การวิ่งอย่างปลอดภัย
ความปลอดภัยจากการวิ่งประกอบไปด้วย การลดอุบัติเหตุที่จะเกิดระหว่างการวิ่ง และการเกิดอันตรายจากการวิ่ง การเกิดโรคหัวใจ
การวิ่งอย่างปลอดภัย
การวิ่งในที่นี้หมายถึงการวิ่งในที่โล่งหรือตามถนนเพื่อความปลอดภัยควรจะปฏิบัติตามคำแนะนำ
- ไม่ควรจะใส่หูฟังเพลงขณะวิ่ง เพราะท่านจะไม่ได้ยินเสียงแตรรถ เสียงเครื่องยนต์ แม้กระทั่งเสียงฝีเท้าซึ่งจะเป็นอันตราย
- หากท่านวิ่งข้างถนนควรจะวิ่งสวนกับรถวิ่งเพื่อที่ท่านจะได้เห็นรถที่วิ่งสวนมา
- หากท่านวิ่งหัวค่ำหรือกลางคืนต้องใส่เสื้อสีสว่างหรือมีแทบสะท้อนแสง
- เมื่อวิ่งคู่กับรถ หรือทางแยก ท่านต้องให้รถไปก่อน อย่าวิ่งตัดหน้ารถ
- เมื่อถึงทางแยกต้องหยุดเพื่อมองว่ามีรถวิ่งมาหรือไม่ หากไม่มีจึงวิ่งข้าม
- หาเพื่อนวิ่งด้วยกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- หากต้องวิ่งคนเดียวแนะนำให้วิ่งบนสายพานในสถานออกกำลังกาย
- หลีกเลี่ยงการวิ่งในที่ไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะหากต้องวิ่งในเวลาค่ำหรือกลางคืน
- อย่าใส่เครื่องแต่งกายราคาแพง
- ให้พกบัตรประจำตัว และบัตรโรคประจำตัวหรือคำแนะนำสำหรับผู้พบเห็น
- พกโทรศัพท์และเบอร์โทรฉุกเฉิน
- หลีกเลี่ยงคนที่ไม่คุ้นเคย หรือสถานที่ไม่คุ้นเคย หากจำเป็นต้องวิ่งอาจจะพกสเปรย์พริกไทย หรือนกหวีด
ความปลอดภัยจากโรคในขณะวิ่ง
- ท่านที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่นอายุมากกว่า 45 ปีและไม่เคยออกกำลัง อ้วน มีโรคเรื้อรังเช่น ความดัน เบาหวาน ท่านต้องปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
- จะต้องมีการอบอุ่นร่างกายอย่างเพียงพอ
- ดื่มน้ำก่อนออกกำลังกาย 30 นาที
- หากมีอาการหน้ามืด เจ็บหน้าอก เหนื่อยงานให้หยุดออกกำลังและปรึกษาแพทย์
- ฟังสัญญาณร่างกายหากออกมากไปต้องหยุด
- สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องปรึกษาแพทย์เรื่องการฉีดยา และการรับประทานอาหาร
การขี่จักรยาน | การเล่นก็อลฟ์ | การวิ่ง | วิ่งอย่างไรไม่ปวดเข่า | การวิ่งอย่างปลอดภัย | การออกกำลังโดยการขึ้นบันได | การว่ายน้ำ | การเล่นเทนนิส | การวิ่งบนสายพาน | การเดิน | การเล่นแอร์โรบิคในน้ำ | การเริ่มต้นออกกำลังกาย