jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

สาเหตุและการติดต่อ

สาเหตุของวัณโรคคือเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ซึ่งพบได้เป็นจำนวนมากในรอยโรคที่มี ลักษณะโพรงแผล วัณโรคแพร่สู่บุคคลข้างเคียงได้ โดยเชื้อวัณโรคติดไปกับละอองฝอย ซึ่งเกิดจากการ ไอของผู้ป่วย ฝอยละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน จะแขวนลอยอยู่ในอากาศและอาจถูกสูด 6 หายใจเข้าไปสู่หลอดลมส่วนปลาย ฝอยละออง ขนาดใหญ่มักตกลงสู่พื้นดิน เชื้อวัณโรคในละออง ฝอยถูกทำลายได้ด้วยแสงแดด หรือแสงอุลตร้าไวโอ เลต การแพร่เชื้อมักเกิดขึ้นในช่วงก่อนที่ผู้ป่วย จะได้รับยารักษาวัณโรค ภายหลังการรักษาไปแล้ว 2-3 สัปดาห์ อาการไอของผู้ป่วยและจำนวนเชื้อจะ ลดลง ทำให้การแพร่เชื้อของผู้ป่วยวัณโรคจะลดลง ด้วย จึงควรแยกผู้ป่วยวัณโรคในระยะแพร่เชื้อไว้ใน ห้องแยกอย่างน้อย 2 สัปดาห์แรกของการรักษา

วัณโรคเกิดจากเชื้อ Mycobacterium tuberculosis เป็นส่วนใหญ่บางส่วนเกิดจากเชื้อ M. africanum and M. bovis. 

การแพร่เชื้อ

ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคในระยะแพร่กระจายเมื่อผู้ป่วย จาม ไอ หัวเราะร้องเพลงหรือแม้กระทั้งพูดก็สามารถแพร่เชื้อออกทางน้ำลาย droplet nuclei กระจายไปในอากาศและสามารถอยู่ในอากาศได้นาน เมื่อคนหายใจจะได้รับเชื้อนั้นเข้าในถุงลมในปอด(alveoli) หากร่างกายแข็งแรงภูมิคุ้มกัน immune ปกติร่างกายก็สามารถกำจัดเชื้อนั้นได้โดยการทำลายของ macrophages  ผู้ป่วยเด็กหรือเป็นเอดส์เชื้อจะแพร่กระจายไประบบอื่น เช่น เยื่อหุ้มสมองและเกิดโรค

หลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2-8 สัปดาห์หากร่างกายแข็งแรงสามารถทำลายเชื้อได้หมด เราทดสอบผิวหนัง PPD skin test จะให้ผลบวก หมายถึงผู้ป่วยติดเชื้อแต่ไม่เกิดโรคเรียก Latent infection ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ติดต่อวัณโรคไม่ติดต่อทางสัมผัสไม่ติดต่อทางเสื้อผ้า หรือเครื่องใช้

จะมีเชื้อบางส่วนอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดขาวจนกระทั้งร่างกายอ่อนแอ หรือมีโรคเช่นภูมิคุ้มกันบกพร่องเชื้อจะเจริญเติบโตและเกิดโรคได้ซึ่งสามารถเกิดได้หลายแบบคือ

อัตราการติดเชื้อ

อัตราการติดเชื้อจะมากหรือน้อยขึ้นกับปัจจัยหลายประการไก้แก่

ความสำคัญของวัณโรค การติดต่อ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การวินิจฉัยโรค การทดสอบผิวหนัง วัณโรคนอกปอด วัณโรคดื้อยา ยาและการจัดการกับวัณโรค การรักษาวัณโรค การให้ยาแบบ DOT การรักษาวัณโรคในภาวะพิเศษ วัณโรคในเด็ก เอดส์และวัณโรคการป้องกันวัณโรค การฉีดวัคซีน BCG วัณโรค

 

ทบทวนวันที่ 19/2/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน