แนวทางการดำเนินการ DOTS (Directly Observed Treatment, Short Course)
การรักษาวัณโรคโดยการควบคุมการกินยา ของผู้ป่วยอย่างเต็มที่นั้น เดิมมีการใช้กันอยู่บ้างแล้ว โดยเรียกว่า Fully supervised therapy ต่อมาจึงมีการ ใช้คำย่อว่า DOT=Directly Observed Treatment คือ การรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรง สำหรับคำย่อ DOTS (Directly Observed Treatment, Short Course) ที่ใช้กันในปัจจุบัน นอกจากหมายถึงการให้ผู้ป่วย กลืนกินยาระบบยาระยะสั้น ต่อหน้าผู้ที่ได้รับมอบ หมายให้ดูแลผู้ป่วย ยังต้องมีองค์ประกอบที่เกี่ยว ข้อง 4 ประการ คือ พันธสัญญาที่มั่นคง (Strong Commitment)
จากหน่วยงานระดับประเทศ, การมี บริการชันสูตรที่ครอบคลุมดี, งบประมาณในการจัด หายาที่เพียงพอ และต้องมีระบบบันทึกข้อมูลการ รายงานที่ถูกต้องและสามารถประเมินผลได้ DOTS ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ที่จะทำให้ผู้ป่วย ได้รับการรักษาสม่ำเสมอครบถ้วน และป้องกันการเกิดดื้อยาของเชื้อวัณโรค และโดยข้อ เสนอแนะขององค์การอนามัยโลก ในขณะนี้มี ประเทศต่างๆ กว่า 100 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย ได้นำไปใช้ในแผนงานวัณโรคของประเทศแล้ว
- ผู้ป่วยที่จะให้การรักษาแบบ DOTS เรียงตาม ลำดับความสำคัญ คือ
- 1.1 ผู้ป่วยวัณโรค ที่ตรวจเสมหะพบเชื้อด้วย กล้องจุลทรรศน์ ทั้งผู้ป่วยใหม่และที่เคยได้รับการ รักษามาแล้ว
- 1.2 ผู้ป่วยวัณโรค ที่ตรวจเสมหะด้วยกล้อง จุลทรรศน์ไม่พบเชื้อวัณโรค โดยอาจมีผลเพาะเชื้อ เป็นบวกหรือเป็นลบ เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ DOTS ในผู้ป่วยย้อมเสมหะบวก (smear positive) ทุกราย
- การเลือกบุคคลที่จะให้ทำหน้าที่เป็น Observers ยึดความน่าเชื่อถือ (accountability) เป็นหลัก, ความสะดวกของการเข้าถึงบริการ (accessibility) และการยอมรับของผู้ป่วย (acceptance) เป็นรอง
- 2.1 เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรประจำสถาน บริการทางการแพทย์หรือสาธารณสุข ที่อยู่ใกล้บ้าน ผู้ป่วยมากที่สุด หรือบุคคลที่ผู้ป่วยจะไปติดต่อรับ 11 DOTS (ทุกวันหรือเว้นระยะ) ได้สะดวก หรือถ้ามี ปัจจัยพร้อม เจ้าหน้าที่ก็อาจนำยาไปให้ผู้ป่วยกินที่ บ้านก็ได้ - ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรง พยาบาล ก็เป็นโอกาสอันดีที่จะให้ DOTS ได้ ตลอด จนการแนะนำในการไปทำ DOTS ต่อหลังจาก จำหน่าย - ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องมารับการฉีดยา ตามนัด ก็เป็นโอกาสที่จะให้กินยาไปด้วยพร้อมกัน
- 2.2 อาสาสมัครหรือผู้นำชุมชน เช่น อสม. ครู พระสงฆ์ และบุคคลอื่นๆ ฯลฯ
- 2.3 สมาชิกครอบครัวหรือญาติผู้ป่วย ได้แก่ สามี ภรรยา บิดา มารดา บุตร พี่น้อง ญาติ ที่อยู่ บ้านเดียวกันหรือบ้านใกล้เคียงที่อ่านเขียนหนังสือได้ แต่ทั้งนี้ต้องมีการอบรม ให้เข้าใจถึงหลักการและวิธี การให้ยาผู้ป่วย และต้องมีการเยี่ยมติดตามแต่เนิ่นๆ โดยเจ้าหน้าที่สถานบริการบ่อยครั้ง โดยเฉพาะใน ระยะเข้มข้นของการรักษา เพื่อให้ทำ DOTS ได้โดย ถูกต้อง การเลือกบุคคลที่จะทำหน้าที่ให้ DOTS นั้น ควรพิจารณาตามความเหมาะสมและได้รับการยิน ยอมของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งถ้าผู้ป่วยอยู่ไกลสถาน บริการมาก ก็อาจต้องเลือกบุคคลประเภท 2.2 หรือ 2.3 ให้ทำหน้าที่ให้ DOTS ต่อไป
- หน้าที่ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ DOTS
