การนำน้ำมันมะพร้าวมาใช้รักษา
โรคที่ใช้น้ำมันมะพร้าวอาจจะมีผลดี
- ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง Eczema เมื่อใช้น้ำมันมะพร้าวทาผิวหนังจะลดความรุนแรงลงได้ร้อยละ 30
โรคที่ใช้น้ำมันมะพร้าวแต่ขาดหลักฐานยืนยันผลการรักษา
- มะเร็งเต้านม น้ำมันมะพร้าวชนิด virgin coconut oil โดยให้รับประทานน้ำมันมะพร้าวหนึ่งสัปดาห์หลังจากให้เคมีบำบัดครั้งที่3-6จะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นแต่ใช้ไม่ได้ผลกับมะเร็งที่เป็นมาก
- โรคหลอดเลือดหัวใจ จากผลการศึกษาการรับประทานน้ำมันมะพร้าวไม่ได้ลดหรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจหรือแน่นหน้าอก
- ท้องร่วง พบว่าหากผสมน้ำมันมะพร้าวในอาหารจะลดระยะเวลาท้องร่วง
- ลดการติดเชื้อผิวหนังทารกคลอดก่อนกำหนด
- รักษาเหา ให้ผลดีพอพอกับยาฆ่าเหา
- เพิ่มน้ำหนักทารกคลอดก่อนกำหนด โดยการนวดและทาน้ำมันมะพร้าว
- ดื่มน้ำมันมะพร้าววันละสามครั้งเป็นเวลา 1-6 สัปดาห์จะลดเส้นรอบเอว แต่ไม่ลดดัชนีมวลกาย
- ผิวแห้ง ทาน้ำมันมะพร้าวจะเพิ่มความชุ่มชื้นกับผิวหนัง
ผลดีต่อสุขภาพของน้ำมันมะพร้าว
- เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวประกอบไปด้วยไขมันอิ่มตัวชนิด medium chain fatty acid ไขมันชนิดนี้ย่อยง่าย และสามารถเข้าสู่ตับกลายเป็นพลังงานได้ง่าย เร่งการเผาผลาญของร่างกายจึงมีประโยชน์ในการลดน้ำหนัก
- น้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคต่างๆเช่น
- เชื้อหัด Measles
- ไข้หวัดใหญ่ Influenza Virus
- เริม Herpes
- การติดเชื้อแบคทีเรีย
- การติดเชื้อพยาธิ์
- เชื้อราเช่น Candida
- น้ำมันมะพร้าวยังสามารถนำมาใช้เป็นครีมให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนังได้ดีโดยเฉพาะผู้ที่มีผิวหนังแห้ง ผลข้างเคียงของน้ำมันมะพร้าวมีน้อย นอกจากนั้นยังใช้น้ำมันมะพร้าวมาทาผิวหนังเพื่อชลอการเสื่อมของผิวหนัง น้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจึงนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ผิวหนังอักเสบ ผิวหนังติดเชื้อ
- น้ำมันมะพร้าวทนต่อความร้อนได้ดี จึงไม่ก่อให้เกิดสารพิษเมื่อใช้ทอดอาหาร
- น้ำมันมะพร้าวมาใช้ดูแลเส้นผมทำให้ผมเงางาม ลดการเกิดรังแค
- มีผลดีต่อหัวใจ เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีไขมันอิ่มตัวมากจึงเชื่อว่าน้ำมันมะพร้าวทำให้เกิดโรคหัวใจ แต่ไขมันอิ่มตัวในน้ำมันมะพร้าวเป็นชนิด lauric acid ซึ่งจะทำให้มีการเพิ่มของ HDL และระดับ LDL ลดลงซึ่งจะป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง
- น้ำมันมะพร้าวทำให้ภูมิร่างกายดีขึ้นเนื่องจากไขมันในน้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
การหายของแผลและการติดเชื้อ
เมื่อเราใช้น้ำมันมะพร้าวทาที่ผิวหนังน้ำมันมะพร้าวจะเคลือบบนผิวหนังป้องกันฝุ่น เชื้อราป้องกันราบนเชื้อรา ฮ่องกงฟุคเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนั้นแผลพกช้ำเมื่อใช้น้ำมันมะพร้าวทาจะทำให้หายเร็วขึ้น
น้ำมันมะพร้าวได้มีการใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ แต่ประชาชนในประเทศดังกล่าวก็ไม่มีอุบัติการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าประเทศอื่น
น้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัวซึ่งทนต่อความร้อนจึงเหมาะสำหรับการทอดอาหาร
น้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวชนิดที่มีคาร์บอน 12 ตัวที่เรียกว่า Lauric Acid เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสลายได้สาร monolaurin ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย
น้ำมันมะพร้าวกับโรคหัวใจ
ก่อนหน้านี้มีหลักฐานชัดเจนว่าหากไขมันเลว ในเลือดสูงจะทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่ม และเชื่อว่าอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้เกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น น้ำมันมะพร้าวซึ่งมีไขมันอิ่มตัวสูงก็ถูกห้ามรับประทานจนมีคำถามเรื่องหลักฐานของการเกิดโรคหัวใจเพิ่มจริงหรือเปล่า หลายประเทศที่มีการใช้น้ำมันมะพร้าวกันอย่างแพร่หลายอัตราการเกิดโรคหัวใจก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น มีการวิจัยในหนูพบว่าน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สามารถลดไขมันเลว LDL cholesterol ไตรกลีเซอร์ไรด์ และคอเลสเตอรอลในเลือด และมีการเพิ่มขึ้นของไขมันดี HDL (the good) cholesterol และมีการศึกษาในสตรีที่อ้วนลงพุงพบว่าว่าน้ำมันมะพร้าวเพิ่มไขมันดี และลดไขมันเลวในเลือด ในขณะที่น้ำมันถั่วเหลืองเพิ่มไขมันเลวและลดไขมันดี
ข้อคิดเห็น หากจะใช้น้ำมันมะพร้าวต้องเป็นชนิดสกัดเย็น เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ไม่ผ่านขบวนการผลิต
เอกสารอ้างอิง
- Marten B, Pfeuffer M, Schrezenmeir Jr. Medium-chain triglycerides. International Dairy Journal. 2006;16(11):1374-82.
- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. มะพร้าว. วารสารพืชปลูกพื้นเมืองไทย. 2548 กรกฎาคม;1(3).
- Assuncao ML, Ferreira HS, dos Santos AF, Cabral CR, Jr., Florencio TM. Effects of dietary coconut oil on the biochemical and anthropometric profiles of women presenting abdominal obesity. Lipids. 2009Jul;44(7):593-601.
- http://ajcn.nutrition.org/content/early/2010/01/13/ajcn.2009.27725.abstract
- http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21669587
- Quealy, K. and Sanger-Katz, M. Is Sushi ‘Healthy’? What About Granola? Where Americans and Nutritionists Disagree. New York Times. July 5, 2016.
- Eyres L, Eyres MF, Chisholm A, Brown RC. Coconut oil consumption and cardiovascular risk factors in humans. Nutrition reviews. 2016 Apr 1;74(4):267-80.
- Sacks FM, Lichtenstein AH, Wu JH, Appel LJ, Creager MA, Kris-Etherton PM, Miller M, Rimm EB, Rudel LL, Robinson JG, Stone NJ. Dietary fats and cardiovascular disease: a presidential advisory from the American Heart Association. Circulation. 2017 Jan 1:CIR-0000000000000510.