jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

ไขมันพอกตับ

โรคไขมันพอกตับ (Non-alcoholic fatty liver disease; NAFLD) คือภาวะความผิดปกติของตับ อันเกิดจากการสะสมของไขมันในเซลล์ตับมากเกินไป โดยการเกิดภาวะไขมันพอกตับนั้นมีความสัมพันธ์กับ ภาวะอ้วน และไขมันในเลือดสูง หรือน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะไขมันพอกตับในผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการและไม่ส่งผลระทบกับสุขภาพรุนแรงต่อตับโดยตรง อย่างไรก็ดีผู้ป่วยราวหนึ่งในสามอาจมีการอักเสบของตับได้ (Nonalcoholic steatohepatitis หรือ NASH) ซึ่งหากการอักเสบภายในตับนี้เกิดขึ้นอย่างซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานจะนำไปสู่การสะสมของพังผืด (fibrosis) ที่เกิดจากการซ่อมแซมความเสียหายภายในตับ และเมื่อพังผืดเหล่านี้สะสมในปริมาณมากก็จะนำไปสู่ภาวะตับแข็ง (cirrhosis) ในอนาคต รวมทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะมะเร็งตับ (Liver Cancer) อีกด้วย



โรคไขมันพอกตับ (Non-alcoholic fatty liver disease; NAFLD)

 ในคนที่กำลังใช้ชีวิตอยู่กับสภาวะบางอย่างเช่นโรคอ้วน และเบาหวานประเภท 2 — และต่างจากโรคตับที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ NAFLD ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก NAFLD สองประเภทคือ:

บ่อยครั้งเมื่อคุณไปตรวจเลือดพบว่าการทำงานของตับผิดปกติมีค่า SGOT,SGPT สูง ค่าทั้งสองเป็นเอ็นไซม์ที่หลั่งออกมาจากตับ แสดงว่าตับได้รับอันตรายหรือมีการอักเสบ แพทย์จะส่งการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหรือที่เรียกว่า ultrasound ส่งเลือดตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัส ซี บางรายอาจจะต้องเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อไปส่องกล้องเพื่อวินิจฉัย หลังจากนั้นแพทย์จะแจ้งว่าท่านเป็นไขมันพอกตับ Fatty liver ทำให้ท่านตกใจกับผลตรวจ


ไขมันพอกตับคืออะไร

ไขมันในตับจะมีประมาณร้อยละ5-10 ของน้ำหนักตับ ไขมันพอกตับเป็นภาวะที่ไขมันโดยเฉพาะ Triglyceride ไปอยู่ในเซลล์ตับมากกว่าร้อยละ10 ของน้ำหนักตับจะถือว่าเป็นไขมันพอกตับ

เซลล์ตับปกติ

เซลล์ตับปกติ

;
เซลล์ตับที่มีไขมันพอกตับ

เซลล์ตับที่มีไขมันพอกตับ


ชนิดของไขมันพอกตับ

1.ไขมันพอกตับจากการดื่มสุรา

เมื่อคนที่ดื่มสุราเป็นระยะเวลานาน เซลล์ของตับจะได้รับอันตรายในระยะแรกจะมีไขมันมาพอกที่ตับ ในระยะนี้หากหยุดดื่มสุราตับก็สามารถกลับสู่ปกติได้หลังหยุดดื่มสุรา 6 สัปดาห์ แต่หากยังดื่มสุราต่อเนื่อง ตับจะกลายเป็นตับแข็งซึ่งภาวะนี้จะไม่สามารถกลับสู่ปกติ นอกจากนั้นผู้ที่ดื่มสุราอย่างมากก็เกิดไขมันพอกตับแบบเฉียบพลันได้

2.ไขมันพอกตับของคนที่ไม่ได้ดื่มสุรา

ไขมันพอกตับชนิดนี้เรียกว่า Nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD) หมายถึงภาวะที่ไขมันพอกตับโดยเฉพาะ triglyceride อยู่ในเซลล์ตับ โดยที่คนคนนั้นไม่ได้ดื่มสุรา (ปกติคนดื่มสุรามานานจะมีไขมันพอกตับ) เซลล์ไขมันจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเกิดตับอักเสบในระยะแรก จะวินิจฉัยภาวะนี้เมื่อมีไขมันในตับมากกว่าร้อยละ10ของน้ำหนักตับ

3.ไขมันพอกตับและมีการอักเสบของตับ

แต่ผู้ป่วยบางส่วนที่ไขมันพอกตับทำให้เซลล์ตับมีการบวมและเกิดการอักเสบของตับ เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า nonalcoholic steatohepatitis (NASH) ในที่สุดก็จะกลายเป็นตับแข็ง Cirrhosis แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังอธิบายไม่ได้ว่าทำไมถึงเกิดการอักเสบของตับ พบว่าร้อยละ 5-8 ของผู้ป่วยไขมันพอกตับจะกลายเป็นตับอักเสบ และตับแข็ง


อาการของโรคไขมันพอกตับได้แก่


4.ไขมันพอกตับในผู้ป่วยตั้งครรภ์

เป็นโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยตั้งครรภ์พบไม่บ่อย มักจะเกิดในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาศที่3 อาการที่สำคัญ

ผู้ป่วยส่่วนใหญ่ดีขึ้นหลังจากคลอด


กลไกการเกิดไขมันพอกตับ

ในคนปกติระดับน้ำตาลจะถูกควบคุมโดยอินซูลินซึ่งผลิตมาจากตับอ่อน เมื่อน้ำตาลในเลือดสูง ตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินออกมากมากขึ้น โดยอินซูลินจะออกฤทธิ์ที่ตับ กล้ามเนื้อและเซลล์ไขมันเพื่อให้ใช้น้ำตาล

ในภาวะที่ดื้อต่ออินซูลินซึ่งอาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์หรือจากพฤติกรรมเช่น อ้วน ไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันมาก จะทำให้เซลล์ต่างๆไม่ตอบสนองต่ออินซูลินในขนาดปกติ ทำให้ตับอ่อนต้องผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้นเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ เมื่อภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอจึงเกิดโรคเบาหวานชนิดที่2 ซึ่งเมื่อเป็นมากจนกระทั่งต้องฉีดอินซูลิน

ภาวะดื้อต่ออินซูลินเกิดจากกรรมพันธุ์ แต่เมื่อโตขึ้นร่างกายอ้วนขึ้นรับประทานอาหารที่มีแป้งเพิ่มขึ้นรวมทั้งไม่ได้ออกกำลังกายทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มมากขึ้น ทำให้ตับมีการสะสมไขมันเพิ่มมากขึ้น

ไขมันพอกตับหายเองหรือไม่

ไขมันพอกตับสามารถหายเองได้หากเราสามารถลดความเสี่ยง หรือปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


สาเหตุของไขมันพอกตับ

ควรจะพบแพทย์หากมีอาการอย่างต่อเนื่องหรือรุนแรงมากขึ้น


ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดไขมันพอกตับ

มีภาวะหรือโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไขมันพอกตับ

ปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้เกิดไขมันพอกตับ


คนอ้วนกับการเกิดไขมันพอกตับ

การจะวัดว่าใครอ้วนหรือไม่อาจจะวัดด้วยสายตาซึ่งเป็นการบอกอย่างคร่าวๆ การจะบอกว่าอ้วนหรือไม่จะใช้ดัชนีมวลกายเป็นตัวบอก คนฝรั่งจะบอกว่าอ้วนเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 30 ส่วนชาวไทยจะบอกว่าอ้วนเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 25 อ่านรายละเอียดที่นี่ โดยพบว่าผู้ที่เป็นเบาหวาน ไขมันสูงและอ้วนจะมีโอกาสเป็นโรคไขมันพอกตับ มีการประเมินว่าสามารถพบโรคไขมันพอกตับได้ร้อยละ 20ของประชากร ส่วนกลุ่มเสี่ยงเช่นคนอ้วนที่เป็นเบาหวาน ไขมันสูงพบว่าไขมันพอกตับได้ถึงร้อยละ 90 ต่างประเทศได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของดัชนีมวลกาย และความเสี่ยงของการเกิดไขมันพอกตับไว้ดังนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายและความเสี่ยงไขมันพอกตับเมื่อเทียบกับคนปกติ
ดัชนีมวลกาย
ความเสี่ยง
25-30
2
30-35
4
35-40
5
มากว่า40
6

สำหรับผู้หญิงก็มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดดังนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายและความเสี่ยงไขมันพอกตับเมื่อเทียบกับคนปกติ
ดัชนีมวลกาย
ความเสี่ยง
25-30
2
30-35
2.5
35-40
4
มากว่า40
5

อาการและการรักษาไขมันพอกตับ