- 3.1 ให้กำลังใจและกำกับดูแลผู้ป่วยให้กลืน กินยาทุกขนานทุกมื้อ
- 3.2 ไต่ถามหรือสังเกตผู้ป่วยมีอาการแพ้ยา หรือไม่ ถ้ามีก็อาจพิจารณาให้หยุดยาไว้ก่อนเพื่อราย งานสถานบริการหรือแพทย์เพื่อแก้ไขต่อไป
- 3.3 จัดการให้ผู้ป่วยเก็บเสมหะเพื่อส่งโรง พยาบาลตรวจตามกำหนด เพื่อการประเมินผลการ รักษา
- 3.4 ถ้ามีผู้อื่นที่มีอาการสงสัยวัณโรคในบ้าน ผู้ป่วยหรือใกล้เคียง ก็แนะนำให้ไปรับการตรวจรักษา ต่อไป
- วิธีดำเนินการ
- 4.1 ระยะเวลาของการให้ DOTS ควร พยายามให้จนครบระยะการรักษา แต่อย่างน้อย ควรให้ในระยะแรกหรือระยะเข้มข้น (ถ้าระยะต่อ เนื่องไม่สามารถให้ DOTS ได้ก็ต้องให้สุขศึกษาเข้ม ข้น และไปเยี่ยมติดตามผู้ป่วยอย่างน้อยเดือนละ ครั้ง)
- 4.2 เมื่อแพทย์วินิจฉัยโรคและกำหนดระบบ ยารักษาแล้ว ก็ให้นัดผู้ป่วยและครอบครัวมาให้สุข ศึกษา และอธิบายถึงความจำเป็นที่จะต้องรับการ รักษาแบบ DOTS
- 4.3 พิจารณาเลือกผู้ที่จะให้ทำหน้าที่เป็น Observer ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย (ไม่ควรให้ผู้ป่วยเป็นผู้เลือก Observer เอง) ต้องรีบ โอนผู้ป่วยไปติดต่อรับ DOTS จากสถานบริการที่ทำ หน้าที่ในเครือข่าย DOTS ที่อยู่ใกล้บ้านมากที่สุด - ถ้าผู้ทำหน้าที่ Observer เป็นเจ้าหน้าที่ ควรจัดสถานที่อย่างง่ายๆ ที่จะให้ความสะดวกแก่ผู้ ป่วยให้มากที่สุด - ถ้า Observer เป็นบุคคลในกลุ่ม 2.2 หรือ 2.3 เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะต้องออกไปเยี่ยม บ้านผู้ป่วย อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งในระยะเข้มข้น และอย่างน้อยเดือนละครั้งในระยะต่อเนื่อง เพื่อดูแล ให้ทำ DOTS ถูกต้อง
- 4.4 เตรียมยาใส่ซอง packet หรือ blister pack หรืออาจเป็นเม็ดยารวม 2 ขนาน, 3 ขนาน, หรือ 4 ขนาน (Fixed-dose combination) เพื่อให้ผู้ ป่วยกินแต่ละวัน และเตรียมแผ่นบันทึกการกลืนกิน ยาของผู้ป่วย (DOTS card) หรือ treatment card 12 (สำเนาหรือตัวจริงก็ได้) ให้แก่ผู้ที่จะทำหน้าที่ให้เป็น Observer บันทึกทุกครั้ง
- 4.5 จัดการให้ถ้วยเสมหะผู้ป่วย เพื่อเก็บ เสมหะส่งห้องปฏิบัติการตรวจตามกำหนด
- 4.6 ในกรณีไม่สามารถให้เจ้าหน้าที่เป็น Observer ตลอดการรักษา อาจให้ดำเนินการแบบ ผสมผสาน เช่น ในการรักษาระยะเข้มข้น อาจให้เจ้า หน้าที่เป็นผู้ให้ DOTS ต่อไปอาจให้สมาชิกครอบครัว เป็นผู้ให้ DOTS ต่อในระยะต่อเนื่อง
- 4.7 เมื่อครบการรักษา หรือมีปัญหาสำคัญ เช่นการแพ้ยา ให้รายงานแพทย์พิจารณา จำหน่าย หรือเปลี่ยนแปลงการรักษา แล้วแต่กรณี
- การประเมินผล DOTS
- 5.1 ตรวจสอบจาก check list DOTS card กับปริมาณที่ยังเหลือ ดูสีส้มแดงของปัสสาวะ
- 5.2 ตรวจดูผลเสมหะเมื่อสิ้นสุดการรักษา ระยะเข้มข้น และเมื่อสิ้นสุดการรักษา
- 5.3 ทำ cohort analysis ของผู้ป่วยเป็นรุ่น เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ในการควบคุมวัณโรคของ สถานบริการ อย่างไรก็ดีการให้ยารักษาวัณโรคด้วย ระบบ DOTS ต้องยึดปรัชญา "DOTS WITH A SMILE" (S=supervised, M=medication, I=in, L=loving, E=environment)
ความสำคัญของวัณโรค การติดต่อ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การวินิจฉัยโรค การทดสอบผิวหนัง วัณโรคนอกปอด วัณโรคดื้อยา ยาและการจัดการกับวัณโรค การรักษาวัณโรค การให้ยาแบบ DOT การรักษาวัณโรคในภาวะพิเศษ วัณโรคในเด็ก เอดส์และวัณโรคการป้องกันวัณโรค การฉีดวัคซีน BCG วัณโรค
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว