หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
มลพิษทางอากาศที่มีอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุด คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) สำหรับประเทศไทยในปีพ.ศ. 2561 มีพื้นที่ 28 แห่งจาก 53 แห่ง (ใน 29 จังหวัด) ที่มีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินมาตรฐานในบรรยากาศของประเทศไทยซึ่งกำหนดไว้ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กและพื้นที่เมืองทั้ง 53 แห่ง และยังมีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินค่าตามคำแนะนำองค์การอนามัยโลกซึ่งกำหนดไว้ที่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร
คำว่า PM (พีเอ็ม) ย่อมาจาก Particulate Matters (พาร์ทิคิวเลทแมทเทอร์) เป็นคำเรียกค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีหน่วยวัดคือ ไมครอน หรือไมโครเมตร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ PM 10 และ PM 2.5
โดยฝุ่น PM 2.5 เป็นอนุภาคขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร แขวนลอยอยู่ในอากาศรวมกับไอน้ำ ควัน และก๊าซต่างๆ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เมื่อมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมหาศาลจะมองเห็นเป็นหมอกควันอย่างที่เราเห็นกันในทุกๆ เช้านั่นเอง
ฝุ่น PM 2.5 ถือเป็นมลพิษต่อสุขภาพของมนุษย์ตามที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญ และออกมาแจ้งเตือนให้ทราบ เพราะเป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมาก (เล็กกว่าเส้นผมถึง 20 เท่า) เมื่อหายใจเขาไปแล้ว สามารถเล็ดลอดผ่านขนจมูกเข้าสู่ปอดและหลอดเลือดได้ง่าย จนส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว
ในยุคปัจจุบันคงไม่มีใครไม่รู้จักฝุ่นขนาดจิ๋ว ที่เรียกว่า PM 2.5 (ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 μM) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมประมาณ 20 - 30 เท่า ฝุ่น PM2.5 นี้ไม่ใช่เป็นมลพิษทางอากาศชนิดเดียวที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่ยังมีก๊าซพิษอีกหลายอย่าง อาทิเช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2), โอโซน (O3), ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) รวมทั้งยังพบว่ามีโลหะหนักปนเปื้อนอยู่ในอากาศที่เราหายใจอีกด้วย
มากกว่า 90% ของประชากรทั่วโลกได้รับมลพิษทางอากาศเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งปัญหาของมลพิษทางอากาศนี้ไม่ได้มีเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น แต่ยังพบตามเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพกระจายเป็นวงกว้าง ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO พบว่า ในทุกปีมีประชากรถึง 7 ล้านคนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากการได้รับมลพิษทางอากาศ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปอด, โรคถุงลมโป่งพอง, โรคหัวใจ, และ โรคสมอง
สาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง หรือฝุ่น PM 2.5 เช่น
PM 2.5 สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอดและกระแสเลือดโดยตรง ส่งผล อันตรายต่อกระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง
จากการศึกษาโดย Institute for Health and Evaluation, University of Washington สนับสนุนโดย ธนาคารโลก พบว่า มลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆเนื่องจากมีส่วนประกอบของสาร เคมีหลายชนิดทั้งที่เป็นสารระคายเคืองไปจนถึงสารก่อมะเร็งจึงเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งปอด และโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่าง สำหรับก๊าซโอโซนเป็นสารระคายเคืองปอด ทำให้ปอดติดเชื้อง่าย จึงเป็นปัจจัยร่วมอันก่อให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ฝุ่น PM 2.5 ที่เล็ดรอดเข้าไปในร่างกายนั้น จะกระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ลดระบบแอนตี้ออกซิแดนท์ รบกวนสมดุลต่างๆ ของร่างกาย และกระตุ้นยีนที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งสารอักเสบ ซึ่งมีอันตรายต่อเนื้อเยื่อในร่างกาย และส่งผลกระทบต่างๆ ตามมา ดังนี้
จากข้อมูล State of Global Air ระบุว่า PM2.5 ก่อให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประเทศไทยประมาณ 37,500 ราย นี่คือวิกฤตด้านสาธารณสุขโดยที่เด็ก คนสูงวัยและกลุ่มประชากรเสี่ยงในสังคมได้รับผลกระทบมากที่สุด
