หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
การออกกำลังแบบยืดกล้ามเนื้อ Streching หรือการบริหารแบบflexibility
กล้ามเนื้อ ข้อและเอ็นหากไม่ได้ใช้นานๆ จะเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อและเอ็นทำให้ขยับได้ลำบาก การยืดกล้ามเนื้อจะทำให้การขยับกล้ามเนื้อและเอ็นได้ง่ายขึ้น การบริหารชนิดนี้สามารถทำได้ทุกเวลาโดยเฉพาะก่อนการออกกำลังชนิด aerobic ข้อสำคัญในการยืดกล้ามเนื้อคือ
การยืดกล้ามเนื้อคอ |
|
จะยืนหรือนั่งก็ได้ หากมีอาการเวียนหัวควรจะทำในท่านั่ง
เอียงศีรษะด้านขวาให้หูใกล้หัวไหล่ขวา หมุนศีรษะมาทางด้านหน้า ก้มหน้าให้คางชิดอก ค่อยหมุนจนหูซ้ายอยู่ชิดไหล่ซ้าย และหมุนไปด้านหลัง จนหน้าแหนงศีรษะไปทางด้านหลัง |
การยืดกล้ามเนื้อแขนและมือ | |
นั่งหรือยืนก็ได้ ยื่นแขนไปข้างหน้า ระดับเสมอไหล่ เหยียดนิ้วทั้งห้า แล้วกำมือ ทำสลับกัน หมุนข้อมือตามเข็มนาฬิกา หมุนข้อมือทวนเข็มนาฬิกา |
ไหล่ |
|
ท่ายืนหรือนั่ง
ยกไหล่ทั้งสองข้างให้ชิดหู แล้วยกลง ทำซ้ำ หมุนไหล่ขวาเป็นรูปวงกลม แล้วหมุนไหล่ซ้ายเป็นรูปวงกลม |
หน้าอกและกล้ามเนื้อหลัง |
|
ท่ายืนหรือนั่ง
มือจับไหล่ แขนกางออก หมุนข้อศอกเป็นวงกลม หลังจากนั้นนำข้อศอกมาชิดกัน |
ยืดกล้ามเนื้อด้านข้าง |
|
ท่ายืนหรือนั่ง
ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ โยกตัวไปทางซ้าย โยกตัวไปทางขวา จนกล้ามเนื้อตึง ยกแขนลง |
ต้นขา |
|
นั่งหลังตรง
ใช้มือสองข้างดึงเข่าเข้าหาลำตัว พร้อมกับโน้มตัวมาชิดเข่า คางชิดอกให้หน้าผากติดเข่า ค้างท่านี้ไว้ ยกเท้าลงพร้อมกับนั่งหลังตรง |
ต้นขา |
|
นั่งบนเก้าอี้ เท้าวางบนพื้น
มือจับเก้าอี้เพื่อทรงตัว ยกเท้าขึ้นจนเข่าตึง กระโดกข้อเท้าขึ้น และเหยียดข้อเท้า ทำซ้ำหลายครั้ง หมุนข้อเท้าเป็นรูปวงกลม ทำสลับเท้า |
กล้ามเนื้อน่อง |
|
ยืนใช้มือจับพนักเก้าอี้
ก้าวเท้าซ้ายมาข้างหน้า ส้นเท้าขวาติดพื้น โยกตัวมาทางหน้า จนกล้ามเนื้อน่องเริ่มรู้สึกตึง ย่อตัวลงจะรู้สึกตึงกล้ามเนื้อของเท้าหน้า ทำซ้ำ |
การบริหารนี้จะเป็นการบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถทำได้โดยการยกน้ำหนัก ใช้ยางยืด หรือใช้น้ำหนักของตัวเอง หลักการง่ายที่จะนำท่านไปสู่ความสำเร็จ
1.กล้ามเนื้อแขนด้านหน้า | |
ยืนหรือนั่งบนเก้าอี้ แขนแนบลำตัว ข้อศอกชิดลำตัว ผ่ามือหงาย ในเริ่มแรกให้ยกมือจนฝ่ามือแตะหัวไหล่ โดยที่ยังไม่ต้องยกน้ำหนัก เมื่อแข็งแรงจึงใส่น้ำหนัก ยกที่ละข้างสลับกัน |
2.กล้ามเนื้อแขนด้านหลัง | |
จะนั่งหรือยืนก็ได้
งอข้อศอกไปด้านหลัง ข้อศอกแนบหู เหยียดแขนให้มืออยู่เหนือศีรษะ เหมือนเราจะขว้างลูกบอล ทำสลับข้าง หากแข็งแรงอาจจะใช้ยางยืดเพื่อเพิ่มกำลัง |
3.กล้ามเนื้อต้นขา |
|
นั่งบนเก้าอี้ เท้าวางไว้บนพื้น
