หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
น้ำมันมะพร้าว (coconut oil) คือน้ำมันที่ได้จากการสกัดแยกน้ำมันจากเนื้อผลของต้นมะพร้าว (Cocos nucifera L.) ซึ่งเป็นพืชในตระกูลปาล์ม (Arecaceaeหรือ Palmae) น้ำมันมะพร้าวจะเป็นของเหลวเมื่ออุณหภูมิมากกว่า 25 องศา หากอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะเป็นไข หากจะนำน้ำมันที่เป็นไขนี้ไปตากแดด หรือแช่ในน้ำอุ่นก็จะได้น้ำมันมะพร้าวที่เป็นของเหลวผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวที่จำหน่ายในท้องตลาด และได้รับความสนใจในขณะนี้ คือ virgin coconut oil ซึ่งหมายถึงน้ำมันมะพร้าวที่ใช้วิธีการสกัดแยกจากเนื้อมะพร้าวโดยไม่ผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อนสูง และไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปทางเคมี น้ำมันมะพร้าวเริ่มได้รับความนิยมทั้งในประเทศไทย และอเมริกา มีการสำรวจที่อเมริกาพบว่าประชาชนร้อยละ 72 ลงคะแนนว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันเพื่อสุขภาพ แต่การสำรวจโภชนากรของอเมริกาพบว่าร้อยละ 37เห็นด้วยว่าน้ำมันมะพร้าวมีผลดีต่อสุขภาพ เรามาดูว่าว่าน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
องค์ประกอบหลักของน้ำมันมะพร้าวเป็นกรดไขมันอิ่มตัว (มากกว่า 90%จากปริมาณกรดไขมันทั้งหมด) แต่กรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่ที่พบในน้ำมันมะพร้าวนั้นเป็นกรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลปานกลาง (medium chain fatty acid) ส่วนใหญ่ของไขมันอิ่มตัวเป็น lauric acid ร้อยละ47 ส่วนน้อยเป็น myristic และ palmitic acids ซึ่งเมื่อรับประทานและถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะถูกเผาผลาญได้ดี จึงถูกสะสมในเนื้อเยื่อไขมัน(adipose tissue)ได้น้อยกว่ากรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลยาว (long chain fatty acid) เช่น กรดไลโนเลอิก (linoleic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบมากในน้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น (1, 2) โดยมี ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ทำให้ไขมันเลว LDL ในเลือดสูง มีแร่ธาตุและวิตามินอีกจำนวนหนึ่ง
ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวขึ้นกับขบวนการผลิต ตามรายงานที่ให้ผลดีต่อสุขภาพมักจะเป็นน้ำมะพร้าวชนิด virgin
น้ำมันมะพร้าวที่ขายกันอยู่ยังไม่มีมาตราฐานการผลิต แต่ได้แบ่งน้ำมันมะพร้าวออกเป็น
อ่านกระบวนการผลิตน้ำมันมะพร้าว
จะซื้อน้ำมันมะพร้าวจะต้องรู้ชนิดของน้ำมันมะพร้าวซึ่งจะพิมพ์อยู่บนฉลาก
น้ำมันมะพร้าวชนิดนี้จะนำเนื้อมะพร้าวที่อบแห้งหรือตากแห้งนำมาคั้นด้วยเครื่องมือ จะได้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ไม่มีการการกลั่น ไม่มีการเติมสารเคมี น้ำมันมะพร้าวนี้เหมาะสำหรับการรับประทาน ใช้ทำน้ำมันสำหรับนวด ใช้กับผม ผสมในเครื่องสำอาง ใช้ในอุตสาหกรรม และทางการแพทย์
เป็นน้ำมันมะพร้ามที่ได้จากการกลั่น มีการเติมสารเคมี และฟอกสี และการแต่งกลิ่น และไม่มีโปรตีน
เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการคั้นกะทิ แล้วน้ำไปสกัดซึ่งอาจจะสกัดร้อน สกัดเย็น หรือใช้สารเคมีในการแยกน้ำมันมะพร้าวออกมา น้ำมันมะพร้าวนี้จะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ medium chain fatty acid และมีฤทธิ์ต้านเชื้อโรค เป็นน้ำมันที่เหมาะสมสำหรับการใช้
เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ได้จากสวนที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี ใช้ปุยอินทรีย์ น้ำมันชนิดนี้ใช้ใช้ทำเครื่องสำอาง
เป็นน้ำมันมะพร้าว Virgin Coconut Oilที่นำมาจากสวนที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง
น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ดี หากนำมาใช้ทอดอาหารรับประทาน เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีองค์ประกอบที่สำคัญคือไขมันอิ่มตัวสูง ที่อุณหภูมิห้องจะเป็นน้ำมัน หากเจอความเย็นจะเป็นไขมัน น้ำมันมะพร้าวจะมีความคงทนสูงจึงไม่สลายเมื่อถูกแสงหรือความร้อน น้ำมันมะพร้าวทนต่อความร้อนได้ดี มีอุณหภูมิ smokimg point สูง น้ำมันมะพร้าวจะอุดมไปด้วย medium-chain fatty acids เช่น lauric acid ซึ่งมีคุณสมบัติสร้างภูมิคุ้มกัน และใช้ลดน้ำหนัก น้ำมันมะพร้าวได้ถูกนำมาใช้รักษาโรคหลายโรค เช่นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ อ่อนเพลีย แม้ว่าจะมีพลังงานสูงและไขมันสูงก็มีการนำน้ำมันมะพร้าวมาใช้ในการลดน้ำหนัก น้ำมันมะพร้าวนำมาใช้ให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนัง
