วิตามินบี1 Vitamin B1 (Thiamine)
วิตามินบี1 หรือ ไทแอมีน (thiamine) เป็นวิตามิน ที่ละลายน้ำชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็น
ต่อการดำรงชีวิต วิตามินบี1มีหน้าที่สำคัญ คือ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน
และไขมัน ทำให้เกิดพลังงานเพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้ และนำกระแสความรู้สึกของเส้นประสาท
ถ้าร่างกายได้รับวิตามินบี1ไม่เพียงพอ
จะทำให้เป็นโรคเหน็บชา โรคนี้เกิดได้กับบุคคลทุกกลุ่มอายุ สำหรับเด็กทารกถ้าเป็นโรคเหน็บชา จะมีอัตราการเสียชีวิตสูง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันต่อโรค ซึ่งพบได้มากในประเทศ ที่ประชาชนรับประทานข้าวที่ขัดสีเป็นข้าวขาว เป็นอาหารหลัก โดยไม่รับอาหารอื่นที่มีวิตามินบีหนึ่งเสริมอย่างเพียงพอ
ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินบีหนึ่งได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่บริโภค
ร่างกายจะสะสมไทแอมินไว้ได้เพียงเล็กน้อย โดยกระจายอยู่ตามเนื้อเยื้อต่างๆ ได้แก่ ตับ ไต หัวใจ สมอง และกล้ามเนื้อ ซึ่งจะมีความเข้มข้นสูงกว่าในเลือดเล็กน้อย ไทแอมินจะถูกนำไปใช้จนหมดอย่างรวดเร็วถ้าไม่ได้รับเพิ่มจากอาหาร
วิตามินบี1จะพบในอหารหลายประเภท เช่นยิสต์ ธัญพืช ถั่ว และเนื้อสัตว์ และมักจะผสมในวิตามินบีรวม( vitamin B1 (thiamine), vitamin B2 (riboflavin), vitamin B3 (niacin/niacinamide), vitamin B5 (pantothenic acid), vitamin B6 (pyridoxine), vitamin B12 (cyanocobalamin), และ folic acid).
คนนำวิตามินบี1มาใช้ รักษาโรคขาดวิตามินบี1หรือโรคเหน็บชา ให้คนที่เบื่ออาหาร ท้องร่วงเรื้อรัง ให้ในผุ้ป่วยโรคเรื้อรังเช่น โรคเอดส์ ปวดปลายประสาท โรคหัวใจ เป็นต้น
- Thiamine หน้าที่มีส่วนในการทำงานของเส้นประสาทกล้ามเนื้อ หัวใจและการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต์ จะทำงานเป็น coenzyme ช่วยในการเผาผลาญอาหารจำพวกแป้ง หากขาดวิตามินนี้จะมีอาการปลายประสาทอักเสบ มีอาการทางสมอง และทางเดินอาหาร แหล่งอาหาร พบมากในธัญพืชเช่นข้าว ถั่วชนิดต่างๆเครื่องในสัตว์ ไข่ หมู
สาเหตุของการขาดวิตามินบี1
- เกิดจากการรับประทานวิตามินไม่เพียงพอ โดยเฉพาะรับประทานข้าวที่ผ่านการขัดสีจะทำให้วิตามินหลุดออกไป
- ภาวะร่างกายมีการเพิ่มเผาผลาญพลังงาน จะมีการสลายตัวของคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น
ความต้องการวิตามินบีหนึ่ง จึงสูงขึ้นด้วย ภาวะดังกล่าวได้แก่ เช่น คนท้อง คนที่คอพอกเป็นพิษ ผู้ที่ให้นมบุตร คนที่มีไข้สูง โรคติดเชื้อ หรือมีความเจ็บป่วยต่างๆ ได้แก่ การผ่าตัด ภาวะเครียด นอกจากนี้
ยังอาจพบในภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมาก
- การรับประทานวิตามินบีหนึ่ง ในปริมาณซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งอาจเกิดจากความอดอยาก
และหรือการรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วน หรือได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน จากการได้รับสารอาหาร
ทางหลอดเลือดดำ (parenteral nutrition) เป็นต้น
- เด็กในวัยเจริญเติบโต หญิงมีครรภ์ และหญิงกำลังให้นมบุตร การทำงานหนัก
- ภาวะ malabsorptionโรคท้องร่วงเรื้อรังทำให้ลำไส้ดูดซึมวิตามินบีหนึ่งลดลงขาดสารอาหารเรื้อรัง ขาดสารอาหารกรดโฟลิก
- พิษสุราเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้การบริโภคอาหารรวมทั้งวิตามินบีหนึ่งลดลง และความสามารถของตับที่จะเปลี่ยนวิตามินบีหนึ่ง เป็น TPP จะลดลงในรายที่เป็นโรคตับแข็ง
