การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคของผู้สูงอายุ หากเป็นแล้วจะไม่สามารถรักษาให้เหมือนเดิมได้ ดังนั้นการรักษาข้อเข่าเสื่อมจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ป้องกันข้อติด ข้อโก่งงอ เป็นต้น การรักษาแบ่งออกเป็น 3 วิธี
- การรักษาทั่วไป
- การรักษาโดยการให้ยารับประทาน
- การรักษาโดยการผ่าตัด
การรักษาทั่วไป
- ปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเข่าเสื่อม เช่นการยกของหนัก การนั่งพับเพียบ การนั่งยองๆ การนั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ การใช้ส้วมชนิดนั่งยองๆ การนอนกับพื้นเป็นประจำ เพราะขณะลุกขึ้นหรือลงนอนจะเกิดอันตรายกับลเข่า หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดบ่อยๆ ควรนั่งเก้าอี้ไม่ควรนั่งบนพื้น
- การลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ลดอาการปวดเข่า และช่วยชะลอเข่าเส่อมได้
- การออกกำลังและการบริหารกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขาจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง จะช่วยลดแรงที่กระทำต่อเข่า วิธีการบริหารทำได้โดยการยืน มือเกาะกับพนักเก้าอี้ ย่อตัวลงให้เข่างอเล็กน้อย นับ 3-6 แล้วยืนท่าตรง ทำซ้ำ 3-6 ครั้ง หรืออาจจะทำโดยนั่งเก้าอี้ เหยียดเท้าข้างหนึ่งและเกร็งไว้ 10 วินาที แล้วจึงงอเข่า ทำซ้ำหลายๆครั้ง นอกจากนั้นการเดินเร็วๆ หรือการว่ายน้ำจะช่วยกระตุ้นทำให้กระดูกแข็งแรง
- เวลาเดินหรือวิ่งให้ใส่รองเท้าสำหรับเดินหรือวิ่งซึ่งจะรองด้วยพื้นกันกระแทก
- ให้พักเข่าหากมีอาการปวดเข่า
- ใช้ไม้เท้าค้ำเวลาจะลุก อย่าหยุดใช้งานเพราะจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- เวลาขึ้นบันไดให้ใช้ข้อที่ดีก้าวนำขึ้นไปก่อน เวลาลงให้ก้าวเท้าข้างที่ปวดลงก่อน มือจับราวบันไดทุกครั้ง
- ประคบอุ่นเวลาปวด
- ทำกายภาพบำบัด แพทย์จะแนะนำวิธีบริหารกล้ามเนื้อ และข้อเข่าเพื่อลดอาการปวด ป้องกันข้อติด ป้องกันข้อผิดรูป รวมทั้งทำให้กล้ามเนื้อ และกระดูกแข็งแรง ที่สำคัญต้องปฏิบัติเป็นประจำจึงจะได้ผลดี
การบริหารกล้ามเนื้อ
การพักกล้ามเนื้อเป็นวิธีที่ดีสำหรับการรักษาข้อเข่าเสื่อม แต่ต้องมีการออกกำลัง หรือบริหารข้อเข่าอย่างเหมาะสม การออกกำลังกายจะช่วยให้กล้ามเนื้อ และกระดูกแข็งแรง ป้องกันข้อติด การเคลื่อนไหวของข้อดีขึ้น การบริหารมีให้เลือกหลายท่า
- นั่งบนเก้าอี้ให้นั่งห้อยเท้าไว้ ผูกน้ำหนักที่ข้อเท้าประมาณ 2-5 กิโลกรัมไว้ที่ข้อเท้าทั้ง2 ข้าง ยกขึ้นลงให้ทำวันละ 1-3 ครั้ง ครั้งละ 5-15 นาที
- นั่งพักบนเก้าอี้ พักเท้าข้างหนึ่งบนพื้น อีกข้างหนึ่งพักบนเก้าอี้ กดเท้าที่พักบนเก้าอี้นาน 5-10 วินาที แล้วพัก 1 นาที ทำซ้ำ 10 ครั้งให้ทำวันละ 3 ครั้ง
- นอนหงาย หรือนั่ง หาหมอนรองข้อเท้าข้างหนึ่ง กดเข่าของเท้าที่มีหมอนรอง ให้เข่าติดพื้นให้นับ 5-10 วินาที ทำวันละ 3 เวลาทำสลับข้าง
- นั่งบนเก้าอี้ นำผ้าวางไว้ใต้ฝ่าเท้าข้างหนึ่งแล้วดึงขึ้นในขณะที่เท้าถีบลง ให้เท้าสูงจากพื้น 4-5 นิ้ว ดึงไว้ 5-10 วินาทีพัก 1 นาทีทำซ้ำ 3 เวลา
- ให้นั่งบนเก้าอี้ หลังพิงพนัก ยกเท้าขึ้นมา และเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาโดยการกระดกข้อเท้า ให้นับ 5-10 วินาที ทำข้างละ 10 ครั้งทำวันละ 3 เวลา หากแข็งแรงให้ถ่วงน้ำหนักที่ข้อเท้า
- ให้นอนหงาย ยกเท้าข้างหนึ่งงอตั้งไว้ อีกข้างหนึ่งยกสูงจากพื้น 1 ฟุตเกร็งกล้ามเนื้อไว้ นับ 1-10 สลับข้างทำ ให้ทำซ้ำหลายๆครั้ง ให้ทำวันละ 3 เวลา
- ให้ยืนหลังพิงกำแพง ให้เคลื่อนตัวลงจนเข่างอ 30 องศา แล้วยืนขึ้นทำ 5-10 ครั้ง วันละ 3 เวลา
การรักษาโดยการใช้ยา
หากการรักษาทั่วไปไม่สามารถลดอาการปวดเข่า จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา ซึ่งมียาหลายชนิดให้เลือกดังนี้
- ยาแก้ปวด เป็นยาที่ลดอาการปวด แต่ไม่ได้แก้อักเสบ พอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดอีก เช่นยา paracetamol
- ยาแก้อักเสบ steroid ใช้กันมากทั้งชนิดฉีดและรับประทาน เนื่องจากมีผลข้างเคียงจึงไม่แนะนำให้ใช้
- ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ steroid ยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมากขึ้นแต่ต้องระวังการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร
- ยาบำรุงกระดูกอ่อน ได้ผลช้า ค่าใช้จ่ายสูงจึงไม่เป็นที่นิยม
- การใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม
เนื่องจากโรคข้อเสื่อมจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อน้อย ทำให้มีการเสียดสีของข้อ จึงมีการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปในเข่า 3-5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ซึ่งจะลดการเสียดสีของข้อ ลดอาการปวด แต่การฉีดใช้ได้เฉพาะข้อที่เสื่อมไม่มาก
การผ่าตัด
ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากได้รับผลดี โรคแทรกซ้อนไม่มาก วิธีการผ่าตัดก็มีได้หลายวิธีดังนี้
- การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (arthroscope) เหมาะสำหรับข้อที่เสื่อมไม่มาก แพทย์จะเอาสิ่งสกปรที่เกิดจากการสึกออกมาเ
- การผ่าตัดแก้ความโก่งงอของเข่า วิธีนี้ต้องตัดกระดูกบางส่วนออก ทำให้ต้องใช้เวลานานกว่าจะใช้งานได้ ปัจจุบันนิยมลดลง
- การผ่าตัดใส่ข้อเทียม คือการใส่ข้อเข่าเทียมแทนข้อที่เสื่อม ซึ่งผลการผ่าตัดทำให้หายปวด ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ดีขึ้น
การป้องกัน
สามารภป้องกันได้โดยการปฏิบัติการรักษาทั่วไป อ่านเพิ่มเติมที่นี่
ข้อเข่าเสื่อม อาการข้อเข่าเสื่อม การรักษาข้อเข่าเสื่อม