หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
จุดมุ่งหมายในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ประกอบด้วย
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น การทำให้ผลลัพธ์ในการรักษาดีขึ้นคือ “วินิจฉัยให้เร็ว” , “รักษาให้เต็มที่” และ “ควบคุมแบบใกล้ชิด”
การวินิจฉัยโรคให้ได้ตั้งแต่ระยะแรกของโรคก่อนที่ผู้ป่วยจะมีข้อผิดรูป และความพิการอย่างถาวรนั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่จะทำให้ผลการรักษาดี เนื่องจากว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ทำให้ภาวะข้ออักเสบลดลงอย่างมากจนโรคสงบได้ ดังนั้นผู้ป่วยก็จะสามารถกลับมาใช้ข้อได้ดังเดิม แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย และการรักษาล่าช้าถึงแม้ว่าในที่สุดจะสามารถควบคุมอาการของโรคให้เข้าสู่ภาวะโรคสงบได้ แต่ผุ้ป่วยเหล่านี้อาจจะไม่สามารถใช้ข้อได้ดังเดิม เนื่องจากข้อถูกทำลายจนกระทั่งมีความพิการและผิดรูปอย่างถาวรไปแล้ว ดังนั้นเกณฑ์การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.2010 จึงช่วยให้แพทย์สามารถเริ่มการรักษาได้รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย
เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยแล้ว ผู้ป่วยควรจะได้รับการรักษาแบบเต็มที่ ทันทีเพื่อที่สามารถควบคุมอาการของโรคให้เข้าสู่ภาวะโรคสงบอย่างรวดเร็วที่สุด ก่อนที่ข้อจะถูกทำลาย และพิการอย่างถาวร การรักษาที่มีประสิทธิภาพดีได้แก่ การรักษาด้วยยาต้านรูมาติสซั่มที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค (disease modifying anti-rheumatic drug หรือ DMARD) ที่เหมาะสม จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย DMARD อย่างรวดเร็วหลังได้รับการวินิจฉัยจะมีอาการทางคลินิกดีกว่า เข้าสู่สภาวะโรคสงบมากกว่า และมีข้อผุกร่อนทางภาพรังสีน้อยกว่า กลุ่มที่ได้รับการรักษาช้า
DMARD นั้นมีหลายชนิดแต่ละชนิดมีกลไกลการออกฤทธิ์แตกต่างกัน ส่งผลให้ยาแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพและผลข้างเคียงแตกต่างกัน ปัจจุบัน DMARD แบ่งออกเป็นสองกลุ่มตามกลไกการออกฤทธิ์คือ non-biologic และ biologic DMARD ยากลุ่ม non-biologic DMARD เป็นยาที่ออกฤทธิ์แบบไม่จำเพาะ (non-specific) จึงมีฤทธิ์ระงับการอักเสบของข้อได้หลายกลไก ในขระที่ยากลุ่ม biologic DMARD นั้นเป็นยาที่ถูกผลิตออกมาให้มีกลไกระงับการอักเสบแบบจำเพาะ (targeted therapy) ตามพยาธิกำเนิดของโรครูมาตอยด์โดยตรง เช่น rituximab หรือ anti-CD20 มีฤทธิ์ระงับการอักเสบของข้อโดยยับยั้งการทำงานของ B cell หรือ etanercept และ infliximab มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ Tumor necrotic factor (TNF)
Non-biologic DMARD ที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพดี สามารถควบคุมอาการของโรคและป้องกันข้อผุกร่อน และพิการได้จนได้รับการแนะนำในแนวทางเวชปฏิบัติ จากหลายสถาบันให้เป็นยาตัวแรก ในการรักษาโรคนี้คือ methotrexate (MTX) อย่างไรก็ดีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งอาจตอบสนองไม่ดี ไม่ตอบสนอง มีผลข้างเคียงหรือแพ้ MTX ก็อาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้ DMARD ชนิดอื่นหรือให้การรักษาร่วม DMARD ชนิดอื่นเป็น combination therapy ตามความเหมาะสม ส่วนยากลุ่ม biologic DMARD นั้นเป็นยาใหม่ที่มีประสิทธิภาพดี แต่ราคาแพงและมีผลข้างเคียงหลายอย่างที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะภาวะติดเชื้อรุนแรง เช่น วัณโรค ไวรัสตับอักเสบบีหรือซีกำเริบ รวมทั้งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด malignancy เมื่อใช้ระยะยาว ดังนั้น ควรพิจารณาใช้ยากลุ่มนี้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยไม่ตอบสนอง แพ้ยาหรือไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงของยา non-biologic DMARD ได้ และการบริหารยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นอกจากชนิดของยาแล้วกลยุทธ์ของการบริหารยา(treatment strategy) ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อผลลัพธ์ของการรักษา กลยุทธ์ของการบริหาร DMARD ที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 วิธีคือ
ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้มีพยากรณ์โรคที่ไม่ดี(Poor prognostic factor) ได้แก่
อนึ่งยากลุ่มDMARD นี้เป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้า ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน จึงเห็นผลการรักษาชักเจน ดังนั้น ในระหว่างที่รอ DMARD ออกฤทธิ์อาจพิจารณาให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดและบวมไปก่อน ยาที่นิยมใช้ ได้แก่ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drug หรือ NSAID) สตีรอยด์ขนาดต่ำในรูปกิน (5-10 มิลลิกรัมต่อวัน) สตีรอยด์ในรูปฉีดเข้าข้อ หรือยาแก้ปวดกลุ่ม opioid เช่น tramadol ในกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อจำกัดทำให้แพทย์ไม่สามารถให้การรักษาด้วยยาอื่นข้างต้นได้
Tight control strategy
นอกจากการใช้ยาที่มีประสิทธิภาพและเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมแล้ว การติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด และปรับยาตามการตอบสนองของผู้ป่วยจนเข้าสู่ภาวะโรคสงบก็มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากจะทำให้ผลการรักษาดีขึ้น กล่าวคือ ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะโรคสงบจำนวนมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยเหล่านี้ประสบภับภาวะทุพพลภาพน้อยลง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น วีธีนี้เรียกว่า tight control strategy ซึ่งประกอบด้วย
อย่างไรก็ดีการใช้ดัชนีดังกล่าวอาจไม่เหมาะในชีวิตประจำวัน แพทย์อาจจะใช้วิธีประเมินความรุนแรงของโรคอย่างง่ายคือใช้ตัวแปรเหล่านี้ประเมินคร่าว ๆ ว่าผู้ป่วยอาการดีขึ้นหรือไม่เมื่อเปรียบเทียบกับครั้งที่แล้ว เช่น จำนวนข้อบวม และข้อกดเจ็บลดลง ค่า ESR ลดลง
การรักษาด้วยยาเป็นการรักษาที่ช่วยลดอาการปวดและการอักเสบของข้อ และป้องกันข้อผุกร่อน ข้อผิดรูปและพิการอย่างถาวร ส่วนการฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของข้อ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยนั้นทำได้โดยการทำกายภาพบำบัด การทำกายภาพบำบัดนั้นมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวข้อ และเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ (muscle strengthening) ซึ่งมักจะอ่อนแรงลงเมื่อมีข้ออักเสบเรื้อรังเนื่องจากไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นเป็นเวลานาน นอกจากนี้การทำกายภาพบำบัด เช่น การแช่น้ำอุ่น แช่พาราฟินหรืออัลตราซาวด์นั้นจะช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ และฝืดขัดข้อได้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ดีถ้าผู้ป่วยมีข้ออักเสบเรื้อรังเป็นเวลานาน จนกระทั่งข้อและเนื้อเยื่อใกล้เคียงถูกทำลายแล้ว เช่น ข้อเคลื่อนหลุด ข้อผิดรูปพิการอย่างถาวรหรือเส้นเอ็นขาด การรักษาที่เหมาะสมคือการผ่าตัดซ่อมเส้นเอ็นหรือข้อ และการเปลี่ยนข้อเทียม (arthroplasty) ก็จะช่วยฟื้นฟุการทำงานของข้อและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นด้วย