การตั้งครรภ์เดือนที่ 8 อาการที่ต้องรีบไปพบแพทย์ 8 อาการ
การตั้งครรภ์เดือนที่8 จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่ อาหารที่คุณแม่ต้องรับประทาน อาหารที่ต้องหลีกเลี่ยง อาการที่ต้องรีบไปพบแพทย์ 8 อาการ อาการเตือนการคลอดก่อนกำหนด สิ่งที่ต้องระวัง
เนื้อหาในหน้านี้
- การพัฒนาการของทารก
- การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่
- อาหารที่คุณแม่ต้องรับประทาน
- อาหารที่ต้องหลีกเลี่ยง
- อาการที่ต้องรีบไปพบแพทย์ 8 อาการ
- อาการเตือนการคลอดก่อนกำหนด
- สิ่งที่ต้องระวังระหว่างตั้งครรภ์8เดือน
การตั้งครรภ์เดือนที่ 8 ร่างกายของทารกยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกระดูก ผิวหนัง สมอง ตับ ไต หัวใจ และปอด เด็กยังคงเจริญเติบโต อย่างรวดเร็ว กระดูกแข็งแรงขึ้น ผิวจะเจริญเหมือนคนปกติ สมองพัฒนาเต็มที่ เส้นประสาททำงานได้เต็มที่ ตุ่มรับรสเริ่มทำงาน เด็กจะรับแสง เสียง และความเจ็บปวด ถ้าเป็นเด็กชายอัณฑะจะ เคลื่อนจากช่องท้องลงถุงอัณฑะ เด็กช่วงนี้จะยาว 35 เซ็นติเมตร หนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในช่วงเดือนนี้ คือ ทารกจะกลับหัว ซึ่งเป็นสัญญาณสำคัญว่าทารกกำลังพร้อมที่จะออกมาดูโลกแล้ว
สิ่งที่สำคัญ คือ คุณแม่ควรเข้ารับการตรวจครรภ์จากแพทย์ตามนัด เพื่อติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้ตั้งครรภ์เดือนที่ 8
ในช่วงนี้คุณแม่อาจยังต้องเผชิญกับอาการคนท้องเหมือนในช่วงเดือนก่อนหรืออาจพบอาการบางอย่างเพิ่มมากขึ้น
เช่น อาการปวดหัว รู้สึกร้อนตามร่างกาย อ่อนเพลีย ท้องผูก กรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอก ปวดสะโพก ปัสสาวะบ่อย ปัญหาด้านการนอนหลับ และอาการเจ็บครรภ์เตือน ในช่วงท้ายของเดือนอาจเริ่มพบว่ามูกใสบริเวณช่องคลอดมีปริมาณมากขึ้น ร่วมกับอาการเท้าและข้อเท้าบวม ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป
ใกล้คลอดแล้ว ขนาดมดลูกก็มีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้เกิดอาการต่างๆในช่วงการตั้งครรภ์ 8 เดือน
- หายใจลำบาก เนื่องจากขนาดมดลูกที่ใหญ่จะดันกำบังลมทำให้หายใจลึกๆลำบาก แก้ไขโดยการนอนหัวสูง
- ริดสีดวงทวาร เนื่องจากมีปริมาณเลือดมากทำให้หลอดเลือดที่ทวารโป่งพอง นอกจากนั้นขนาดมดลูกที่ใหญ่ก็กดหลอดเลือดทำให้เลือดไหวเวียนกลับน้อยลงเกิดริดสีดวงทวาร การแก้ไขให้รับประทานอาหารที่มีใยอาหารมากเช่นผัก ดื่มน้ำให้พอ ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ประคบน้ำอุ่น
- เส้นเลือดขอดที่เท้าซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการปวดน่อง วิธีแก้ไข ให้นอนยกเท้าสูง ไม่นั่งไขว่ห้าง หรือใส่ซับพอต
ในภาพรวมของช่วงท้อง 8 เดือน น้ำหนักตัวคุณแม่จะมากขึ้นก่อนการตั้งครรภ์ราว 10‒15 กิโลกรัมตามสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้น และช่วงเดือนนี้เองจะเป็นช่วงที่ท้องของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ที่สุดในการตั้งครรภ์ เพราะปริมาณน้ำคร่ำที่สูงขึ้น
แต่หลังสัปดาห์ที่ 34 คุณแม่อาจสังเกตเห็นว่าท้องอาจดูคล้อยลง ซึ่งเป็นสัญญาณว่าทารกเริ่มเคลื่อนตัวเข้ามาในช่องเชิงกราน คุณแม่อาจหายใจได้สะดวกขึ้นเนื่องจากทารกเคลื่อนตัวเข้าช่องเชิงกราน
การตรวจครรภ์ในเดือนที่ 8 แพทย์จะตรวจสุขภาพของทั้งทารกและคุณแม่ สำหรับทารก แพทย์จะประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ด้วยเครื่องอัลตราซาวด์และขั้นตอนอื่น ๆ เพื่อตรวจการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อ อัตราการเต้นของหัวใจ และพัฒนาการอื่น ๆ
สำหรับคุณแม่ แพทย์จะตรวจสุขภาพทั่วไปและจะตรวจหาเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสกรุ๊ปบี (Group B Strep) ซึ่งเป็นภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจแพร่ไปสู่ทารกเมื่อคลอดออกมาได้
ท้อง 8 เดือน คุณแม่ควรดูแลตนเองอย่างไรบ้าง?
