หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
การเจริญเติบโตและการพัฒนาของทารกเดือนที่ 7ทารกจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกจะยาวประมาณ15 นิ้ว น้ำหนักประมาณ1.5กิโลกรัม ระบบประสาทเริ่มทำงานในเด็กหญิงจะเริ่มสร้างไข่ในรังไข
ระยะนี้เด็กจะดูเหมือนคนตัวเล็ก แต่ปอดยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ดังนั้นเด็กจำเป็นต้องอยู่ในมดลูก เด็กในระยะนี้จะมีความยาว
เด็กจะมีการขยับตัวมากขึ้นทำให้คุณแม่รู้สึกว่ามีการดิ้น หากเด็กมีการดิ้นน้อยลงต้องรีบปรึกษาสูติแพทย์ ทารกจะลืมตาและหลับตาได้ทารกระยะนี้จะกลืนน้ำคร่ำ ลิ้นเด็กจะรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของน้ำคร่ำซึ่งเปลี่ยนแปลงตามอาหารที่คุณแม่รับประทาน
ทารกจะเริ่มเปลี่ยนตำแหน่งเป็นศีรษะลงช่องเชิงกราน
ท้องมีขนาดโตขึ้น จะรู้สึกเด็กดิ้นมากขึ้น เท้าอาจจะบวม มีอาการปวดหลัง จุกแน่นท้อง เวียนศีรษะ ปวดบริเวณหัวเหน่าเนื่องจากเด็กเคลื่อนตัวลงช่องเชิงกราน คุณแม่อาจจะมีอาการคัดจมูก และเลือดออกตามไรฟัน และมีฝ้าขึ้นบนใบหน้า เมื่อไปตรวจตามนัดแพทย์จะตรวจยอดมดลูกโดยวันจากกระดูกหัวเหน่าจนถึงยอดมดลูกซึางจะมีความยาวเท่ากับอายุครรภ์ ระยะนี้จะวัดได้ 28 ซม. เนื่องจากขนาดมดลูกที่มีขนาดใหญ่อาจจะทำให้นอนลำบาก ในระยะนี้ให้นอนตะแคงและมีหมอนอยู่ระหว่างขา
การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ที่ท้อง 7 เดือน
คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 7 เดือนอาจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายด้านต่าง ๆ เช่น มีปัญหาในการนอน ปัสสาวะบ่อยขึ้น เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม มีอาการปวดแบบไซติก้า (Sciatica) ซึ่งมักปวดตามเส้นประสาทบริเวณส่วนเอวไปถึงขา รู้สึกแสบร้อนกลางทรวงอก อาหารไม่ย่อย วิงเวียนศีรษะ รวมทั้งมีความรู้สึกแปลกไปจากเดิม เนื่องจากน้ำหนักตัวของทารกในครรภ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นต้น โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ไปจนกระทั่งช่วงที่ใกล้คลอด
นอกจากนี้ คุณแม่อาจมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกับทารกในครรภ์ ซึ่งอาจเพิ่มจากช่วงก่อนตั้งครรภ์กว่า 10-17 กิโลกรัม โดยเฉพาะหากตั้งครรภ์ลูกแฝด ท้องของคุณแม่จะใหญ่ขึ้นประมาณ 3.5-4 นิ้ว และแม่จะรู้สึกได้ว่าลูกขยับตัวอย่างชัดเจน เนื่องจากขนาดตัวทารกใหญ่ขึ้นและมีพื้นที่ในครรภ์น้อยลง จึงเหมือนว่าทารกดิ้นแรงและถี่ขึ้น
ในระหว่างนี้ คุณแม่อาจเฝ้าดูพัฒนาการลูกน้อยได้คร่าว ๆ จากการเคลื่อนไหวของเด็ก ทารกในครรภ์ที่มีอายุ 7 เดือนมักจะขยับตัวประมาณ 10 ครั้ง ภายใน 2 ชั่วโมง หากสัมผัสได้ถึงการขยับตัวที่ผิดปกติของทารกจนทำให้เกิดความกังวลใจ คุณแม่อาจลองดื่มน้ำเย็น เปิดเพลงฟัง หรือผ่อนคลายอารมณ์ด้วยการนวด ซึ่งอาจช่วยกระตุ้นให้ทารกเคลื่อนไหวได้ดี
คุณแม่ท้อง 7 เดือนกับเรื่องที่ควรเตรียมพร้อม
เมื่อใกล้ถึงเวลาที่ลูกน้อยจะได้ลืมตาออกมาดูโลก คุณแม่ยิ่งต้องดูแลสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์อย่างเหมาะสม การเตรียมความพร้อมสำหรับทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจะช่วยคลายความกังวลในกรณีที่บางอย่างไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ ซึ่งเรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรนึกถึง มีดังนี้
สัญญาณสำคัญที่ควรไปพบแพทย์
เมื่อเข้าสู่ช่วงการตั้งครรภ์ในเดือนที่ 7 มีโอกาสที่ลูกจะคลอดก่อนกำหนดได้ โดยอาจมีอาการที่เป็นสัญญาณบ่งบอก เช่น ปวดหน่วง ๆ บริเวณหลังหรือหลังด้านล่าง มีเลือดออกจากช่องคลอด น้ำเดิน ปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานหรืออวัยวะเพศ เป็นต้น หากคุณแม่รู้สึกเจ็บท้อง มีอาการในลักษณะดังกล่าว หรือไม่แน่ใจในอาการที่เกิดขึ้น ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที และควรจดจำรายละเอียดเกี่ยวกับอาการเจ็บท้องเพื่อแจ้งกับแพทย์ เช่น ระยะเวลาในการเจ็บท้องแต่ละครั้ง ความถี่ในการเจ็บท้อง เป็นต้น
โดยอาการสำคัญที่คุณแม่ควรไปพบแพทย์ทันที ได้แก่
นอกจากนี้ แม้พบอาการเล็กน้อยอื่น ๆ ในช่วงที่ท้อง 7 เดือน คุณแม่ก็ไม่ควรละเลยสัญญาณเหล่านั้น เพื่อความปลอดภัยของตนเองและทารก และควรปรึกษาแพทย์หากมีข้อสงสัยหรือพบอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส อาเจียนรุนแรงหรืออาเจียนอย่างต่อเนื่อง ท้องเสียรุนแรง เป็นลมบ่อย ๆ รู้สึกปวดแสบปวดร้อนเมื่อถ่ายปัสสาวะ ตกขาวผิดปกติ มีเลือดออกจากช่องคลอดเรื่อย ๆ ใบหน้าและมือบวม สายตาพร่ามัวหรือมองเห็นเป็นจุด ๆ บ่อย ๆ หัวนมแตกหรือมีเลือดออก ปวดศีรษะรุนแรง ปวดหรือเป็นตะคริวตามแขนขาและหน้าอกบ่อย ๆ เป็นต้น
การตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 25 26 27 28
การตั้งครรภ์เดือนที่6 | การตั้งครรภ์เดือนที่8 |