ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร Famotidine
ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร Famotidine เป็นยาในกลุ่ม H2 blocker ยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารจึงใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แผลในลำไส้เล็กส่วนต้น โรคกรดไหลย้อน และภาวะที่มีการหลั่งของกรดมาก
เหตุผลของการใช้ยาFamotidine
- แผลทีลำไส้เล็กส่วนต้นใช้เวลารักษาประมาณ 4 สัปดาห์ ขนาดยาที่ใช้ 40 มิลิกรัมวันละครั้ง หรือ 20มิลิกรัมวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 4 สัปดาห์
- การป้องกันการเกิดแผลให้ขนาด 20 มก. วันละครั้งก่อนนอนเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำอีกเป็นเวลา 2-4 สัปดาห
- แผลที่กระเพาะอาหารให้การรักษาประมาณ 6 สัปดาห์ ให้ขนาดยาที่ใช้ 40 มิลิกรัมวันละครั้ง
- รักษาผู้ที่เป็นกรดไหลย้อนให้ขนาด 20 มิลิกรัมวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 6 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่มีการอักเสบของหลอดอาหาร esophagitis ให้ยา 20-40 มิลิกรัมประมาณ 12 สัปดาห์
วิธีการใช้ยาFamotidine
- ยา Famotidine มีทั้งชนิดยาเม็ดและยาน้ำสำหรับรับประทาน ส่วนใหญ่รับประทานวันละครั้งก่อนนอน หรือแบ่งรับประทานวันละ2-4 ครั้งตามดุลพินิจของแพทย์โดยให้รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารเช้าและเย็น
- ยานี้มีขายในรูปยาเม็ดขนาด 20 และ 40 มก
- ให้รับประทานยา Famotidine ก่อนอาหาร15-60 นาที หรือรับประทานพร้อมอาหาร
- หากท่านซื้อยารับประทานเองไม่ควรที่จะรับยา Famotidine เกินวันละ 2 เม็ด หรือนานเกิน 2 สัปดาห์ หากยังมีอาการให้พบแพทย์
ก่อนใช้ยา Famotidine
- แจ้งชื่อยาที่ท่านแพ้ให้แพทย์ทราบ หรือแพ้ยาในกลุมนี้ได้แก่ famotidine, cimetidine , nizatidine , ranitidine
- แจ้งชื่ยาที่ท่านรับประทานทั้งยาที่ท่านซื้อเอง สมุนไพร วิตามิน และยาที่แพทย์สั่ง
- แจ้งแพทย์หากท่านป่วยเป็นโรค phenylketonuria
- แจ้งแพทย์หากท่านวางแผนจะตั้งครรภ์ หรือกำลังตั้งครรภ์
ผลข้างเคียงที่สำคัญของยา Famotidine
ก่อนจะใช้ยาท่านจะต้องรู้ผลข้างเคียงที่อันตรายหากเกิดขึ้นจะต้องหยุดยาและไปโรงพยาบาลทันทีได้แก่อาการ แพ้ยาซึ่งจะมีอาการผื่นลมพิษ หายใจลำบาก บวมใบหน้า บวมริมฝีปาก ลิ้นและคอ เสียงแหบ หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดจังหวะ เหนื่อบง่าย มีไข้ ท้องร่วง
หากเกิดอาการต่อไปนี้ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์
- มีจำเจียวหรือเลือดออกง่าย
- หัวใจเต้นแรงและเต้นเร็ว
- สับสนเห็นภาพหลอน หรือชัก
- รู้สึกชา
- ตัวเหลืองตาเหลือง
ผลข้างเตียงที่อาการไม่รุนแรงได้แก่
- ปวดศีรษะ
- มึนงง
- ท้องผูก
- ท้องร่วง
สำหรับสตรีมีครรภ์ ยานี้จัดอยู่ในประเภท B
ยาน้ำแก้โรคกระเพาะ | ยาระบาย | ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน | ยา cisapride | ยา hyocyamine | ยาแก้กระเพาะกลุ่ม PPI | ยาขับลม | sucralfate | ranitidine | nizatidine | cimetidine | famotidine | ยาแก้ท้องเสีย | Esomeprazole | lansoprazole | Omeprazole | Misoprostol