การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26
การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่
- ยอดมดลูกจะอยู่เหนือระดับสะดือ2นิ้วครึ่งและเพิ่มขึ้นทุกครึ่งนิ้วต่อสัปดาห์
- ในระยะนี้คุณแม่ควรจะได้เรียนรู้การเตรียมตัวเป็นคุณแม่ การคลอด การเตรียมห้องสำหรับลูก การดูแลทารก
- คุณแม่ต้องติดตามอาการของภาวะครรภ์เป็นพิษ
- คุณอาจจะมีอาการปวดเอวทั้งสองข้างเนื่องจากฮอร์โมนทำให้กล้ามเนื้อ ข้อต่อ เอ็นยึดมดลูกมีการขยายเพื่อเตียมตัวคลอด และจากมดลูกและน้ำหนักที่เพิ่มทำให้กล้ามเนื้อต้องทำงานเพิ่มขึ้น ดังนั้นการนั่งการเดิน การยกของหนักจะต้องทำให้ถูกสุขลักษณะ
- คุณแม่ยังคงมีอาการตกขาวแต่ไม่มีกลิ่น หากตกขาวเป็นสีขาวข้น หรือสีเหลืองให้ปรึกษาแพทย์
- อาจจะมีอาการปัสสาวะเร็ดเมื่อเวลาไอหรือจาม
- การออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลดีในระหว่างการคลอด และช่วยให้คุณแม่กลับมามีรูปร่างดังเดิมหลังคลอดลูกได้อีกด้วย การเลือกวิธีออกกำลังจะต้องคำนึงถึงน้ำหนัก รูปร่างและอายุครรภ์ แต่ขอให้จำไว้เสมอว่า อย่าหักโหมออกกำลังกาย และให้ออกกำลังกายเบาลงเมื่อครรภ์มีขนาดใหญ่ขึ้น การออกกำลังกาย
- ผิวหน้าท้อง ต้นขา และสะโพกคุณแม่บางท่านอาจจะแตกลายและมีสีคลำแต่สีจะจางหลังจากคลอด
- คุณแม่อาจจะขี้ร้อนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน คุณแม่ต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ
การพัฒนาของทารก
- ทารกมีลำตัวยาวประมาณ 36 ซม. และหนักประมาณ 650 กรัม ซึ่งโตพอที่จะทำให้คุณแม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยได้ทุกวัน
- คิ้วและขนตาของลูกน้อยเริ่มก่อรูปร่าง
- จอประสาทตาของทารกจะมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ จะเริ่มกระพริบตาในช่วงสัปดาห์ที่ 28
- สมองของทารกจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทารกจะสามารถจดจำเสียงของคุณพ่อ เสียงของคุณแม่ และเสียงเพลง ระยะนี้ทั้งคุณพ่อ และคุณแม่ควรจะพูดคุยกับทารก
- ทารกจะตอบสนองต่อแสงหรือเสียงดังโดยการเตะหรือเคลื่อนไหวร่างกายซึ่งคุณแม่สามารถรู้สึกได้
- ผมบนศีรษะจะเริ่มยาวและหนาขึ้น
- ลายนิ้วมือและนิ้วเท้าจะเริ่มปรากฏ
- ทารกจะหายใจเข้าออกระหว่างทที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำ การฝึกนี้จะช่วยเตรียมพร้อมสำหรับการหายใจทางปอดของทารกเมื่อเด็กคลอด
- ไขมันที่สำคัญจะถูกสะสมไว้ใต้ผิวหนัง
- ลูกน้อยของ
- ลูกตื่นและนอนเป็นเวลาแล้ว
- เริ่มสร้างไขมันใต้ผิวหนังที่จะช่วยรักษาระดับอุณหภูมิในร่างกายลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์และหลังคลอด
- หากลูกของคุณคลอดก่อนกำหนด ในระยะนี้ปอดก็พร้อมที่จะทำงานแล้ว แต่ยังคงจะต้องมีการพัฒนาอีกมาก
