หน้าหลัก | สุขภาพดี
| สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
การประเมินความเสี่ยงจากการตรวจเลือด serologic markers ต่างๆ
- Cardiac troponin T หรือ troponin I
เป็น cardiac marker ที่บ่งบอกภาวะ
myocardial necrosis และมีประโยชน์ในการประเมิน
ความเสี่ยงต่อการเกิด cardiac events และช่วยการ
พยากรณ์โรคได้ จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วย UA ที่มี
Troponin T หรือ I สูงผิดปกติจะมีความเสี่ยงสูงต่อ
การเสียชีวิต แม้ว่าจะมี CK-MB ปกติ โดยพบว่ามี
ความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างค่า Troponin T / I กับ
ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต รายละเอียดอ่านที่นี่
- เพื่อติดตามว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นมากขึ้นหรือไม่ ( infarction extension) เพราะหากกล้ามเนื้อหัวใจไม่ขาดเลือดแล้วค่าที่ได้ควรจะลดลง แต่หากค่ายังสูงแสดงว่ากล้ามเนื้อหัวใจยังคงขาดเลือด
- เพื่อติดตามว่าระหว่างผ่าตัดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่
- Myoglobin เป็นโปรตีนที่พบในกล้ามเนื้อธรรมดา และกล้ามเนื้อหัวใจดังนั้นการตรวจนี้จึงไม่จำเพาะสำหรับกล้ามเนื้อหัวใจ ข้อดีของการตรวจชนิดนี้คือค่ามักจะสูงเร็วหลังเิกิดล้ามเนื้อขาดเลือด พบว่าภายในสองชั่วโมงค่านี้จะขึ้นอย่างเร็วและลงอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากค่านี้ไม่จำเพาะสำหรับกล้ามเนื้อหัวใจ จึงจำเป็นต้องใช้ผลเลือดชนิดอื่นประกอบการวินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- C-reactive protein (CRP)
เป็น marker ที่บอกถึงภาวะ inflammation
จากการศึกษาพบว่าค่า CRP ที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับ
ความเสี่ยงต่อการเกิด non fatal MI และ sudden
cardiac death
ภาพที่ 4 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่า Troponin I กับอัตราการเสีย
ชีวิต (TIMI IIIB study)
เสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนและการเสียชีวิตทั้งใน
ระยะสั้นและระยะยาว 7
- Brain natriuretic peptide (BNP)
ประกอบด้วย 32 amino acid polypeptide
หลั่งมาจาก ventricle ซึ่งตอบสนองต่อการที่มีปริมาณสารน้ำในร่างกายเกิน( volume
expansion หรือ pressure overload) ปัจจุบันเป็น
cardiac marker ตัวใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจ
อย่างมาก การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่าผู้ป่วย UA/
NSTEMI ที่มีระดับ BNP แรกรับสูงผิดปกติจะมีความความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตในระยะสั้นและระยะยาว
- Makers อื่นๆ เช่น fibrinogen, fibrinopeptide,
amyloid A, Interleukin-6, VCAM-1 ยังต้องรอการ
ศึกษาต่อไปในอนาคต
หากผลเลือดให้ผลลบ แต่ผู้ป่วยยังมีอาการเจ็บหน้าอกก้ให้ตรวจเลือดซ้ำ 8 และ 12 ชม หลังเจ็บหน้าอก