ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะลดโพแทสเซี่มและฟอสฟอรัสได้อย่างไร
- โพแทสเซียม (Potassium)เป็นเกลือแร่ที่ช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อและประสาทเป็นไปตามปกติ เมื่อไตทำงานลดลงจะลดการขับโพแทสเซียมทางปัสสาวะ ทำให้เกิดการสะสมของโพแทสเซียม ทำให้โพแทสเซี่ยมในเลือดสูงจะเริ่มมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นตะคริว หรือหัวใจเต้นผิดปกติได้ สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่1-3 เป็นผู้ป่วยโรคไตระยะเริ่มต้นและปานกลาง ซึ่งไตยังพอขับถ่ายของเสียได้ดี มีปัสสาวะจำนวนมากและระดับของโพแทสเซียมในเลือดไม่สูงมาก สามารถรับประทานผักและผลไม้ได้โดยไม่ต้องจำกัด สามารถรับประทานอาหารที่มีโปแตสเซี่ยมได้วันละ 4700 มิลิกรัม หากตรวจเลือดแล้วผลโพแทสเซี่ยมในเลือดไม่สูง แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 4-5 ไม่ควรได้รับเกิน 1500 มิลลิกรัม ต่อวัน (หรือผู้ป่วยมีค่าโพแทสเซียมในเลือดสูง)
จำกัด 2,000-3,000 มก./วัน
-โพแทสเซียม มีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจ เมื่อมีไตเสื่อม การขับโพแทสเซียมจะลดน้อยลง ระดับโพแทสเซียมในเลือดควรน้อยกว่า 5 mEq/L
- ถ้าระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงมากเกินไปอาจจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติหรือหยุดเต้นได้ ดังนั้น ในผู้ป่วยที่มีไตเสื่อมระยะ 4-5 หรือระดับโพแทสเซียมสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง
รายการอาหารกลุ่มผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซี่ยมสูงปานกลางและต่ำ(100กรัม)
โพแทสเซี่ยมสูง(270 มก.)
ผลไม้ |
ผัก |
แก้วมังกร แคนตาลูป แตงโม แตงไทย ฝรั่ง มะละกอ ทุเรียน มะขาวหวาน ลำไยแห้ง อะโคาโด สตรอว์เบอร์รี่ น้ำผลไม้กล่อง |
กระหล่ำดอก กระหล่ำปลีม่วง กระชาย กระถิน |
ภาพจากโรงพยาบาลปิยะการุณย์
- ผลไม้กลุ่มที่มีโพแทสเซียมสูง กินได้วันละ 1 ส่วน ส่วนผักกลุ่มที่มีโพแทสเซียมสูง กินได้วันละ 1 ทัพพี
- ถ้าระดับค่าโพแทสเซียมในเลือดมากกว่า 5.5 mEq/L ให้งดผลไม้
- ผักใบเขียวทุกชนิดสามารถกินได้ หากนำไปลวกหรือต้มก่อน เพื่อลดปริมาณโพแทสเซียมในผักลง
ฟอสฟอรัส (phosphorus) จำกัด 800-1,000 มก./วัน
- ฟอสฟอรัสหรือฟอสเฟต มีผลต่อความแข็งแรงของกระดูก ไตที่ปกติจะขับฟอสฟอรัสออกได้ แต่เมื่อมีไตเสื่อม การขับฟอสฟอรัสจะน้อยลง ทำให้ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูงขึ้น
- เมื่อระดับฟอสฟอรัสสูงขึ้นจะทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำลง และแคลเซียมถูกดึงออกมาจากกระดูก ทำให้กระดูกไม่แข็งแรง นอกจากนั้น ฟอสฟอรัสจะจับกับแคลเซียมที่อยู่ในเลือดเกิดเป็นหินปูนอยู่ตามหลอดเลือดหัวใจ,ข้อ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจตามมา
- ในผู้ป่วยทีมีไตเสื่อมระยะที่ 3-5 หรือระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ นม นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เนย คุกกี้ ขนมปัง ไอศกรีม กาแฟผง ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วต่างๆ เต้าหู้ นมถั่วเหลือง โอวัลติน ไมโล โกโก้ โคลา เป๊ปซี่ กาแฟใส่นม เบียร์ น้ำแร่ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพด งา ทองหยิบ ทองหยอด ไข่แดง เมล็ดพืช แมลงต่างๆ เป็นต้น
- กลุ่มอาหารแปรรูป จะให้ฟอสฟอรัสที่มากกว่ากลุ่มอาหารธรรมชาติที่ไม่ผ่านการแปรรูป
ฟอสฟอรัสเมื่อไตวาย ร่างกายจะมีปัญหาการดูดซึมแคลเซียม และการกำจัดฟอสฟอรัสจะทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมน้อยและมีฟอสฟอรัสในเลือดมากเกินไป ไม่ควรกินเกิน 800 มิลลิกรัมต่อวันจะจำกัดในผูป่วยระยะที่ 3- 4 – 5 ควรเลี่ยงการทาน นม ผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด ช็อคโกแลต ไข่แดง ถั่วเมล็ดแห้งทุกชนิด เต้าหู้ถั่วเหลือง รำข้าว เนยแข็ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม นมข้นหวาน ไข่ปลา ไข่แดง กุ้ง ปู ผลิตภัณฑ์ที่ใส่ผงฟู ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำอัดลมสีดำ
- โรคไตเสื่อม
- อาการโรคไตเสื่อม
- การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรัง
- การแบ่งระดับความรุนแรงของโรคไตเสื่อม
- การักษาไตเสื่อม
- การป้องกันไตเสื่อม
- การรับประทานอาหารเพื่อป้องกันไตเสื่อม
- การออกกำลังกายสำหรับไตเสื่อม