที่เป็นโรคนี้จะเป็นหมัน
- ตั้งครรภ์นอกมดลูก
- ปวดประจำเดือน
การป้องกันโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบนี้ต้องทำอย่างไร
- หากเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต้องรักษาให้ครบ
- งดมีเพศสัมพันธ์
- มีสามีคนเดียว(สามีก็ควรจะมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาเท่านั้น)
- สวมถุงยางอนามัย
- ตรวจโรคประจำปีเพื่อหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะผู้ที่อายุน้อยกว่า 25 หรืออายุมากกว่า 25 แต่มีคู่หลายคนหรือต้องการที่จะมีคู่คนให
- สำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติ เช่น ปวดแสบเมื่อถ่ายปัสสาวะ มีแผล ตกขาว ปวดท้องน้อย ให้ท่านนึกว่าท่านอาจจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ท่านต้องไปพบแพทย์ตรวจ