jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

การวินิจฉัยและการวินิจฉัยแยกโรครูมาตอยด์


การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นต้องอาศัยทั้งการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่ให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง นอกจากนี้การวินิจฉัยโรคตุ้งแต่ระยะของโรคก่อนที่ผู้ป่วยจะมีภาวะทุพพลภาพอย่างถาวรก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากแพทย์จะได้ให้การรักษาตั้งแต่ระยะแรกก่อนที่ผู้ป่วยจะพิการทำให้ผลลัพธ์ในการรักษาดีขึ้น กล่าวคือ ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ข้อได้ตามปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

จากแนวความคิดดังกล่าวแพทย์อายุรกรรมโรคข้อในประเทศสหรัฐอเมริกา และยุโรปจึงได้ร่วมกันพัฒนาเกณฑ์การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ใหม่ขึ้นในปี ค.ศ.2010 เพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรคได้เร็วยิ่งขึ้น และไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้ป่วยมีอาการนานกว่า 6 สัปดาห์ หรือผุกร่อนทางภาพรังสีเสียก่อนจึงจะวินิจฉัยโรคได้

การวินิจฉัยโรคใช้ระบบคะแนน(scoring system) โดยการนำคะแนนที่ได้ในแต่ละหมวดมารวมกัน ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เมื่อ

1) ตรวจพบมีข้ออักเสบ(synovitis) อย่างน้อย 1 ข้อ

2) อาการข้ออักเสบนั้นต้องไม่เกิดจากโรคหรือภาวะอื่น

3) มีคะแนนรวมเท่ากับหรือมากกว่า 6

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้มีความไวร้อยละ 74 และความจำเพาะร้อยละ 71-74

เกณฑ์การวินิจฉัยโรครูมาตอยด์

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้แบ่งออกเป็น 4 หมวดประกอบด้วย

จะต้องได้คะแนนมากกว่า 6 จึงจะวินิจฉัยว่าเป็นโรครูมาตอยด์

จำนวนและตำแหน่งของข้อที่มีการอักเสบ

A. จำนวนและตำแหน่งของข้อที่มีการอักเสบ

ข้อใหญ่หนึ่ข้อ

0

ข้อใหญ่2-10ข้อ

1

ข้อเล็ก1-3ข้อ

2

ข้อเล็ก 4-10 ข้อ

3

มากกว่า 10 ข้อ

5

B. ผลการตรวจเลือด

Negative RF and negative ACPA

0

Low positive RF or low positive ACPA

2

High positive RF or high positive ACPA

3

C. Acute phase reactants

Normal CRP and normal ESR

0

Abnormal CRP or normal ESR

1

D. ระยะเวลาที่มีอาการ

<6 สัปดาห์

0

≥6 สัปดาห์

1

ACPA = anti-citrullinated protein antibody; CRP = C-reactive protein; ESR = erythrocyte sedimentation rate; RA = rheumatoid arthritis.

การตรวจเลือด การรักษา