เชื่อว่าในช่วงเดือนที่ผ่านมาคุณแม่ดูแลตนเองและลูกน้อยครรภ์มาเป็นอย่างดี สำหรับการตั้งครรภ์ในเดือนที่ 8 อาจมีวิธีการดูแลตนเองบางอย่างที่คุณแม่ควรโฟกัสมากขึ้น เช่น
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 8 เดือนจะต้องรับประทานอาหารที่มีสารอาหารดังต่อไปนี้
- แคลเซี่ยม เพื่อให้กระดูกเด็กแข็งแรงโดยแนะนำให้รับประทานแคลเซี่ยมวันละ 1000 มิลิกรัมต่อวัน โดยเพื่มอาหารผักใบเขียว ขนมปัง นมสด
- รับประทานกรดโฟลิกวันละ 600 mcg เพื่อป้องกันพิการทางสมอง อาหารที่มีกรดโฟลิกมากได้แก่ ผักใบเขียว ถั่ว ผลไม้รสเปรี้ยว
- ฐาตุเหล็กเพื่อให้เด็กไปสร้างเม็ดเลือดแดงแนะนำให้รับประทานวันละ 27 มิลิกรัมต่อวัน อาหารที่มีฐาตุเหล็กมากได้แก่ ธัญพืช ผักใบเขียวผลไม้ ถั่วปลาซาร์ดีน เนื้อแดง
- ส้ม ผักสีเหลืองเช่น แครอท ผักใบเขียว ตับ นม เพื่อให้วิตามินเอ ปกติทารกต้องการวันละ 770mcg
- ปลาแซลม่อน และนม เพื่อวิตามินดี เพื่อความแข็งแรงของกระดูกทารกจะต้องการแคลเซี่ยมวันละ 600IU
- โปรตีน เพื่อสร้างกล้ามเนื้อ และสมองโดยให้รับประทานเนื้อแดง ไก่ เป็ด นม อาหารทะเล ถั่ว นม
- วิตามินซี เพื่อฟัน เหงือกที่แข็งแรงซึ่งพบในอาหารผลไม้หวาน มะเขือเทศ ผัก
- อาหารที่ไม่ได้ปรุงสุก เช่นปลาดิบ ลาบ น้ำตก เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย
- ไม่ควรดื่มกาแฟเกินวันละ 200-300 mgต่อวัน
- หลีกเลี่ยงปลาที่มีสารตะกั่วได้แก่ swordfish, tilefish, mackerel,และฉลาม
- หลีกเลี่ยงนมและชีสที่ไม่ผ่านขบวนการ pasteurized
- หลีกเลี่ยงอาหารทอดหรือรสจัดเพราะจะทำให้จุกเสียดท้อง
- เลือดออกทางช่องคลอด
- ปวดท้อง
- มีไข้สูง
- ปัสสาวะสีเข้ม ปวดแสบเวลาปัสสาวะ
- อาเจียนมากหรือต่อเนื่อง
- เวียนศีรษะ
- เลือดกำเดาไหลไม่หยุด
- ปวดศีรษะรุนแรง
- ปวดน่องไม่หาย
- มีการบีบตัวของมดลูกมากกว่า 5ครั้งต่อชั่งโมง หรือบีบตัวทุก10นาที
- มีอาการปวดท้องเหมือนปวดประจำเดือน
- มีเลือดออกทางช่องคลอด
- มีปริมาณตกขาวมากขึ้น
- มีน้ำออกทางช่องคลอด
- ปวดท้องดดยที่ไม่มีท้องร่วง
- ปวดท้องน้อย
หากมีอาการดังกล่าวให้ปรึกษาแพทย์ อาการเตือนคลอดก่อนกำหนด
- อย่ายืนเป็นเวลานาน
- บันทึกการดิ้นของทารก หากไม่รู้สึกว่าทารกดิ้นให้ลองทดลองรับประทานของหวาน ของหวานจะกระตุ้นให้เด็กดิ้น
- หยุดบุหรี่ และสุรา
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- รักษาความสะอาดของช่องปาก
- รับประทานอาหารมื้อเล็ก
- ไม่ควรยกของหนัก
- ให้เดินออกกำลังกาย และบริหารช่องเชิงกราน
- ไม่ซื้อยารับประทานเอง
- เลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบาย เลือกรองเท้าส้นเตี้ยและใส่สบาย
- ไม่เลี้ยงแมวเพราะจะทำให้เกิดโรค toxoplasmosis
- หลีกเลี่ยงสารเคมี
การตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 29 30 31 32