- และอัตราการเต้นของหัวใจจะมีอัตราเฉลี่ยประมาณ 150 ครั้งต่อนาที
อาการของคุณแม่
แน่นท้องท้องอืดเรอ
มดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะกดกระเพาะและลำไส้ทำให้มีอาการท้องอืด เรอเปรี้ยว การแก้ไขทำได้โดยการรับประทานอาหารมื้อละน้อยๆ แต่รับประทานบ่อย รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย
ตกขาว
ในระหว่างการตั้งครรภ์จะมีอาการตกขาวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ตกขาวจะใสไม่มีกลิ่น ไม่ควรจะใช้น้ำยาพิเศษล้างบริเวณดังกล่าวเนื่องจากจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง การแก้ไขโดยการอาบน้ำให้บ่อย ใส่ผ้าอนามัย
ปวดศีรษะ
สำหรับท่านที่ปวดศีรษะไมเกรนอาการปวดศีรษะจะกำเริบ แต่การจะรับประทานยาแก้ไมเกรนจะต้องปรึกษาแพทย์ที่รักษาท่าน ให้คุณแม่เลือกทางรักษาอื่น เช่นการทำสมาธิ การฝังเข็ม การนวด
อุ่ยอ้าย
เนื่องจากขนาดของครรภ์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้แรงโน้มถ่วงเปลี่ยนไป และมีการมีการหย่อนของเอ็นและข้อต่อทำให้คุณแม่อุ้ยอ้าย และเสี่ยงต่อการหกล้ม โดยเฉพาะในห้องน้ำ และพื้นที่ลื่น
ปวดหัวเหน่า
เนื่องจากมีการขยายตัวของขนาดมดลูก และมีการหย่อนของข้อต่อและเอ็นหัวเหน่างเพื่อรองรับการขยายของขนาดมดลูกจึงทำให้เกิดอาการปวดหัวเหน่า ดังนั้นคุณแม่เวลาเคลื่อนไหวจะทำอย่างช้าๆ คุณแม่จะรู้สึกเมื่อยไปหมดทั้งตัวโดยเฉพาะ ช่วงค่ำๆ ของแต่ละวัน การเดิน ยืน หรือนั่งนานๆ เกินไป จะทำให้ยิ่งปวดหลังมากขึ้น การอาบน้ำ ด้วยน้ำอุ่นๆ หรือแช่ตัวในน้ำอุ่นๆ จะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายขึ้นค่ะ พยายามหาท่านั่งท่ายืนที่ช่วยให้ร่างกายสมดุล นั่งเก้าอี้ ให้ก้นชิดพนัก และหลังตรง เวลายืนก็เหมือนกัน พยายามยืนให้หลังตรง หากแอ่นหลังไปตาม น้ำหนักท้อง จะทำให้ปวดหลังมากขึ้นค่ะ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องก้มๆ เงยๆ หรือบิดตัวบ่อยๆ หาเวลาพักเบรคเปลี่ยนท่านั่งท่ายืนบ้าง เวลานอนก็ให้หาหมอนนุ่มๆ มารองไว้ที่หัวเข่ากับขาของ เราข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้ แล้วหาหมอนอีกใบมารองไว้ที่ท้องด้วยจะช่วยลดน้ำหนัก
การเปลี่ยนแปลงทางสายตา
คุณแม่อาจจะมีอาการระคายเคืองตาเนื่องจากฮอร์โมนจะทำให้น้ำตาลดลง แก้ไขโดยปรึกษาแพทย์ที่ดูแลท่านซึ่งอาจจะได้หยอดน้ำตาเทียม แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงของสายตามากต้องปรึกษาแพทย์เพราะอาจจะเกิดภาวะเบาหวานในขณะตั้งครรภ์
การเตรียมตัวสำหรับการฝากครรภ์
ปลาที่แนะนำให้รับประทาน
- ปลาดุก
- ปลา cod
- ปลาน้ำจืด
- salmon
หลีกเลี่ยงปลาที่มีสารปรอทมากเช่น
- shark
- swordfish
- king mackerel
- ปลาทูน่าสด
- ปลากระพงขาว
- tilefish
- หอยสด