หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ช่วงที่ไม่มีอาการของโรคหอบหืด ผู้ป่วยจะเหมือนคนปกติ ไม่หอบ ไม่แน่นหน้าอก เล่นกีฬาได้ แต่เมื่อผู้ป่วยได้รับสารที่เป็นภูมิแพ้ผู้ป่วยจะเกิดอาการหอบ แน่นหน้าอก และไอ สำหรับสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้แบ่งได้เป็นหัวข้อดังนี้
แม้ว่าบ้านจะเป็นที่ปลอดภัยสำหรับตัวท่าน หากคุณเป็นโรคหอบหืด บ้านก็อาจจะเป็นแหล่องที่กระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด คุณควรจะจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม สารก่อภูมิแพ้หลายชนิดเช่น รา เกสรดอกไม้ มลภาวะ ก็สามารถพบได้ในบ้านของท่าน หากคุณทราบชนิดของสารภูมิแพ้ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสารภูมิแพ้ต่างๆ เนื่องจากหากได้รับสารภูมิแพ้นานๆทำให้โรคหอบหืดกำเริบเฉียบพลันได้บ่อยและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
สารภูมิแพ้จากสัตว์เลี้ยงเช่น สุนัข แมว หนู นก สารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ได้แก่ รังแค ขน ปัสสาวะ อุจาระ น้ำลาย หากคุณแพ้คุณควรที่จะป้องกันดังต่อไปนี้
โปรตีนจากผิวหนัง ปัสสาวะ อุจาระ น้ำลาย ขนของสัตว์ เช่นสุนัข แมว หนู และสัตว์เลือดอุ่นสามารถกระตุ้นให้กิดโรคหอบหืด วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือไม่นำสัตว์เลี้ยงมาเลี้ยงในบ้าน และทำความสะอาดบ้านทั้งพรมและผ้าม่าน
แต่บางท่านไม่นำสัตว์เลี้ยงไว้ห้องนอน หรือนำเลี้ยงในห้องที่มีพรมสำหรับบางท่านก็ทำให้หอบหืดดีขึ้น
ข้อแนะนำ
พบไรฝุ่นมากในที่มีความชื้นสูง พบร่วมกับฝุ่นที่มาจากเสื่อ หมอน พรม ผ้าคลุมเตียง เสื้อผ้า ตุ๊กตาควรจัดห้องให้ปลอดฝุ่นวิธีป้องกันไรฝุ่นทำได้ดังนี้
เป็นสาเหตุที่ทำให้หอบหืดเป็นมากขึ้น น้ำลาย ปัสสาวะ อุจาระ ผิวหนังของแมลงสาบเป็นสารภูมิแพ้สำหรับบางคน ควรกำจัดแมลงสาบให้หมดจากบ้าน ไม่ควรเหลือเศษอาหารให้แมลงสาบ อาหารควรเก็บไวในถุงที่ปิดสนิท ควรใช้กับดักหรือกรงมากกว่าสารเคมีเพราะอาจเกิดการแพ้ได้ จัดการรูรั่วของประปา
ผู้ป่วยที่แพ้อาหารนอกจากทำให้เกิดผื่น ปวดท้อง ท้องเสียยังทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก วิธีป้องกันคือ จำให้ได้ว่าแพ้อาหารอะไรแล้วหลีกเลี่ยง ให้อ่านสลากเพื่อดูส่วนผสมว่ามีสิ่งที่แพ้หรือไม่
เชื้อรามีมากในที่ชื้น และอากาศถ่ายเทไม่ดี เช่นห้องน้ำ ห้องเก็บของ ควรแก้ไขท่อน้ำที่รั่ว ทำความสะอาดบริเวนที่มีเชื้อรา ลดความชื้นในห้องนอนให้น้อยกว่า50%
สารเคมีที่ใช้ในบ้านอาจจะกระตุ้นให้อาการหอบหืดเป็นมากขึ้น เช่น กลิ่นสี ยาฆ่าแมลง สเปรย์แต่งผม รวมทั้งควันบุหรี่ ควันจากเตาไฟ
ก๊าซไนตรัส ออกไซด์ Nitrogen dioxide (NO2) เป็นก๊ายที่ไม่มีกลิ่น ก๊ายนี้จะทำให้ระคายเคืองต่อตา เยื่อบุจมูก ทางเดินหายใจ และกระตุ้นทำให้เกิดโรคหอบหืด ก๊ายนี้มาจากเตาชนิดต่างๆเช่น เตาแก๊ส เต้าน้ำมันกาด เตาไม้หรือถ่าน ควันเสียรถยนต์ ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดจะทำให้กำเริบได้ และทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ
ข้อแนะนำ
ผู้ที่เปลี่ยนงานแล้วเกิดโรคหอบหืด หรือมีอาการหอบเมื่อเข้าที่ทำงาน แสดงว่าท่านอาจจะแพ้สารเคมีในโรงงาน ผู้ที่ทำงานในโรงงานเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืด
มลภาวะนอกบ้านมักจะเกิดจากฝุ่นขนาดเล็กในอากาศที่เกิดจากรถ อุตสาหกรรม ควัน เกสรดอกไม้ เมื่อสูดดมหายใจเข้าไปก็จะกระตุ้นทำให้หอบหืดกำเริบ
ข้อแนะนำ
สารภูมิแพ้นอกอาคาร Outdoor Allergen
เมื่ออยู่นอกบ้านคุณไม่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ คุณไม่สามารถทำความสะอาดสนามหญ้า หรือใช้เครื่องกรองอากาศ แต่สิ่งที่คุณสามารถทำได้ก็คือการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสภาวะบางอย่าง สิ่งแวดล้อมนอกบ้านที่เป็นปัญหาได้แก่เกสรดอกไม้ หญ้า ต้นไม้ สปอร์ของรา
เชื้อรา Moulds
เชื้อราสามารถให้หอบหืด โดยเฉพาะสปอร์ของเชื้อราสามารถลอยไปในอากาศ เมื่อคนที่เป็นโรคหอบหืดสูดดมเข้าไปจะเกิดอาการ จาม คัดจมูก แน่นหน้าอก ไอ จนกระทั่งหอบหืด หากท่านแพ้เชื้อราควรจะปฏิบัติดังนี้
เกสรดอกไม้
เกสรดอกไม้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้บ่อย เกสรอาจจะมาจากดอกไม้ หญ้า เมื่อดูดเข้าไปก็จะเกิดอาการหอบหืดวิธีป้องกัน
อากาศเย็น
ผู้ที่แพ้อากาศเย็น หรือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอาจจะเกิดอาการหอบได้ วิธีป้องกันทำได้โดย
ควรหลีกเลี่ยงบุหรี่ ควันไฟ กลิ่นสี กลิ่นน้ำหอม กลิ่นสารเคมี เตาแก๊ส
ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงเบียร์ ของดอง ผลไม้แห้งเพราะอาจทำให้เกิดหอบหืดได้
Infections
ผู้ป่วยหอบหืดควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปีเนื่องจากไข้หวัดใหญ่ทำให้หอบหือเป็นมากขึ้น
ยา
เช่นยา NSAID เช่น aspirin brufen diclofenac ยากลุ่มbetablockเช่น propanolol atenolol metoprolol
Rhinitis/Sinusitis
ผู้ป่วยที่มีไซนัสอักเสบหรือเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ควรได้รับการรักษาด้วยยา Antihistamine/decongestant หรือยาพ่นsteroid ทางจมูก
Gastresophageal Reflux
ผู้ป่วยหอบหืดที่หอบเวลากลางคืนโดยเฉพาะมีอาการแน่นหน้าอกหรือ เรอบ่อยควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาภาวะกรดมากวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้นได้แก่ งดอาหารและน้ำก่อนนอน3ชั่วโมง ยกหัวเตียง6-8นิ้ว
ภาวะทีกระตุ้นให้หอบ | |
สารภูมิแพ้ | สารระคายเคือง |
เครื่องมือที่ช่วยใช้ในโรคหอบหืด
ต้องรู้เกี่ยวกับโรคหอบหืด | ต้องรู้จักวิธีพ่นยา | ต้องรู้จักชนิดของยาที่รักษา | ต้องมีแผนการรักษาด้วยตัวเอง | ต้องมีแผนฉุกเฉินในการรักเวลาหอบมาก | ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่แพ้ | ต้องรู้จักประเมินอาการของโรค | ต้องมีแผนเรื้อรัง