การรักษาโรคไขมันในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคไตเพื่อป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือด
การรักษาไขมันในเลือดสูงเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ยังไม่มีโรคหัวใจ และหลอดเลือดมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และมีอัตรากรองของไต estimated glomerular filtration rate (eGFR) น้อยกว่า60 มล./นาที/1.73 ตร.ม.คือเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-5 ที่ยังไม่ได้รับการบาบัดทดแทนไต ที่มีระดับไขมัน LDL-Cholesterol มากกว่า100 มก./ดล.ควรจะได้ยา statin ความแรงชนิด low หรือ moderate intensity statin หรือ ยาผสม statin/ezetimibe เพื่อคุมไขมัน LDL-C น้อยกว่า 100 มก./ดล. หรือค่า LDL-C ลดลงจากค่าเริ่มแรกก่อนได้รับยาอย่างน้อย ร้อยละ 30
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีโปรตีนในปัสสาวะ(อัลบูมินนูเรีย)มากกว่า 30 มก./วัน หรือ 30 มก./กรัมของครีแอตินีน และมีอัตรากรองของไต eGFR มากกว่า 60 มล./นาที/1.73 ตร.ม. ขึ้นไป เป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-2 เมื่อมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ต่อภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ พิจารณาให้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติตามแนวทางการรักษาเช่นเดียวกันกับประชากรทั่วไป
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการปลูกถ่ายไต น่าจะให้ยา statin ในขนาดที่เหมาะสมโดยไม่คำนึงถึงระดับ LDL-C เป้าหมาย
- ควรระมัดระวังการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติ high intensity statin เมื่อการทางานของไตลดลง (โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3b-5) ทั้งนี้การเลือกใช้ชนิดยากลุ่ม statin นั้น ให้แพทย์พิจารณาจากข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของยากลุ่ม statin ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบาบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้อง หากไม่เคยได้รับยารักษาภาวะไขมันผิดปกติมาก่อน และไม่มีข้อบ่งชี้อื่น ไม่แนะนาให้ใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติชนิด statin หรือ statin/ezetimibe เพื่อลดระดับไขมันในเลือด
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่รับยารักษาภาวะไขมันผิดปกติกลุ่ม statin อยู่เดิม และมีการดาเนินโรคจนได้รับการบาบัดทดแทนไต น่าจะใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติกลุ่ม statin ต่อไป แต่ต้องมีการปรับขนาดยาให้เหมาะสม
การรักษาไขมันในเลือดสูง | การรักษาไขมันสูงในคนที่ไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด | การรักษาไขมันสูงในผู้ป่วยเบาหวาน | การรักษาไขมันสูงในผู้ป่วยโรคไต | การรักษาไขมันสูงในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด