jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ( Overactive Bladder)

หลายท่านโดยเฉพาะผู้ที่สูงอายุ และเป็นผู้หญิงมีอาการปวดปัสสาวะมากจนกระทั่งกลั้นปัสสาวะแทบจะไม่อยู่ จนไปห้องน้ำไม่ทัน บางท่านมีอาการปัสสาวะราดก็มี เมื่อไปตรวจกับแพทย์ แพทย์บอกตรวจไม่พบความผิดปกติและให้ยาแก้อักเสบ สักพักอาการก็กลับเป็นใหม่ เป็นอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นมาเป็นเดือน อาการเหล่านี้เรียก กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ( Overactive Bladder)

คำนิยามของโรค

กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ( Overactive Bladder) เป็นกลุ่มอาการที่ประกอบไปด้วยอาการอยากปวดปัสสาวะ อาจจะมีกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ด้วยก็ได้ มีอาการปัสสาวะบ่อย(มากกว่าวันละ 8 ครั้ง/วัน) ปัสสาวะกลางคืน(มากกว่า 2 ครั้ง/คืน) โดยที่ตรวจไม่พบสาเหตุสรุปอาการที่สำคัญคือ

โรคหรือภาวะที่ทำให้เกิดอาการเหมือนกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ ตามตารางที่นี่

ภาวะ
กลไก
การแก้ไข
ทางเดินปัสสาวะ
   

การติดเชื้อ

การอักเสบทำให้กระตุ้นปลายประสาท เกิดอาการ อยากปัสสาวะ ให้รักษาการติดเชื้อก่อน

ทางเดินปัสสาวะอุดกั้น

การอุดกลั้นทำให้กล้ามเนื้อไวต่อการบีบตัว การผ่าตัด
กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ บีบตัวอ่อนแรง การที่มีปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลง
  • หลีกเลี่ยงยาที่ลดการบีบตัวของ กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
  • ให้กดบริเวณหัวเหน่าเมื่อปัสสาวะ
  • ใส่สายสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว
มีความผิดปกติในกระเพาะปัสสาวะ (เช่นเนื้องอก นิ่ว) ความผิดปกติทำให้กระเพาะปัสสาวะ ไวต่อการกระตุ้น ตรวจหาสาเ้หตุและรักษา
ผู้หญิง
   

ขาด estrogen

มีการอักเสบของช่องคลอดและท่อปัสสาวะ ใช่ยา estrogen ทาช่องคลอด

หุรูดอ่อนแรง

  • มีการรั่วของปัสสาวะทำให้เกิดการระคายเคือง
  • กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ บีบตัวแรงกว่ากล้ามเนื้อหูรูด
  • ใช่ยา estrogen ทาช่องคลอด
  • การผ่าตัด
ผู้ชาย
   

ต่อมลูกหมากโต

ต่อมลูกหมากโต กระตุ้นให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัว
  • ประเมิน และรักษาต่อมลูกหมากโต
  • การใช้ยา alfa adrenergic blocking
  • 5 alfa Reductase inhibitor เพื่อลดขนาดของต่อมลูกหมาก
  • การผ่าตัด
โรคระบบประสาท รายละเอียดอ่านที่นี่  

กลไกการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ( Overactive Bladder)

กระเพาะปัสสาวะของคนเรามีหน้าที่เก็บปัสสาวะ โดยการควบคุมของระบบประสาทส่วนกลางซึ่งได้แก่ สมอง ไขสันหลัง เส้นประสาท และประสาทอัตโนมัติ โรคที่เกิดกับอวัยวะเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกต

โดยปกติเมื่อมีปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะประมาณ 1/3 ของความจุจะเริ่มรู้สึกว่ามีน้ำในกระเพาะปัสสาวะ เพียงรู้สึกหน่วงๆระยะนี้จะไม่มีการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะเลย ความรู้สึกปวดจะเริ่มเมื่อมีปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะซึ่งโดยประมาณ 300-400 ซม มล. หากมีการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะตั้งแต่ปัสสวะเริ่มสะสมถือว่าผิดปกติ

การบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เริ่มเมื่อมีสัญญาณส่งความรู้สึกจากกระเพาะปัสสาวะเป็นความรู้สึกตึงตัวของกระเพาะปัสสาวะผ่านไขสันหลังจนถึงสมอง เมื่อสมองแปลความหมายและเห็นสมควรว่าถ่ายปัสสาวะได้ จึงส่งกระแสประสาทลงมาไขสันหลัง ไปยังกระเพาะปัสสาวะให้บีบตัว ในขณะเดียวกันหากต้องการปัสสาวะโดยที่กระเพาะปัสสาวะไม่เต็มก็สามารถทำได้โดยการสั่งจากสมองโดยตรง นอกจากนั้นกรณีที่กระเพาะปัสสาวะระคายเคืองจากการอักเสบ ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดรู้สึกปวดปัสสาวะ

การบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ Parasympathetic ซึ่งมีสารนำประสาท neurotransmitter ที่สำคัญคือ Acetylcholine ในขณะเดียวกันที่ระบบประสาทอัตโนมัติ Sympathetic ก็ทำหน้าที่ของมันคือเก็บกักปัสสาวะโดยทำให้กระเพาะปัสสาวะคลายตัว รายละเอียดอ่านที่นี่

สาเหตุของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ

การตรวจวินิจฉัย

ในการตรวจวินิจฉัยโรคแพทย์จะซักประวัติ การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถให้การวินิจฉัยและนำไปสู่การรักษาได้ จุดประสงค์หลักของการวินิจฉัยคือการคัดกรองเอาโรคอื่นๆที่อาจจะมีอาการคล้ายคลึงกันออก เช่น นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในท่อไต กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือแม้กระทั่งมะเร็งกระเพาะปัสสาวะก็อาจจะทำให้มีอาการคล้ายกัน โรคที่ทำให้เกิดอาการคล้ายๆกันอ่านที่นี่

การตรวจร่างกาย เริ่มจากการตรวจร่างกายทั่วไปและการตรวจระบบประสาทเพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจจะเป็นสาเหตุหรือเกิดร่วมด้วย

การรักษา

การรักษา OAB

การรักษาโดยไม่ใช้ยา

การใช้ยา

อ่านที่นี่เป็นยาที่ใช้รักษา

ทบทวนวันที่ 15/2/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

เอกสารอ้างอิง

Google
 

เพิ่มเพื่อน