- นอกจากนี้ร่างกายจะสูญเสียวิตามินบีหนึ่ง จากการใช้ยาขับปัสสาวะ ท้องร่วง
และการทำ hemodialysis
อาหารที่มีสารทำลายวิตามินบีหนึ่ง ซึ่งจำแนกได้ 2 ชนิด คือ
- สารที่ไม่ทนต่อความร้อน (heat labile) ซึ่งเป็นเอนไซม์ ที่เรียกว่า thiaminase พบได้ในอาหารจำพวกปลาน้ำจืด
หอยลาย และปลาร้า
- สารที่ทนต่อความร้อน (heat stable) สารประเภทนี้มีอยู่หลายชนิด พบได้ในพืชและผัก พวกใบชา ใบเมี่ยง
หมากพลู สีเสียด นอกจากนี้ยังอาจพบได้ในปลาน้ำจืดบางชนิด
อาการของผู้ที่ขาดวิตามินบี1เป็นอย่างไร
- อาการทั่วๆจะมีอาการอ่อนเพลีย หงุดหงิด ความจำไม่ดี นอนไม่หลับ เจ็บหน้าอก เบื่ออาหาร ท้องผูก
- ผู้ป่วยจะมีอาการชาโดยเฉพาะทปลายเท้าทั้งสองข้างเรียก beriberi
- บางรายอาจจะมีอาการปวด หรือเป็นตะคริวโดยเฉพาะเวลากลางคืน
- ปวดกล้ามเนื้อ ลุกไม่ขึ้น
- อาการทางประสาทมักจะเกิดในคนที่ขาดวิตามินอยู่แล้ว เกิดอาการขาดอย่างเฉียบพลันผู้ป่วยจะมีอาการสับสน พูดจาวกวนไปมาเรียกระยะนี้ว่า Korsakoff's syndrome หากไม่รักษาผู้ป่วยจะมีอาการตากระตุก เห็นภาพซ้อน โคม่าและเสียชีวิตเรียกระยะนี้ว่า Wernicke's encephalopathy
- Cardiovascular (wet) beriberi (Shoshin beriberi) คนที่ขาดวิตามินบี1และมีอาการทางหัวใจเด่น ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น ชีพขจรเร็ว ผิวร้อน เหงื่อออก หากเป็นมากจะมีอาการหัวใจวาย เหนื่อง่าย นอนราบไม่ได้ เท้าบวม
อาการขาดวิตามินบี1
การวินิจฉัยขาดวิตามินบี1
- ตรวจปัสสาวะพบว่าการขับวิตามินออกทางปัสสาวะน้อยกว่า 50 ?g/day
- หรือตรวจหา Erythrocyte transketolase activity ก่อนและหลังให้วิตามินบี1
การนำวิตามินมาใช้รักษา
การรักษาขาดวิตามินบี1
- ผู้ที่มีปลายประสาทอักเสบไม่มากให้รับประทานวิตามินบี1วันละ 20-30 มิลิกรัมเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์แล้วแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี1 สูง
- สำหรับผู้ที่มีหัวใจวายให้ฉีดครั้งละ 50-100 มิลิกรัมผู้ป่วยจะตอบสนองเร็ว ยุบบวม
- สำหรับผู้ที่มีอาการทางประสาท ให้ฉีดครั้งละ 50-100 วันละ 2 ครั้งจนอาการดีขึ้นจึงให้รับประทานวันละ 20-30 มิลิกรัม
การรักษาอาการทางสมองของผู้ติดสุรา
อาการทางสมองของผู้ติดสุราเกิดจากการขาดวิตามินบี1ที่เรียกว่า Wernicke-Korsakoff syndrome
การให้วิตามินบี ที่อาจจะได้ผล
- การให้วิตามินบี1 จะลดความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจก
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโปรตีนในปัสสาวะเมื่อได้รับวิตามินบีในขนาดสูง(100มก วันละสามครั้ง)จะสามารถลดปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ
- ลดอาการปวดประจำเดือนโดยต้องรับประทานวิตามินบี10เป็นเวลา 90 วัน
ขนาดของวิตามินบี1ที่ใช้
- สำหรับผู้ที่ขาดวิตามินบี1ให้วิตามินบี1 วันละ5-30 มกเป็นเวลาหนึ่งเดือน สำหรับผู้ที่ขาดวิตามินบีรุนแรงให้วิตามินบี1ขนาด 300 มกต่อวัน
- สำหรับป้องกันต้อกระจกจะให้วิตามินบี1 ขนาด 10 มก
ในแง่การให้บำรุงจะให้วิตามิบีขนาด
- ผู้ใหญ่ให้ 1-2 มกต่อวัน
- ทารก-6เดือนให้0.2 มก
- ทารก7-12 เดือนให้0.3 มก
- เด็ก1-3ขวบให้ 0.5 มก
- เด็ก4-8ขวบให้0.6
- เด็ก9-13 ขวบให้0.9 มก
- ชายอายุมากกว่า 14 ขวบให้ 1.2 มก
- หญิง9-13ให้0.9 มก
- หญิง14-18ขวบให้ 1 มก
- หญิงอายุมากกว่า18ขวบให้ 1.1 มก
- คนตั้งครรภ์ให้1.4 มก
- ผู้ที่เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ให้ 1.5 มก