มือจับขอบเก้าอี้ เหยียดขาข้างหนึ่งแล้วเกร็งไว้ หากแข็งแรงอาจจะเพิ่มน้ำหนักที่ข้อเท้า ทำสลับข้าง |
4.กล้ามเนื้อต้นขา | |
นั่งพิงบนเก้าอี้
มือทั้งสองข้างจับที่พักแขน เขาเหยียดตรงและยกขาขึ้นจากเก้าอี้ นับหนึ่งถึง5แล้วนำเท้าลง ทำสลับข้าง
|
5.หน้าท้องและหน้าขา | |
นั่งพิงบนเก้าอี้
มือทั้งสองข้างจับที่พักแขน ยกขาขึ้น งอเข่าชิดหน้าอก แล้วเหยียดออก เหมือนขี่จักรยานทำสลับข้าง |
6.กล้ามเนื้อด้านหลังขา | |
ยืน มือจับพนักเก้าอี้
หลังตรง แกว่งเท้าไปทางข้างหลัง หากแข็งแรง อาจจะใช้น้ำหนักถ่วงข้อเท้า |
7.กล้ามเนื้อน่อง | |
ยืนหลังตรง มือจับพนักเก้าอี้
ยืนแขย่งเท้าขึ้นอย่างช้าๆ และหย่อนลงอย่างช้าๆ หากร่างกายแข็งแรงก็ไม่ต้องจับพนัก ให้เอามือจับที่เอว |
8.กล้ามเนื้อขาด้านข้าง | |
นอนตะแคง ศีรษะหนุนแขนข้างหนึ่ง แขนอีกข้างพยุงตัว
ยกขาข้างหนึ่งขึ้นอย่างช้าๆ และค้างไว้ และนำลงอย่างช้าๆ ทำสลับข้าง
|
9.กล้ามเนื้อหน้าท้อง | |
นอนหงาย ชั้นเข่าทั้งสองข้าง
มือกอดอก ยกศีรษะและไหล่ขึ้นจากพื้น และค้างไว้ นอนราบสู่ท่าปกติ |
10.กล้ามเนื้อหน้าอก | |
ยืนหันหน้าหากำแพง ห่างกำแพง 1-2 ฟุต
มือทั้งสองยันกำแพง โน้มตัวมาชิดกำแพง มือดันตัวออกจนแขนเหยียดตรง
|
11.กล้ามเนื้อต้นขา | |
ยืนจับราวสะพานหากแข็งแรงก็เท้าสะเอว
เก้าขึ้นบันไดด้วยเท้าข้างหนึ่ง เท้าอีกข้างเก้าตาม ลงบันไดด้วยเท้าแรก เท้าสองก้าวลงตามมา |
12.กล้ามเนื้อต้นขา | |
ยืนห่างเก้าอี้เล็กน้อย
มือทั้งสองข้างจับที่วางแขน หย่อนก้นเหมือนจะนั่งเก้าอี้ แต่ค้างไว้ คงท่านั้นไว้ นับ 5-10 แล้วจึงหย่อนก้นนั่ง |
การออกกำลังเสริมกำลังกล้ามเนื้อให้ทำตั้งแต่ท่า 1-9 ให้ทำเป็นประจำ วิธีการบริหารมีดังนี้
การเริ่มต้นใช้น้ำหนักให้ใช้น้ำหนักน้อยที่สุดก่อน อาจจะเริ่มครึ่งกิโลกรัม หรืออาจจะใช้เครื่องครัว เช่น ขวดน้ำมันพืช นม กระป๋องผลไม้ เป็นต้นดังตารางข้างล่างนี้
สัปดาห์ที่ | ท่าที่บริหาร | จำนวนครั้ง | จำนวนเซต | น้ำหนักที่ใช้ |
1 | #1-#9 | 10 | 1 | -- |
2 | #1-#9 | 12 | 1 | -- |
3 | #1-#9 | 15 | 1 | -- |
4 | #1-#9 | 15 | 1-2 | -- |
5 | #1-#9 | 15 | 2 | -- |
6 | #1-#9 | 15 | 2-3 | -- |
7 | #1-#9 | 15 | 3 | -- |
8 | #1-#14 | 10 | 3 | -- |
9 | #1-#14 | 12 | 3 | -- |
10 | #1-#14 | 15 | 3 | -- |
11 | #1-#14 | 10 | 3 | ครึ่ง กก. |
12 | #1-#14 | 12 | 3 | ครึ่ง กก. |
13 | #1-#14 | 15 | 3 | ครึ่ง กก. |
14 | #1-#14 | 10 | 3 | หนึ่ง กก. |
15 | #1-#14 | 12 | 3 | หนึ่ง กก. |
16 | #1-#14 | 15 | 3 | หนึ่ง กก. |
การออกกำลังสำหรับผู้ป่วยโรคไต ท่านในการออกกำลัง การออกกำลังเพื่อความแข็งแรงของหัวใจ
การออกกำลังกาย การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ การออกกำลังเพื่อให้หัวใจแข็งแรง การออกกำลังกับโรคไต การออกกำลังในน้ำ การออกกำลังในโรคเบาหวาน