การคัดกรองผู้ป่วยโรคไต
เมื่อแพทย์แจ้งให้ท่านทราบว่าท่านเป็นโรคไต แพทย์จะต้องประเมินปัจจัยต่างๆที่จะทำให้ผู้ป่วยแย่งลง หัวข้อที่จะต้องประเมินมีดังต่อไปนี้
- ประเมินเรื่องความดันโลหิต
- ประเมินเกี่ยวกับโรคไตที่ท่านเป็นอยู่
- ประเมินว่าท่านเป็นโรคไตชนิดไหน
- ประเมินว่าท่านมีโรคอื่นด้วยหรือไม่
- ประเมินการทำงานของไต
- ประเมินโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากไตวาย
- ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไตวาย
- อัตราการเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- การรักษาโรคไตเสื่อม
- แผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยแต่ละท่านตามโรคที่เป็นอยู่และความรุนแรงของโรค
- ผู้ป่วยที่ความดันโลหิตไม่ได้ตามเป้าหมายต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติม
- ประเมินความจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- การทบทวนการยาที่ใช้รักษาทุกครั้งที่ไปพบแพทย์
การตรวจเลือดเพื่อประเมินโรคไต
เมื่อท่านเริ่มป่วยเป็นโรคไตแพทย์จะเจาะเลือดหรือตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นโดยแพทย์จะตรวจดังต่อไปนี้
- เจาะเลือดเพื่นตรวจ CBC
- จะมีโลหิตจาง ผู้ป่วยจะซีดลงเมื่อไตเสื่อมมากขึ้น
- เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดจะปกติ
- เจาะเลือดตรวจการทำงานของไตโดยเจาะหาค่า Creatinine และการทำงานของไต
เราสามารถประเมินการทำงานของไตได้หลายวิธีดังต่อไปนี้
- การเจาะเลือดหา BUN หรือ blood urea nitrogen เป็นการประเมินการทำงานของไตที่ที่ได้ผลไม่ดีเนื่องจากมีตัวแปรที่ทำให้ค่านี้ขึ้นได้แก่ อาหาร การขาดน้ำ
- เจาะเลือดหาค่า creatinine แต่มีปัญหาไม่สามารถบอกการทำงานของไตเพราะค่าอาจจะปกติแต่ไตเสียการทำงานไปแล้วครึ่งหนึ่ง
- หาอัตราการกรองของไต
- ตรวจหาโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะเพื่อประเมินความรุนแรงของโรค
- นำปัสสาวะไปตรวจด้วยกล้องจุลทัศน์เพื่อส่องหาเม็ดเลือดแดง ตะกอนต่างๆ
- ตรวจทางรังสีหรือ ultrasound เพื่อตรวจทางกายภาพของไตซึ่งสามารถตรวจได้ดังต่อไปนี้
- การตรวจทางรังสีธรรมดาซึ่งจะแสดงภาพเงาของไต นิ่วที่ทึบแสง
- การฉีดสีเพื่อตรวจทางเดินของระบบปัสสาวะ แต่ต้องระวังในคนที่ไตเริ่มเสื่อมเพราะจะทำให้ไตเสื่อมมากขึ้น
- การตรวจ Ultrasound ของไตเพื่อจะดูขนาดของไต าหกไตวายเรื้อรังขนาดของไตจะมีขนาดเล็กกว่าปกติ หรือเป็นโรค polycystic ก็สามารถเห็นด้วยการตรวจชนิดนี้ ไตโตจากการที่มีนิ่วหรือต่อมลูกหมากที่โตและอุดทางเดินปัสสาวะก็สามารถมองเห็นด้วยวิธีการตรวจชนิดนี้
- การใส่สายเข้าทางท่อปัสสาวะและฉีดสีเป็นวิธีการตรวจทางเดินปัสสาวะในกรณีที่ไตเสื่อมมากจนไม่สามารถตรวจโดยการฉีดสี
- การตรวจ computer ก็สามารถบอกโครงสร้างของไต บอกเรื่องเนื้องอก ใช้ทดแทนในกรณีที่ฉีดสีไม่ได้
- การตรวจ MRI เป็นการตรวจไตโดยใช้คลื่นแม่เหล็กซึ่งสามารถวินิจฉัยโรคได้มากกว่าการตรวจ computer เช่นเส้นเลือดแดงตีบ
- เจาะเลือดดูเกลือแร่ในเลือด โซเดี่ยม โพแทสเซี่ยม
- การตรวจระดับน้ำตาลของเลือดเพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ หากเป็นเบาหวานจะทำให้ทราบว่าควบคุมเบาหวานได้หรือไม่
- การตรวจค่าโซเดี่ยม Sodium ซึ่งมักจะมีค่าปกติหรือต่ำ
- การตรวจระดับโพแทสเซี่ยม Potassium หากมีการเสื่อมของไตมากค่านี้จะสูง
- ตรวจระดับความเป็นกรดของเลือดหรือค่า Bicabonate ผู้ป่วยไตวายจะมีค่า Bicabonateต่ำเนื่องความเป็นกรดในเลือด
- ตรวจหาระดับ albumin ในเลือดหากเป็นโรค Nephrotic จะมีโปรตีนในเลือดต่ำ
- ตรวจหาแคลเซี่ยมในเลือดหากไตเสื่อมไม่มากแคลเซี่ยมจะยังคงปกติ แต่หากไตเสื่อมมากแคลเซี่ยมในเลือดจะต่ำลง
- ตรวจหา Phosphate ในเลือดจะพบว่าสูง
- ตรวจระดับparathyroid hormone จะพบว่าหากไตเสื่อมมากขึ้นค่านี้จะสูงเพิ่มขึ้น
- ตรวจหาระดับ Akalinephosphatase จะสูงขึ้นหากมีปัญหาเรื่องกระดูก
- ตรวจหาระดับไขมันจะพบว่าสูงขึ้น
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือไม่ และมีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่
- การตรวจหาโรคแพ้ภูมิตัวเอง และโรคติดเชื้ออื่นๆ
- ตรวจหาว่ามีภูมิต่อโรค SLE Scleroderma,หรือโรคแพ้ภูมิอื่นๆ
- ตรวจหาว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่
- ตรวจหาว่าเป็นโรคเอดส์หรือไม่
- วัดส่วนสูงและชั่งน้ำหนักเพือหาดัชนีมวลกาย
- การเจาะไตเพื่อวินิจฉัยโรค
หน้าต่อไปอ่าน การรักษาไตวาย
โรคไตวายเรื้อรัง สาเหตุโรคไต การรักษาโรคไต การรักษาความดัน การรักษาเบาหวานและไขมัน การรักษาภาวะแคลเซี่ยมต่ำ การรักษาภาวะโลหิตจาง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด การรักษาโปรตีนในปัสสาวะ ความเสี่ยงการเกิดโรคไต การตรวจวินิจฉัยโรคไต ความรุนแรงโรคไต สาเหตุโรคไต อาการโรคไต โรคไต