หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ลักษณะของวัณโรคที่เกิดในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอดส์ ขึ้นอยู่กับสภาพความเสื่อมของภูมิคุ้มกันร่างกาย ถ้าการป่วยเป็นวัณโรคเกิดขึ้นในขณะที่ ภูมิคุ้มกันเสื่อมสภาพไม่มาก ลักษณะของวัณโรคจะ เป็นแบบ typical tuberculosis กล่าวคือ อาการแสดง และภาพรังสีทรวงอกจะเหมือนกับผู้ป่วยวัณโรคทั่วๆ ไป แต่ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเอดส์ระยะสุดท้ายจะมี อาการแสดงของวัณโรคนอกปอด (extrapulmonary tuberculosis) เช่น วัณโรคเยื่อหุ้มปอด วัณโรค ต่อมน้ำเหลือง วัณโรคเยื่อหุ้มหัวใจ และวัณโรคแพร่กระจาย ได้มากกว่า นอกจากนี้ภาพรังสีทรวงอกอาจ พบต่อมน้ำเหลืองในทรวงอกโต รอยโรคที่ปอดด้าน ล่าง และไม่ค่อยพบโพรงแผล (cavity)
การวินิจฉัยและรักษาวัณโรคในผู้ป่วยโรค เอดส์ให้ปฏิบัติเหมือนกับการรักษาในคนปกติ กล่าว คือ ใช้สูตรยา 2HRZE/4HR ได้ แต่ให้ระมัดระวังเรื่อง การแพ้ยา เพราะผู้ป่วยเหล่านี้จะมีโอกาสเกิดการแพ้ ยาทั้งทางด้านผิวหนังและตับอักเสบได้ง่ายกว่าคน ปกติ การรักษาวัณโรคในผู้ป่วยโรคเอดส์ เนื่อง จากยา rifampicin (ไรแฟมปิซิน) มีปฏิกิริยากับยา ต้านไวรัสเอดส์กลุ่ม protease inhibitors (PI) และ non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor (NNRTI) ซึ่งทำให้ระดับของยา rifampicin สูงขึ้น และระดับยาของกลุ่ม PI และ NNRTI ลดลงอย่าง มาก แต่ไม่มีปฏิกิริยากับยาต้านไวรัสเอดส์กลุ่ม nucleoside reverse transcriptase inhibitor (NRTI) ที่ มีจำหน่ายในประเทศไทย การรักษาวัณโรคแนะนำ ให้
การให้ INH chemoprophylaxis ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเอดส์
ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสโรคเอดส์ และมีการติดเชื้อวัณโรคร่วมด้วย จะมีโอกาสที่จะกำเริบ เป็นวัณโรคลุกลามได้มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดเชื้อไวรัสโรคเอดส์ การให้ INH เพื่อป้องกันการกำเริบของ วัณโรคจะช่วยลดการแพร่กระจายของวัณโรค และทำให้ภูมิต้านทานของผู้ป่วยเสื่อมถอยช้าลง เนื่อง จากผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสโรคเอดส์นั้น มีอัตราการรักษาวัณโรคไม่สม่ำเสมอสูง ดังนั้นจึงควรให้ INH ป้องกันการกำเริบของวัณโรคเฉพาะในสถาบัน หรือโรงพยาบาลที่มีโครงการให้ INH ชัดเจน มี TB Clinic ที่มีประสิทธิภาพมาก ต้องมีระบบให้สุขศึกษาแนะแนวแก่ผู้ป่วยที่ดี และการให้ INH เพื่อป้องกันการกำเริบของวัณโรค จะต้องเป็นไปโดยความสมัครใจของผู้ป่วยเอง และจะดีที่สุดถ้าให้ยา INH ภายใต้ระบบ DOPT=(Directly Observed Preventive Therapy)
ผู้ป่วยที่สมควรจะให้ INH เพื่อป้องกันการกำเริบของวัณโรค จะต้องเป็นผู้ป่วยที่ไม่มีวัณโรค ระยะลุกลาม จากอาการทางคลินิก ภาพรังสีทรวงอกและผลการตรวจเสมหะ มีการทดสอบแล้วยืนยัน ว่ามีการติดเชื้อไวรัสโรคเอดส์ มีผลการทดสอบทุเบอร์คุลินมากกว่าหรือเท่ากับ 5 มิลิเมตร
การป้องกัน
จะแนะนำให้ INH 300 มิลิกรัมต่อวันเป็นระยะ เวลา 6-12 เดือน
ความสำคัญของวัณโรค การติดต่อ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การวินิจฉัยโรค การทดสอบผิวหนัง วัณโรคนอกปอด วัณโรคดื้อยา ยาและการจัดการกับวัณโรค การรักษาวัณโรค การให้ยาแบบ DOT การรักษาวัณโรคในภาวะพิเศษ วัณโรคในเด็ก เอดส์และวัณโรค การป้องกันวัณโรค การฉีดวัคซีน BCG
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว