หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
โพแทสเซี่ยมเป็นแร่ธาตุที่พบได้ในอาหารทั่วๆไป โพแทสเซี่ยมจะช่วยทำให้หัวใจเต้นปกติ กล้ามเนื้อทำงานปกติ ไตมีหน้าที่ควบคุมปริมาณโพแทสเซี่ยมในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เมื่อเกิดภาวะไตเสื่อมทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวจะต้องลดปริมาณอาหารที่มีโพแทสเซี่ยมลง เนื่องจากหากดพแตสเซี่ยมในเลือดสูงจะมีอาการอ่อนเพลีย ชา และอาจจะเกิดหัวใจเต้นผิดปกติ
ภาวะโพแทสเซี่ยมในเลือดสูง( Hyperkalemia) มักเกิดจากความผิดปกติของไต เช่น โรคไตเรื้อรัง หรือไตวายเฉียบพลัน ทว่าอาจมีปัจจัยอื่นนอกเหนือจากสาเหตุข้างต้นได้เช่นกัน ดังนี้
ยาที่หากใช้ร่วมกันอาจจะทำให้เกลือแร่โพแทสเซี่ยมสูงขึ้น
ระดับโพแทสเซียมสูงมักจะค่อยๆพัฒนาขึ้น ผู้ที่มีโพแทสเซียมในระดับสูงจะมีอาการ
หากระดับโพแทสเซียมเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและรวดเร็วบุคคลอาจประสบปัญหาต่อไปนี้:
อาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ี
ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังหรือโรคไตวายเรื้อรัง ผู้ที่มีโพแทสเซี่ยมในเลือดสูงควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารกลุ่มนี้
อาหารที่มีโพแทสเซียมปานกลาง
ได้แก่ สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ มะเขือยาว หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู (ฝักอ่อน) พริกหวาน
อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ (กลุ่มผักสีซีด)
ได้แก่
อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีภาวะไตเสื่อมตามที่ American Kidney Foundation โดยรับประทานโพแทสเซียมเป็นประจำทุกวัน 2, 000 มิลลิกรัม แต่ต้องระวังหากรับประทานอาหารหลายชนิดหรือปริมาณมากก็ทำให้โพแทสเซี่ยมสูงได้
อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำประกอบด้วย:
เรามาพิจารณากันดีกว่าว่าอาหาร 10 อันดับที่มีปริมาณโปแทสเซียมสูงมีอะไรบ้าง
อันดับ | ชนิดอาหาร (ขนาดบริโภค 100 กรัม ) | ปริมาณโปแทสเซียม (มิลลิกรัม) |
1 | ผงโกโก้ | 1.5 กรัม |
2 | ลูกพรุน (อบแห้ง) | 1.1 กรัม |
3 | ลูกเกด | 892 |
4 | เมล็ดทานตะวัน | 850 |
5 | อินทผาลัม | 696 |
6 | ปลาแซลมอน | 628 |
7 | ผักโขม (สด) | 558 |
8 | เห็ด | 484 |
ผลไม้(ขนาดบริโภค 100 กรัม ) | ||
9 | ทุเรียนชะนี | 406 |
10 | กล้วยหอม | 374 |
11 | กล้วยไข่ | 310 |
12 | ทุเรียนหมอนทอง | 292 |
13 | แก้วมังกร | 271 |
14 | ส้มสายน้ำผึ้ง | 229 |
15 | น้อยหน่าหนัง | 214 |
16 | ฝรั่งแป้นสีทอง | 210 |
17 | ขนุน | 207 |
18 | กล้วยน้ำว้า | 204 |
19 | มะละกอแขกดำ | 199 |
20 | ลองกอง | 192 |
21 | ลิ้นจี่จักรพรรดิ | 165 |
22 | สตรอเบอรี่ | 132 |
23 | ลิ้นจี่ฮงฮวย | 131 |
24 | องุ่นเขียว | 130 |
25 | แตงโจินตราแดง | 120 |
26 | สละ | 114 |
หากผู้ป่วยดรคไตเสื่อมอยากจะรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซี่ยมสูงซึ่งไม่ควรจะรับประทานบ่อยหรือในปริมาณมาก ก่อนนำมาปรุงอาหารให้ชะล้างโพแทสเซี่ยมบางส่วนออกโดยการทำดังนี้
สำหรับมันฝรั่ง แครอท บีท
(References: Bowes & Church Food Values of Portions Commonly Used, 17th Ed., Pennington, JA, Lippincott, 1998. Diet Guide for Patients with Kidney Disease, Renal Interest Group-Kansas City Dietetic Association, 1990.)
ทั้งนี้ การรักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละราย ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค ความรุนแรงของอาการ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตควบคู่ไปกับการใช้ยาบางชนิด ดังนี้
นอกจากนั้น แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมในเลือดอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายฉีดแคลเซียมเข้าเส้นเลือด เพื่อป้องกันหัวใจและกล้ามเนื้อจากการได้รับผลกระทบจากภาวะนี้ด้วย
ปริมาณโฑแตสเซี่ยม | ||
ผัก | เห็ดกระดุม เห็ดโคน ผักชี ผักโขม ชะอม หัวปลี ต้นกระเทียม ใบขี้เหล็ก ใบชะพลู ผักกระโดน ผักกระถิน เห็ดเป๋าฮื้อ | 447-540 มิลิกรัม |
ผลไม้ | ทุเรียนทุกชนิด ขนุน แห้ว | 437-442 |
ปริมาณโฑแตสเซี่ยม | ||
ผัก | ยอดขี้เหล็ก แขนงกะหล่ำ ผักหวาน ฟักทอง ยอดฟักทอง ยอกกระถิน กำหล่ำดอก กะหล่ำปลี ดอกและใบกุยช่าย คะน้า ขึ้นฉ่าย บร็อคโดลี่ แครอท ตับเต่า เห็ดฟาง เห็ดนางรม เห็ดหอม ถั่วฝักยาว ผักกะเฉด ผักกาดหอม ผักกวางตุ้ง มะเขือพวง ผักบุ้ง | 200-400 มิลิกรัม |
ผลไม้ | กล้วยไข กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า มะละกอ ลำไย น้อยหน่า | 200-300 |
ปริมาณโฑแตสเซี่ยม | ||
ผัก | เห็ดนางฟ้า เห็ดเผาะ แตงกวา ฝักเขียว พริกหวาน มะระจีน หัวผักกาดขาว มะเขือยาว มะละกอดิบ มะเขือเทศ มะเขือเทศสีดา ตำลึง ผักกาดขาวใบเขียว ต้นหอม ถั่วงอก ถั่งลันเตา บวบ | 100-200มิลิกรัม |
ผลไม้ | ส้มเขียวหวาน ส้มเช้ง ฝรั่ง ชมพู่ มะม่วง ละมุด ลิ้นจี่ เงาะ สัปรด องุ่น แอปเปิล สาลี่ | 100-200 |
ปริมาณโฑแตสเซี่ยม | ||
ผัก | บวบเหลี่ยม ถั่วพู หอมหัวใหญ่ | <100 |
ผลไม้ | แตงโม ลูกท้อสด | <100 |
กลับหน้าที่ 1 การให้โพแทสเซี่ยมในการรักษาความดันโลหิต โพแทสเซี่ยมในเลือดต่ำ โพแทสเซี่ยมในเลือดสูง