การรักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด NSTEMI
แนวทางการรักษาแบบ conservative หรือ invasive
strategy
แนวทางการรักษาผู้ป่วย UA/NSTEMI มี 2
แนวทาง คือ
- Early conservative strategy
เป็นการรักษาประคับประคอง โดยการ
พยายามรักษาผู้ป่วยด้วยการใช้ยา การรักษาจะถูก
กำหนดโดยความรุนแรงของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดผู้ป่วยจะรักษาด้วยยาก่อน หากมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ก็จะเริ่มรักษาโดยการนำผู้ป่วยไปฉีดสีและหรือขยายหลอดเลือด ปัจจัยดังกล่าวได้แก่
- ผู้ที่เจ็บหน้าอกซ้ำจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด( recurrent angina )
- หรือให้การรักษาทางยาแล้วไม่ได้ผล(failed
medical therapy)
- หรือโดยตรวจพบจาก noninvasive
stress test ภายหลัง เช่นการวิ่งสายพานแล้วให้ผลบวก( positive EST), stress
radionuclide / echocardiography
- สัญญาณชีพไม่คงที่(hemodynamic
instability/shock )
ในกรณีเหล่านี้้จะนำผู้ป่วยไปตรวจ coronary angiography และต้องรีบให้การรักษาขยายหลอดเลือดหัวใจ revascularization
- Early invasive strategy
Early invasive strategy เป็นการนำผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปทำฉีดสีเข้าหลอดเลือดหัวใจ coronary angiography ทุกรายภายใน 4-24 ชั่วโมงแรกของการรักษา และทำการขยายหลอดเลือดที่ตีบ แบ่งผู้ป่วยออกเป็นสองกลุ่ม
- กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ต้องรีบน้ำผู้ป่วยไปใส่บอลลลูนหรือผ่าตัด ได้แก่กลุ่มที่มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างต่อเนื่อง หรือสัญญาณชีพไม่คงที่
- กลุ่มที่สองซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของผู้ป่วย ได้มีการประเมินความเสี่ยงและผลดีของการรักษาแล้วคิดว่าน่าจะได้ผลดีสำหรับการรักษาโดยการฉีดสีหรือการทำบอลลูน กลุ่มนี้จะมีความเร่งด่วนน้อยกว่ากลุ่มแรก
ข้อดีของ strategy นี้ คือ
สามารถให้การวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ และการศึกษา
TACTIC-TIMI 18 พบว่า ผู้ป่วย UA/NSTEMI กลุ่ม high
risk หรือ intermediate risk ที่ได้รับยา GP IIb/IIIa
inhibitors tirofiban และ ได้รับการฉีดสีตาม early
invasive strategy จะมีผลดีในแง่ อัตราการเสียชีวิต อัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือต้องนอนโรงพยาบาลน้อยกว่า (death,
myocardial infarction, rehospitalization)
น้อยกว่ากลุ่ม conservative strategy
ในปัจจุบันการพิจารณาเลือกแนวทางการ
รักษาจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะ
ลักษณะอาการทางคลินิก ผลการตรวจ non invasive
test ความพร้อมของบุคลากรและเครื่องมือของแต่ละ
โรงพยาบาล
ACC/AHA Practice Guideline ของ UA/
NSTIMI 2002 แนะนำให้ใช้แนวทางการรักษาแบบ
early invasive คือรีบฉีดสีและทำบอลลูน ในผู้ป่วยที่มีลักษณะดังนี้
- ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกขณะพัก หรือออกกำลังเพียงเล็กน้อยแม้ว่าจะให้การรักาาเต็มที่แล้ว
- ค่าเลือดTroponin T สูง
- คลื่นไฟฟ้าหัวใจมีการขาดเลือดใหม่
- มีอาการหัวใจวายร่วมด้วย เช่นเหนื่อย บวม หรือลิ้นหัวใจรั่ว
- มีความเสี่ยงที่จะเกิดหลอดเลือดตีบสูงจากการตรวจโดยการวิ่งสายพาน
- การทำงานของหัวใจลดลง(EF < 0.40
on noninvasive study)
