หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
การตรวจสุขภาพโดยการเจาะเลือดโดยทั่วไป แพทย์มักจะไม่นิยมส่งตรวจหาสารบ่งบอกมะเร็ง แต่แพทย์จะส่งตรวจในรายที่มีความ่สี่ยงสูง หรือเพื่อติดตามการรักษาสำหรับสารบ่งบอกมะเร็งที่นิยมเจาะได้แก่
อุบัติการณืของมะเร็งตับในประเทศไทยพบว่า มีอัตรา 40.5 ต่อประชากรชายหนึ่งแสนคน และ 16.3ต่อประชากรหญิงหนึ่งแสนคน ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ปัจจุบันการคัดกรองโรคมะเร็งตับมีอยู่สองวิธี ได้แก่ การตรวจหา AFP [alfafetoprotein] ในเลือด และการตรวจภาพตับด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจ AFP [alfafetoprotein]มีข้อจำกัดคือแม้ว่ามะเร็งตับจะเป็นมากแล้วพบว่ามีประมาณร้อยละ10-15ที่ค่าAFP [alfafetoprotein]ปกติ และระดับ AFP [alfafetoprotein]ไม่มีความสัมพันธืกับขนาดของมะเร็ง สำหรับประชาชนทั่วไปไม่แนะนำให้คัดกรองโรคมะเร็งตับด้วยการตรวจทั้งสองวิธี แต่สำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการศึกษาในต่างประเทศพบว่าการตรวจคัดกรองด้วยสองวิธีดังกล่าวจะให้ผลดีต่อการวินิจฉัย
ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้แก่
อุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมลูกหมากในประเทศไทยพบได้น้อยประมาณ 3.8ต่อประชากรชายหนึ่งแสนคน และมีอัตราการตายเพียง0.2 ต่อประชากรชายหนึ่งแสนคน การคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากทำได้สาใวิธีคือ การใช้นิ้วตรวจทางทวารหนัก การตรวจ PSA และการตรวจอัลตราซาวนด์ทางทวารหนัก การตรวจด้วยนิ้วพบว่าความน่าเชื่อถือมีข้อจำกัด การตรวจ PSA ก็มีข้อจำกัดคือพบได้ในผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโต มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือโรคอื่นๆของต่อมลูกหมาก เนื่องจากพบอุบัติการมะเร็งต่อมลูกหมากในประเทศอเมริกาสูงจึงมีคำแนะนำให้คัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก และลำไส้ใหญ่ด้วยการตรวจทางทวารหนัก และเจาะเลือดหา PSA ปีละครั้งตั้แต่อายุ 40ปีขึ้นไป สำหรับประเทศไทยราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ไม่แนะนำให้คัดกรอง ถ้าผู้ป่วยต้องการตรวจควรให้ข้อมูลถึงผลดีผลเสีย
มะเร็งลำไส้ใหญ่พบได้เป็นอันดับสามปํจจุบันแนะนำให้คัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการตรวจทวารด้วยนิ้วมือ การตรวจหาเลือดในอุจาระ และการส่องกล้อง ควรเริ่มตรวจเมื่ออายุ 40ปีขึ้นไป ไม่แนะนำให้คัดกรองด้วยการตรวจหา CEA ทั้งบุคคลทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงเนื่องจากให้ผลลวงสูง
สารบ่งบอกมะเร็งตับอ่อน CA19-9
สำหรับประชาชนทั่วไปไม่แนะนำให้คัดกรองโรคมะเร็งตับอ่อนด้วยการตรวจ ultrasound หรือการตรวจ CA19-9
โดยที่ไม่มีอาการ Tumor marker
CBC| Urine analysis | Stool examamination | Glucose | Cholesterol | การตรวจการทำงานของไต Kidney function test | การตรวจการทำงานของตับ Liver function test | การตรวจการทำงานของไทรอยด์ Thyroid Function test | การตรวจหาสารบ่งบอกมะเร็ง | ไวรัสตับอักเสบ บีการตรวจหัวใจ