งูเขียวหางไหม้กัด: สิ่งที่ควรรู้และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
งูเขียวหางไหม้ (Trimeresurus albolabris) เป็นงูพิษที่พบได้บ่อยในประเทศไทย มีลักษณะเด่นคือลำตัวสีเขียวสด หางสีน้ำตาลแดง และมีพิษที่มีผลต่อระบบเลือด งูเขียวหางไหม้เป็นงูบกที่มีพิษน้อยที่สุดในบรรดางูพิษพบได้ทั่วประเทศ หัวเป็นรูปสามเหลี่ยม หางสั้นมีสีแดง ลำตัวเขียว อาศัยเกาะตามกิ่งไม้ใต้ถุนบ้าน พิษงูเขียวหางไหม้จัดเป็นพิษต่อระบบโลหิต hemotoxin ชอบหากินกลางคืน
พิษของงูเขียวหางไหม้
พิษของงูเขียวหางไหม้มีผลต่อระบบเลือด ทำให้เลือดออกง่าย ห้ามเลือดได้ยาก และอาจทำให้เกิดอาการบวมบริเวณที่ถูกกัดได้ ในบางรายที่แพ้พิษรุนแรง อาจมีอาการหายใจลำบากและเสียชีวิตได้หางไหม้กัด
- บริเวณที่ถูกกัดจะมีรอยเขี้ยว 2 รอย
- มีเลือดออกบริเวณที่ถูกกัด และอาจมีเลือดออกตามไรฟัน
- ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ถูกกัด
- คลื่นไส้ อาเจียน
- หายใจลำบาก
อาการเฉพาะที่ของงูเขียวหางไหม้กัด
- เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงทันทีที่ถูกกัด แล้ค่อยๆหายใน 5-6 ชั่วโมง
- บริเวณที่ถูกกัดจะบวมอย่างรวดเร็วในระยะ 3-4 วันแรกแล้ค่อยๆยุบบวมในเวลา 5-7 วัน
- มีเลือดออกจากรอยเขี้ยว แต่ไม่มาก
อาการทั่วไปของงูเขียวหางไหม้กัด
- มีจ้ำเลือดออกใต้ผิวหนัง
เป็นจุดๆทั่วตัวเลือกออกจากแผล
- ปัสสาวะแดง หรือ เป็นเลือด
- ถ่ายอุจาระเป็นเลือด
- ถ้าได้พิษมาก
อาจมีเลือดตามอวัยวะต่างๆได้
- ถ้ามีอาการบวมมากว่า
1 ข้อถัดไปถือว่ารุนแรง
การรักษาของงูเขียวหางไหม้กัด
- ตั้งสติ อย่าตกใจ พยายามจำลักษณะของงู
- ล้างแผล ด้วยน้ำสะอาดและสบู่
- ห้ามเคลื่อนไหว บริเวณที่ถูกกัด เพื่อลดการแพร่กระจายของพิษ
- รีบนำส่งโรงพยาบาล ที่ใกล้ที่สุดโดยเร็วที่สุด พร้อมแจ้งแพทย์ว่าถูกงูพิษกัด
- ห้ามกรีด บริเวณที่ถูกกัด
- ห้ามดูด พิษออกจากแผล
- ห้ามใช้ สมุนไพร หรือ ยาใดๆ ทาบริเวณที่ถูกกัด
- ห้ามขันชะเนาะ บริเวณเหนือแผลที่ถูกกัด
- ทำความสะอาดแผลเหมือนงูเห่า
- การให้ serum แก้พิษงู จะให้ในกรณีต่อไปนี้
- มีเลือดออกผิดปกติ
เช่นเลือดออกทางเดินอาหาร
- ควรเจาะเลือดทุกวันเป็นเวลา
72 ชั่วโมง
เพื่อดูการแข็งตัวของเลือด
- ค่าการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
venous clotting time มากกว่า30 นาที
- เกล็ดเลือดน้อยกว่า 100000
ข้อควรระวังหางไหม้มักอาศัยอยู่ตามต้นไม้ พุ่มไม้ และบริเวณที่มีความชื้น
- ควรระมัดระวังเมื่อเดินในบริเวณที่มีพงหญ้ารก โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน
- สวมรองเท้าบูท หรือ รองเท้าหุ้มส้นเมื่อต้องเดินในบริเวณที่เสี่ยงต่อการถูกงูกัด
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- หากเป็นไปได้ ควรถ่ายรูปงูที่กัด หรือจดจำลักษณะของงู เพื่อแจ้งแพทย์
- การรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที จะช่วยลดความรุนแรงของอาการและเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตได้
หมายเหตุ: ข้อมูลนี้เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้น ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำเฉพาะกรณี
กลับหน้าเดิม
หน้าหลัก ชนิดของู พิษของงู การดูแลเบื้องต้น การประเมินความรุนแรง การรักษา การให้เซรุ่ม งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูกะปะ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้ รายละเอียดงูพิษกัด