- สัญญาณชีพไม่คงที่
- หัวใจเต้นผิดปรกติ
- เคยฉีดสีหรือผ่าตัดหัวใจมาก่อน
การเปิดหลอดเลือดที่อุดตัน (Mechanical Revascularization)
แนวทางการรักษานอกเหนือจากการใช้ยา คือ
การซ่อมแซมหลอดเลือดที่อุดตันโดยตรง การฉีด
สีหลอดเลือดหัวใจซึ่งทำใหัเห็น coronary anatomy และ
จุดที่เป็นปัญหา (culprit lesion)ได้ การขยายซ่อมแซม
หลอดเลือดอุดตันสามารถทำใน setting เดียวกัน โดย
balloon ขยายหลอดเลือดอีกทั้งสามารถใส่ตะแกรง
ลวด (stent)เข้าไปค้ำเส้นเลือดเพื่อลด acute closure
และการอุดตันซ้ำ (restenosis)
สรุปหลักการรักษา ACS
- ขั้นที่ 1 การตรวจในเบื้องต้นเพื่อการวินิจฉัยและ ประเมิน
ความเสี่ยง
- ซักประวัติ อาการ, ตรวจร่างกาย เพื่อ rule out noncoronary
cause เช่น valvular heart disease,
hypertrophic cardiomyopathy, pulmonary
disease ซึ่งอาจมีอาการคล้าย ACS ได้
- แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะ ECG คือ
ST-segment elevation group และ non-ST
segment elevation group ซึ่งการรักษาแตกต่างกัน
- เจาะเลือดตรวจ cardiac marker แนะนำให้ใช้
troponin T หรือ I ถ้าทำได้ จะให้ sensitivity และ
specificity ดีกว่าการใช้ CK หรือ CK-MB
ควรตรวจระดับ hemoglobin ด้วยเพื่อดู anemia
(secondary cause of UA)
- เมื่อวินิจฉัยว่าเป็น ACS without ST segment
elevation การรักษาในช่วงแรกที่ผู้ป่วยควรได้รับ คือ
Aspirin 160-325 มก.ทันที หรือใช้ clopidogrel กรณีที่มีข้อห้ามในการใช้ aspirin ร่วมกับการให้
LMWH หรือ UFH , beta-blockers และใช้ oral หรือ
intravenous nitrate ในกลุ่มที่มี persistent/
recurrent chest pain , สำหรับ calcium channel
blockers ให้ใช้ในกลุ่ม ที่มีข้อห้ามในการให้ Beta-
blocker หรือทนต่อยา Beta-blockers ไม่ได้ ควรให้
oxygen และ morphine เพื่อลด pain
- ขั้นที่ 2
การรักษาตามการประเมินความเสี่ยง หลังจากผ่านการประเมินขั้นต้นโดยดูตาม
ลักษณะทางคลินิก ลักษณะ ECG และผล cardiac
marker แล้ว จะสามารถแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม
high/intermediate risk และ low risk ซึ่งมีแนวทาง
การักษาดังนี้
กลุ่ม High/intermediate risk
ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรให้การ
รักษาโดย
- วางแผนทำ coronary angiography ทันทีที่
สามารถทำได้ (early invasive strategy)
- ให้ยา LMWH/UFH ต่อเนื่องระหว่างรอทำ
coronary angiography
- พิจารณาให้ GP IIb /IIIa inhibitors และ
clopidogrel ถ้าให้ abciximab ควรให้จนถึง 12ชม
หลังทำ angioplasty ถ้าให้ eptifibatide หรือ
tirofiban ควรให้จนถึง 24ชม หลังทำ angioplasty
กลุ่ม Low risk
ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถหยุด LMWH ได้
และให้ยา aspirin หรือ clopidogrel ร่วมกับ beta
blocker และ/หรือ nitrate, calcium-channel blockers
และ ควรได้รับการทำ noninvasive stress test
เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและประเมินความเสี่ยงต่อการเกิด
adverse cardiac events ในอนาคต ซึ่งถ้าผล
การตรวจพบมี significant ischemia แนะนำให้ทำ
coronary angiography ร่วมกับ revascularization
หลักการรักษา | การรักษาทั่วไป | การรักษาเพื่อเพื่มเลือดไปเลี้ยงหัวใจ | การรักษาที่บ้าน
ยารักษาความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด