หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ปัจจัยที่จะพิจารณาว่าจะรักษาไขมันในเลือดสูงโดยพิจารณาจากอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะเวลา 10 ปี และระดับไขมัน LDL การคำนวณอัตราเสี่ยงได้จากการคำนวณความเสี่ยง นำความเสี่ยงที่ได้มาประเมินความเสี่ยงในแถวที่1
อัตราเสี่ยง(%) | ระดับไขมัน LDL ของท่าน | ||||
<70mg% | 70-100mg% | 101-155mg% | 156-190mg% | >190 mg% | |
<1 เสี่ยงต่ำ | ไม่ต้องปรับเปลี่ยน | ไม่ต้องปรับเปลี่ยน | ปรับพฤติกรรม | ปรับพฤติกรรม | ปรับพฤติกรรม หากยังสูงต้องใช้ยา |
1-5 เสี่ยงปานกลาง | ปรับพฤติกรรม | ปรับพฤติกรรม | ปรับพฤติกรรม หากยังสูงต้องใช้ยา | ปรับพฤติกรรม หากยังสูงต้องใช้ยา | ปรับพฤติกรรม หากยังสูงต้องใช้ยา |
5-10 เสี่ยงสูง | ปรับพฤติกรรม และพิจารณายา | ปรับพฤติกรรม และพิจารณายา | ปรับพฤติกรรม และใช้ยา | ปรับพฤติกรรม และใช้ยา | ปรับพฤติกรรม และใช้ยา |
>10 เสี่ยงสูงมาก | ปรับพฤติกรรม และพิจารณายา | ปรับพฤติกรรมและใช้ยา | ปรับพฤติกรรม และใช้ยา | ปรับพฤติกรรม และใช้ยา | ปรับพฤติกรรม และใช้ยา |
อัตราเสี่ยงท่านสามรถหาได้จากการประเมินความเสี่ยงของ ชาย และ หญิง ส่วนค่า LDL ได้จากการเจาะเลือดหรือการคำนวณจากสูตรคำนวณ
ประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต และการให้ยาลดระดับไขมันเมื่อจำเป็น
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต (Total Lifestyle Change, TLC)
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต หมายถึงการกำจัดปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากการดำเนินชีวิตประจำวันให้หมดสิ้นไป ได้แก่ การสูบบุหรี่ การนั่งการยืนอยู่กับที่เป็นส่วนใหญ่ในแต่ละวัน (sedentary life) ความเครียด ร่วมกับการออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง
การสูบบุหรี่ ทำให้ระดับ HDL-C ลดลง เป็นอันตรายต่อ endothelial cell และมีผลต่อการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดง (thrombus) รวมทั้งทำให้เกร็ดเลือดจับตัวกัน10,11
การออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอและพียงพอมีประโยชน์มาก เพราะทำให้ภาวะดื้ออินสุลินลดลง12 ทำให้ไขมันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และโคเลสเตอรอล เพิ่มระดับ HDL-C และมีผลต่อ mononuclear cell ทำให้เซลล์ลดการหลั่ง cytokines ที่กระตุ้นขบวนการatherosclerosis13 นอกจากนี้การออกกำลังกายยังเป็นวิธีการสำคัญในการลดและควบคุมน้ำหนัก
ก่อนให้ผู้ป่วยออกกำลังกายควรตรวจสุขภาพก่อน โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ หรือ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ต้องทดสอบระบบหัวใจและหลอดเลือด เพื่อดูว่ามีโรคหรือภาวะที่เสี่ยงหรือเป็นอุปสรรคต่อการออกกำลังกายหรือไม่ และจัดโปรแกรมการออกกำลังกายให้เหมาะสม ข้อพึงปฏิบัติสำหรับการออกกำลังกายที่สำคัญ คือ เริ่มออกกำลังกายแต่น้อยและค่อยๆ เพิ่มขึ้น การออกกำลังกายที่ถูกต้องประกอบด้วย มีความสม่ำเสมอ(frequency) คือทุกวันหรือวันเว้นวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ระยะเวลาออกกำลัง (duration) นานเพียงพอ คือครั้งละ 30-45 นาที ความหนักของการออกกำลังกาย(intensity) พอเหมาะ ซึ่งในทางปฏิบัติใช้อัตราเต้นของหัวใจเป็นเกณฑ์ โดยออกกำลังให้ได้อัตราเต้นของหัวใจเป็นร้อยละ 60-85 ของอัตราเต้นหัวใจสูงสุด อัตราเต้นหัวใจสูงสุดได้จากการคำนวณโดยลบอายุเป็นปีออกจาก 220
การกำหนดอัตราเต้นหัวใจระหว่างออกกำลังกายขึ้นกับสุขภาพพื้นฐานของผู้ป่วย การออกกำลังกายทุกครั้งต้องมีการอุ่นเครื่อง (warm up) ก่อนออกกำลังกาย และการผ่อนคลาย (cool down) หลังการออกกำลังกาย
การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง
หมายถึงรับประทานอาหารที่มีพลังงานพอเหมาะ และมีอาหารหลักครบทุกหมู่ โดยมีสัดส่วนและปริมาณโคเลสเตอรอลที่เหมาะสมซึ่งมีหลักการคือ
นอกจากนี้ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการทอด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ไขมันที่ได้รับการแปรรูปให้แข็ง เช่น เนยเทียม (margarine) เนยขาว (shortening) โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ทำจากน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เพราะไขมันแปรรูปเหล่านี้จะมี trans fatty acids สูง ปริมาณ trans fatty acids ที่รับประทานจะทำให้ระดับ LDL เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกัน
อาหารประเภทโปรตีนได้แก่เนื้อสัตว์และถั่ว ประเภทเนื้อสัตว์ยึดหลักดังนี้
เครื่องในสัตว์และหนังสัตว์ทุกชนิด ไม่ว่าจะปรุงในรูปแบบใดๆ
อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู ปลาหมึก เนื้อสัตว์ติดมันและหนัง ไข่แดง และ เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอกทุกชนิด, แฮม, โบโลน์ยา, แหนม, หมูยอ, กุนเชียง
เนื้อปลาทุกชนิด ไก่ เป็ด หมู เนื้อ ที่ไม่ติดหนังและมัน ปริมาณที่ควรรับประทาน คือวันละ 2-4 ขีด (200-400 กรัม) หรือเนื้อสัตว์สุก 4-6 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ ขึ้นกับน้ำหนักตัว และระดับไขมันในเลือด
ไขมันในเลือดสูงทุกชนิดจะต้องรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งประกอบไปด้วยการออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก การงดบุหรี่ การดื่มสุรา และการควบคุมอาหาร
ประสิทธิผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแต่ละชนิดขึ้นกับชนิดของไขมันที่สูง ผู้ป่วยที่ไขมัน LDL สูงการลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ลดไขมันชนิด transจะช่วยลดไขมันได้ดี ส่วนไขมัน Triglyceride สูง การลดน้ำหนักร่วมกับการออกกำลังกายจะได้ผลดี ดังนั้นในการเลือกวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะขึ้นกับชนิดไขมันที่ขึ้น
อ่านเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
จะอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัว เมื่อรับประทานมากเกินไปจะทำให้ระดับไขมันในเลือดสูง ไขมันที่สูงจะเป็นความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง อาหารที่มีไขมันสูงได้แก่
หากมีครับทั้งสามภาวะโอกาศที่จะเกิดหลอดเลือดแข็งจะสูง