ประวัติที่สำคัญของโรคความดันโลหิตสูงที่ต้องให้แพทย์
การซักประวัติทางการแพทย์ การซักประวัติควรครอบคลุมการวินิจฉัยความดันโลหิตสูงครั้งแรกเมื่อใด ระดับความดันโลหิตในอดีตและปัจจุบัน และยาลดความดันโลหิตที่รับประทานในอดีตและปัจจุบัน ควรให้ความสนใจข้อที่บ่งชี้ว่าอาจเป็นความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ ในผู้ป่วยหญิงควรถามเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ควรซักประวัติของโรคหัวใจและหลอดเลือด ในผู้ป่วยทุกรายเพื่อประเมินความเสี่ยงทั้งหมด โรคที่เป็นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน, อาการแสดงหรือประวัติของภาวะหัวใจล้มเหลว, โรคหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดส่วนปลาย, โรคของลิ้นหัวใจ, อาการใจสั่น, อาการหน้ามืดหมดสติเป็นพักๆ, ความผิดปกติทางระบบประสาท ซึ่งจะเน้นโรคหลอดเลือดสมองและ TIA ประวัติของโรคไตเรื้อรังว่าเป็นชนิดใดและเป็นมานานเท่าใด การสูบบุหรี่ตรวจหาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ประวัติความดันโลหิตสูงและ/หรือโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนวัยอันควรในครอบครัว ซึ่งจะบ่งชี้ถึงสาเหตุจากพันธุกรรมและอาจเป็นข้อบ่งชี้ถึงการส่งตรวจทางพันธุกรรมประวัติที่สำคััญทั้งประวัติครอบครัว และการเจ็บป่วยจะช่วยให้แพทย์ประเมินสาเหตุของโรค ความรุนแรง และวางแผนการรักาาได้อย่างถูกต้องประวัติที่ต้องเตรียมสำหรับแพทย์มีดังนี้
- ประวัติการเจ็บป่วย ต้องทราบระยะเวลาที่เป็นความดันโลหิต และทราบว่าความดันโลหิตเป็นเท่าใด
- ประวัติเพื่อจะหาสาเหตุของความดันโลหิตสูงได้แก
- ประวัติโรคไตในครอบครัวซึ่งหากมีประวัติโรคไตในครอบครัวจะทำให้สงสัยโรค Polycystic kidney disease
- ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคไต ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะเป็นเลือด การใช้ยาแก้ปวดเช่น paracetamol
- ประวัติการใช้ยาและสารเสพติด เช่น ยาคุมกำเนิด ยาหยอดจมูก ยาบ้า ยา steroid ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ,ชะเอม, carbenoxolone, ยาหยอดจมูกแก้คัดจมูก, cocaine, amphetamine, gluco- และ mineralocorticosteroid, , erythropoietin, cyclosporine
- มีอาการเหงื่อออก, ปวดศีรษะ, กังวล, ใจสั่นเป็นพักๆ (pheochromocytoma)
- มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุกหรือไม่ อาการที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคไทรอยด์
- ประวัติเพื่อจะประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดทั้งตัวเอง และครอบครัว
- ประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ประวัติไขมันในเลือดสูง
- ประวัติโรคเบาหวาน
- ประวัติการสูบบุหรี่
- ประวัติการรับประทานอาหาร
- ประวัติเป็นโรคอ้วนหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงของน้าหนักในขณะนี้เพื่อหาโรคอ้วน
- ปริมาณการออกกาลังกาย
- ประวัติการเป็นโรคนอนกรน อาการกรนเพื่อตรวจหาทางเดินหายใจอุดตันขณะนอนหลับ ควรเก็บข้อมูลจากคู่นอนด้วย
- ประวัติความดันโลหิตสูงและ CVD ของผู้ป่วยและครอบครัว
- ประวัติ dyslipidemia ของผู้ป่วยและครอบครัว
- ประวัติโรคเบาหวานของผู้ป่วยและครอบครัว (ยาเบาหวานที่รับประทาน, ระดับน้าตาลในเลือดและอาการปัสสาวะบ่อย)
- ประวัติของโรคที่เกิดจากความดันโลหิตสูง
- สมองและตา ประวัติปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว ชาหรืออ่อนแรงครึ่งซีก
- หัวใจ ใจสั่น เหนื่อยง่าย แน่หน้าอก เท้าบวม หน้ามืดหมดสติ, ประวัติใจสั่น, หัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยเฉพาะ AF
- ไตเช่น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะบ่อยกลางคืน
- หลอดเลือดแดง ประวัติเจ็บน่องเวลาเดิน เท้าเย็น
- ประวัติการใช้ยารักษาความดันโลหิต
- ชื่อยา ระยะเวลาที่รักษา ผลการรักษา ผลข้างเคียงของยา แพ้ยาอะไรบ้าง
- ยาลดความดันโลหิตที่ใช้ในปัจจุบัน
- ยาลดความดันโลหิตที่ใช้ในอดีต
- การรักษาต่อเนื่องหรือไม่ต่อเนื่อง
- ประสิทธิผลและฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ของยาลดความดันโลหิต
ประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยและครอบครัว
1. ระยะเวลาที่เป็นและระดับความดันโลหิตที่สูง รวมทั้ง HBPM
2. ความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ
- ประวัติ CKD ในครอบครัว (polycystic kidney)
- ประวัติโรคไต, การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ, ปัสสาวะมีเลือดปน การใช้ยาแก้ปวดอย่างมาก (renal parenchymal disease)