ในการเลือกซื้อน้ำมันมะพร้าวจะต้องทราบวัตถุประสงค์ของความต้องการจึงจะเลือกซื้อได้ถูกต้อง
วัตถุประสงค์ | ชนิดของน้ำมัน |
---|---|
ทำอาหาร | ใช้น้ำมันที่กลั่น |
ลดน้ำหนัก | Virgin |
เพื่อสุขภาพ | Virgin, Organic |
นวด | Pure, Refined |
ผม | Pure, Refined |
ใช้ทางการแพทย์ | Virgin, Virgin Organic |
วิธีที่ใช้ในการเตรียม virgin coconut oil เช่น วิธีบีบเย็น เป็นต้น
จากคุณสมบัติดังกล่าวของน้ำมันมะพร้าว ส่งผลให้น้ำมันมะพร้าวได้รับความสนใจจากผู้บริโภคในการรับประทานเพื่อช่วยลดความอ้วน จากรายงานการศึกษาทางคลินิก (randomised, double-blind, clinical trial) ในประเทศบราซิล (3)ทำการทดสอบเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มที่รับประทานน้ำมันมะพร้าว และกลุ่มที่รับประทานน้ำมันถั่วเหลืองในผู้หญิงที่มีภาวะอ้วนลงพุง (abdominal obesity) มีอายุระหว่าง 20-40 ปี (กลุ่มละ 20 คน) รับประทาน 30 มล.ต่อวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ระหว่างการทดสอบผู้ทดสอบทุกคนจะได้รับอาหารพลังงานต่ำ (hypocaloric diet) และออกกำลังกาย 4 วัน/สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการทดลองพบว่า น้ำมันมะพร้าวไม่ทำให้น้ำหนักตัวและ body mass index (BMI) เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับก่อนเริ่มการทดลอง เมื่อดูผลการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือดพบว่า กลุ่มที่ได้รับน้ำมันมะพร้าวไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับคลอเลสเตอรอลรวมและไขมันตัวร้าย (LDL) แต่มีระดับไขมันตัวดี (HDL) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.03 ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับน้ำมันถั่วเหลือง มีระดับคลอเลสเตอรอลรวมและไขมันตัวร้าย (LDL) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.45และ 23.48 ตามลำดับ และมีระดับไขมันตัวดี (HDL) ลดลงร้อยละ 12.62 เมื่อเทียบกับก่อนเริ่มการทดลอง อย่างไรก็ตามระดับไตรกลีเซอไรด์ของทั้งสองกลุ่มไม่เปลี่ยนแปลง
แม้การศึกษานี้จะแสดงให้เห็นว่าน้ำมันมะพร้าวไม่ได้มีผลต่อการลดลงของน้ำหนักตัวของกลุ่มทดลอง และไม่ทำให้ระดับไขมันที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (คลอเลสเตอรอลรวม ไขมันตัวร้าย(LDL) และไตรกลีเซอไรด์) เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มระดับไขมันตัวดี(HDL) ที่ช่วยลดอัตราการเกิดโรคดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ทำการทดสอบในกลุ่มคนจำนวนน้อย และระยะเวลาที่ทดลองก็เป็นเพียงช่วงสั้นๆ (12 สัปดาห์) นอกจากนั้นการได้รับอาหารพลังงานต่ำและการออกกำลังกายสม่ำเสมอ(4 วัน/สัปดาห์) ก็นับเป็นปัจจัยร่วมสำคัญที่อาจส่งเสริมให้ผลการทดลองเป็นไปในทางที่ดีจึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อดูผลของน้ำมันมะพร้าวต่อการลดน้ำหนักและการสะสมของระดับไขมันดังกล่าวในระยะยาว ดังนั้นจากข้อมูลที่มีในขณะนี้จึงยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่าน้ำมันมะพร้าว มีผลต่อการลดน้ำหนักหรือจะส่งผลดีต่อระดับไขมันที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และหากจะให้แนะนำถึงหนทางที่ดีและปลอดภัยที่สุดในขณะนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักก็คงจะหนีไม่พ้นการควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำมันมะพร้าวได้แก่
ไขมันอิ่มตัวที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำมันมะพร้าวเป็นชนิดที่มีความยาวของโซคาร์บอนปานกลาง(มีคาร์บอน 14 ตัว) ไขมันนี้จะเผาพลาญเร็ว และไม่สะสมในร่างกาย
ไขมันไม่อิ่มตัวที่สำคัญในน้ำมันมะพร้าวคือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน Polyunsaturated fatty acids( linoleic acid ) ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว monounsaturated fatty acids (Oleic acid)
ได้แก่สาร Gallic acid หรือ phenolic acid สารนี้จะให้กลิ่นและรสของน้ำมันมะพร้าว
Betaines, ethanolamide, ethoxylates, fatty esters, fatty polysorbates, monoglycerides and polyol esters.
น้ำมันมะพร้าวจัดเป็นอาหารที่บำรุงสุขภาพ
เมื่อก่อนนี้มีการศึกษาพบว่าไขมันอิ่มตัวมีผลเสียต่อสุขภาพ แต่ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าไขมันอิ่มตัวไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด(1)
น้ำมันมะพร้าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพในการป้องกันไม่เพียงแค่โรคหัวใจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงปัญหาสุขภาพเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวานและมะเร็ง ตลอดจนวิธีการป้องกันและแม้แต่รักษาโรคติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวได้ถูกเก็บไว้ ถูกฝังอยู่ในวารสารทางการแพทย์เนื่องจากมีอคติทั่วไปต่อไขมันอิ่มตัวก C-10:0 (7%) กรดลอริก C-12:0 (49%) ไมริสติก กรด C-14:0 (8%), กรดปาล์มิติก C-16:0 (8%), กรดสเตียริก C-18:0 (2%), กรดโอเลอิก C-18:1 (6%) และ 2% ของ C-18:2 กรดไลโนเลอิก
DebMandal และ Mandal10 รายงานว่าน้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวสายโซ่ขนาดกลาง (กรดลอริก) ซึ่งช่วยให้สามารถดูดซึมได้โดยตรงจากลำไส้และส่งตรงไปยังตับเพื่อนำไปใช้อย่างรวดเร็วสำหรับการผลิตพลังงาน ดังนั้น MCFAs จึงไม่มีส่วนร่วมใน การสังเคราะห์ทางชีวภาพและการขนส่งคอเลสเตอรอล คุณลักษณะการป้องกันหัวใจของน้ำมันมะพร้าวสามารถใช้ประโยชน์จากประเทศกำลังพัฒนาในแอฟริกาตะวันตกซึ่งกำลังต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงทางโภชนาการพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของโรคที่เกี่ยวข้องกับอาหารเรื้อรังรวมถึงโรคอ้วนและโรคหัวใจ Fife24 รายงานว่าในศรีลังกา มะพร้าวเป็นแหล่งไขมันหลักในอาหารมานานนับพันปี ในปี พ.ศ. 2521 การบริโภคมะพร้าวต่อหัวเท่ากับ 120 ถั่ว/ปี ในเวลานั้นประเทศมีอัตราการเกิดโรคหัวใจต่ำที่สุดในโลก มีเพียงหนึ่งในทุก ๆ 100,000 คนเท่านั้นที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ในขณะที่สหรัฐอเมริกาซึ่งกินมะพร้าวน้อยมากและผู้คนพึ่งพาน้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนมากขึ้น อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในเวลาเดียวกันก็สูงกว่าอย่างน้อย 280 เท่า . ผลจากแคมเปญ 'ต่อต้านไขมันอิ่มตัว' การบริโภคมะพร้าวในศรีลังกาลดลงตั้งแต่ปี 2521 ภายในปี 2534 การบริโภคมะพร้าวต่อหัวลดลงเหลือ 90 ลูกต่อปีและลดลงอย่างต่อเนื่อง แทนที่น้ำมันมะพร้าว ผู้คนเริ่มกินน้ำมันข้าวโพดและน้ำมันพืชชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนอื่นๆ มากขึ้น เมื่อการบริโภคมะพร้าวลดลง อัตราการเกิดโรคหัวใจก็เพิ่มขึ้นในศรีลังกา และที่น่าสนใจคือ ปัญหามีมากขึ้นในเมือง24ใหญ่สถานการณ์ของศรีลังกานี้อาจเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่งในแอฟริกาตะวันตก
DebMandal และ Mandal10 รายงานเพิ่มเติมว่าน้ำมันมะพร้าวมีประสิทธิภาพอย่างมากในการต่อต้านไวรัสที่เคลือบไขมันหลายชนิด เช่น ไวรัส visna, CMV, ไวรัส Epstein-Barr, ไข้หวัดใหญ่, ไวรัส, ไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว, ไวรัส pneumo และไวรัสตับอักเสบซี MCFA ในน้ำมันมะพร้าวจะทำลายสิ่งมีชีวิตเหล่านี้โดยการทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ จึงรบกวนการรวมตัวกันของไวรัสและการเจริญเต็มที่ การควบคุมการติดเชื้อมีความสำคัญต่อวาระด้านสุขภาพของประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศในแอฟริกาตะวันตก และการใช้น้ำมันมะพร้าวอาจเป็นทางเลือกที่ถูกกว่าในการควบคุมการติดเชื้อ