หลังจากที่ฝุ่นจิ๋วเข้าไปยังสมองจะทำให้เกิดกระบวนการอักเสบในสมอง มีการหลั่งสารอักเสบชนิดต่าง ๆ ทำให้เซลล์สมองได้รับบาดเจ็บ เกิดภาวะสมองเสื่อมเร็วกว่าปกติ รวมทั้งยังพบว่าทำให้เกิดการก่อตัวของก้อนโปรตีนที่ผิดปกติในสมอง (β-amyloid, α-synuclein, tau protein) ที่มีลักษณะคล้ายกับคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์หรือโรคพาร์กินสัน รวมทั้งยังทำให้สมองส่วนเนื้อขาว (White Matter) มีการฝ่อเหี่ยวมากกว่าคนปกติอีกด้วย
ในเด็กมีหลายงานวิจัยที่ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของระดับ PM 2.5 ต่อความผิดปกติทางด้านพัฒนาการทางสติปัญญา อาทิเช่น
ในผู้ใหญ่พบว่า การได้รับฝุ่น PM 2.5 ทำให้เกิด
จากข้อมูลทางการแพทย์ข้างต้น จะพบว่าฝุ่น PM 2.5 รวมทั้งมลภาวะในอากาศชนิดอื่น ๆ มีผลกระทบต่อร่างกายในหลายระบบ การหลีกเลี่ยงเข้าไปในสถานที่ที่มีฝุ่นขนาดจิ๋วในปริมาณสูง การใช้เครื่องป้องกันอย่างเหมาะสม การรับประทานผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในจำนวนที่เพียงพอ
ปัจจุบัน ปัญหาฝุ่นละอองเป็นพิษ หรือที่เรียกกันว่า “ฝุ่น PM 2.5” ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลายเป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่หลีกเลี่ยงได้ยาก
แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่เข้าใจผิดว่า ท้องฟ้าสีหม่นที่เห็นในยามเช้าเกิดจากหมอกควัน ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว สิ่งนั้นคือการรวมตัวกันของมลพิษทางอากาศที่สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานต่างหาก และยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงที่รายล้อมไปด้วยตึกสูง มีลักษณะคล้ายแอ่งกระทะ ทำให้เกิดการสะสมของฝุ่น PM 2.5 ได้ง่าย ปกติแล้ว ฝุ่นเหล่านี้จะลอยขึ้นไปรวมตัวกันในอากาศเป็นจำนวนมากในช่วงกลางคืน ก่อนที่จะถูกลมพัดฟุ้งกระจายจางหายไปในยามเช้า
แต่หากวันไหน อากาศนิ่ง ไม่มีลมพัด ก็จะทำให้ฝุ่น PM 2.5 ไม่ฟุ้งกระจาย เกิดการสะสมของฝุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ จนระดับความเข้มของฝุ่นในพื้นที่นั้นๆ เข้าสู่ระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จนกลายเป็นปัญหาทางมลภาวะทางอากาศนั่นเอง
ขั้นตอนแรกในการป้องกันตัวเองจากระดับมลพิษฝุ่นละอองอันตรายนอกบ้านด้วยการรู้ว่าค่า PM 2.5 ในพื้นที่ที่คุณอยู่ หรือพื้นที่ที่คุณจะไปอยู่ในระดับอันตรายเกิดขึ้นเมื่อใดและที่ใด Air4Thai รวบรวมข้อมูลคุณภาพอากาศจากแหล่งต่างๆ ทั่วประเทศ คุณสามารถตรวจสอบสภาพคุณภาพอากาศในปัจจุบัน และที่คาดการณ์ไว้ในพื้นที่ของคุณได้ คุณภาพอากาศแบ่งออกเป็นหลายประเภท โดยพิจารณาจากจำนวนไมโครกรัมของสารก่อมลพิษประเภทหนึ่งๆ ต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์เมตร (ug/m3) สารก่อมลพิษแต่ละประเภทมี "จุดพัก" แยกเป็นของตนเอง หารด้วย ug/m3 โดย PM 2.5 และ PM 10 จะมีประเภทของตนเอง นี่คือหมวดหมู่สำหรับ PM 2.5
หากดัชนีคุณภาพอากาศในพื้นที่ของคุณแสดงระดับมลพิษที่สูงขึ้น ให้จำกัดเวลากลางแจ้งและลดระดับกิจกรรมกลางแจ้ง เนื่องจากระดับการออกแรงที่สูงขึ้นจะเพิ่มอัตราการหายใจ และการสัมผัสกับมลพิษ ระมัดระวังเป็นพิเศษหากคุณเป็นโรคหอบหืด หรือปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือโรคหัวใจและหลอดเลือด คุณยังสามารถตรวจสอบเพื่อดูว่าระดับมลพิษลดลงในบางช่วงเวลาของวันหรือไม่ และวางแผนกิจกรรมของคุณในช่วงเวลาดังกล่าว
การเผาไหม้ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลในยานยนต์ก่อให้เกิดสารมลพิษอนุภาคส่วนใหญ่ในอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมในเมือง เนื่องจากอยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดมลพิษ (รถยนต์) การสัมผัสกับอนุภาคภายนอกอาคารสูงสุดมักเกิดขึ้นเมื่อขับรถบนถนน วิธีการลดการสัมผัสฝุ่นพิษในยานพาหนะ:
เนื่องจากเป็นเรื่องยากมากที่จะหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกวันและการสัมผัสกับหมอกควัน การสวมหน้ากากป้องกัน PM2.5 จึงถือเป็นวิธีป้องกันที่สะดวกและมีประสิทธิภาพที่สุด หน้ากากต้องปิดจมูกและปากให้มิดชิด เลือกหน้ากากคุณภาพสูงที่สามารถกรอง PM2.5 ได้ เช่น ชนิด N95 ที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 0.3 ไมครอนได้มากถึง 95 เปอร์เซ็นต์ อย่าลืมเปลี่ยนหน้ากากทุกวันเพื่อสุขอนามัย
หากคุณมีอาการแพ้ โดยเฉพาะฝุ่น จมูกอักเสบ หอบหืด เยื่อบุตาอักเสบ โรคผิวหนัง หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด ให้แน่ใจว่าคุณมียาไว้ใกล้มือเมื่อสัมผัสกับ PM2.5 กลุ่มเปราะบาง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ปรึกษาแพทย์หากเกิดอาการกำเริบ
รักษาสุขภาพให้แข็งแรงเป็นสิ่งที่จำเป็น การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะๆ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอคือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรงและไม่เจ็บป่วยจากมลภาวะต่างๆ อย่างไรก็ตาม โปรดหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬากลางแจ้งจนกว่าคุณภาพอากาศจะดีขึ้น การนอนหลับสนิทยังช่วยซ่อมแซม และเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับวันพรุ่งนี้
ฝุ่นพิษสามารถเข้ามาในบ้านแม้ว่าคุณจะปิดประตูและหน้าต่าง การติดตั้งเครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรอง PM2.5 จะช่วยลดฝุ่นพิษภายในบ้าน ท่านจะต้องเลือกขนาดของเครื่องฟอกให้เหมาะกับขนาดของห้อง ที่สำคัญต้องเปลี่ยนแผ่นกรองตามการใช้งาน/ตามระยะเวลา
เลือกเครื่องฟอกอากาศให้เหมาะกับขนาดห้องของคุณ
เราสามารถแบ่งประเภทของเครื่องฟอกอากาศออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ โดยขนาดของเครื่องฟอกอากาศเองมีดังนี้
ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศบริเวณไหนดี?
การเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการวางเครื่องฟอกอากาศมีความสำคัญพอๆ กับการค้นหาสเปกที่เหมาะสม สถานที่ที่ดีที่สุดในการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศคือบริเวณที่คุณใช้เวลามากที่สุด เช่น ห้องนอนหรือสำนักงาน หากคุณเลือกเครื่องฟอกอากาศที่มีล้อเสริม คุณสามารถเคลื่อนย้ายเครื่องไปยังที่ใดก็ได้ที่คุณต้องการ และตั้งเครื่องให้ห่างจากกำแพงประมาณ 2 ฟุต
เป็นหน้ากากอนามัยที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มีมาตรฐาน และได้รับการยอมรับว่า สามารถป้องกันเชื้อโรคได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง หรือเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอน เหมาะสำหรับการสวมใส่เพื่อป้องกันมลพิษ ฝุ่น PM 2.5 ควันพิษ ไอเสียรถยนต์ และไอระเหยของสารเคมีต่างๆ
หรือที่เรียกกันว่า “หน้ากากอนามัยทางการแพทย์” เป็นหน้ากากอนามัยที่คนส่วนมากคุ้นเคยกันดี เพราะหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง เน้นในด้านการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากการไอ หรือจาม จากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา
อย่างไรก็ตาม หากเป็นเชื้อไวรัสหรือฝุ่นละอองที่มีอนุภาคเล็กระดับไมครอน อาจไม่สามารถป้องกันได้ จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้เพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5
หน้ากากอนามัยชนิดนี้มีระดับความป้องกันไม่แตกต่างจากหน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ เน้นการป้องกันการกระจายของน้ำมูก หรือน้ำลาย จากการไอ หรือจาม สามารถป้องกันฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่กว่า 3 ไมครอนขึ้นไป จึงไม่เหมาะสำหรับใช้เพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5
หน้ากากอนามัยแบบผ้าฝ้ายมีข้อดีคือ ประหยัดกว่าการใช้หน้ากากอนามัยแบบอื่น เพราะสามารถนำไปซักกับน้ำยาฆ่าเชื้อโรคแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ฝุ่น PM 2.5 เป็นมลพิษต่ออากาศและร่างกาย ควรป้องกันตนเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ หรือที่เรียกว่า “หน้ากากอนามัย N95” ก่อนออกจากอาคารทุกครั้ง
แต่หากไม่มีหน้ากากอนามัย N95 สามารถใช้หน้ากากอนามัยประเภทอื่นทดแทนไปก่อนได้ อย่างไรก็ตาม หน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ 3 ชั้น หรือแบบผ้าฝ้าย สามารถช่วยป้องกันได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น และควรใส่ให้ถูกวิธีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน
วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 คือการแก้ไขที่ต้นเหตุ ดังนั้น เราควรร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขปัญหาด้วยการลดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM 2.5 เช่น ไม่เผาไหม้ขยะ หรือหันไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะกันมากขึ้น เพื่อควบคุมฝุ่น PM 2.5 ไม่ให้เกินมาตรฐานนั่นเอง
ทบทวนวันที่ 2/22566
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว