ดื่มสุราช่วยลดอัตราการเสียชีวิต
เป็นการศึกษาที่ประเทศเดนมาร์ก โดยศึกษาผลของการออกกำลังกาย และการดื่มสุราต่อการเกิดโรคหัวใจและอัตราการเสียชีวิต โดยศึกษาประชากรที่มีอายุมากกว่า 20 ปีและไม่มีโรคหัวใจ
- ประชากรทั้งหมด 19329 คนเป็นชายและหญิง 5272,7742 คน
- แบ่งการออกกำลังกายออกเป็น 4ระดับ
- ระดับ1ออกกำลังน้อยกว่า2 ชมต่อสัปดาห์หรือไม่ออก
- ระดับที่2 ออกกำลังกายแบบเบาสัปดาห์ละ2-4 ชม
- ระดับ3 ออกกำลังกายแบบหนักสัปดาห์ละ 2-4 ชม
- ระดับ4 ออกกำลังกายแบบหนักมากกว่า 4 ชมต่อสัปดาห์
- การดื่มสุราแบ่งออกเป็น 3 ระดับ(1หน่วยสุราเท่ากับ เบียร์1กระป๋อง,หรือไวน์ 1 แก้ว,หรือวิสกี้1แก้ว
- ไม่ดื่มเลยคือน้อยกว่า 1หน่วยสุรา
- ดื่มปานกลางหมายถึงดื่ม 1-14หน่วยสุรา
- ดื่มมากหมายถึงมากกว่า 15 หน่วยสุรา
ผลการศึกษาพบว่า
- ร้อยละ16,17 ของชายและหญิงไม่ออกกำลังกาย ร้อยละ15,43ของชายและหญิงดื่มสุราน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์
- ติดตามไป20ปีพบว่าเสียชีวิต 5901 คนเสียชีวิตจากโรคหัวใจจำนวน 724,534 ชายและหญิงตามลำดับ
- ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะมีอัตราการตายจากโรคหัวใจและการตายอย่างอื่นน้อยที่สุดทั้งชายและหญิง
- ผู้ที่ดื่มสุราปานกลางจะมีอัตราการเสียชีวตน้อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่มหรือดื่มมาก
- สำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย พบว่าผู้ที่ไม่ดื่มสุราจะมีอัตราการตายสูงสุด
- สำหรับผู้ที่ไม่ดื่มสุราพบว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังจะมีอัตราการตายสูงสุด
- ผู้ที่มีอัตราการตายสูงสุดคือผู้ที่ไม่ออกกำลังและไม่ดื่มสุรา
- ผู้ที่ออกกำลังกายจะมีอัตราการตายน้อยกว่า 31-33%,ผู้ที่ดื่มสุราสัปดาห์ละครั้งจะมีอัตราการตายน้อยกว่า 30-32%,สำหรับผู้ที่ออกกำลังและดื่มสุราจะมีอัตราการตายน้อยกว่า 44-50%เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มสุรและไม่ออกกำลังกาย
โดยสรุป
- ผู้ที่ไม่ดื่มสุราหรือดื่มสุรามากเกินไปจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ที่ดื่มปานกลาง
- ผู้ที่ออกกำลังจะมีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่าไม่ออกกำลัง
- ผู้ที่ออกกำลังและดื่มสุราสัปดาห๋ละครั้งจะมีอัตราการเสียชีวิตน้อยสุด
กลับหน้าแรก
European Heart Journal on January 9, 2008,
การอดสุรา โรคพิษสุราเรื้อรัง คุณเมาหรือไม่ อาการขาดสุรา สุราช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ผลเสียต่อสุขภาพ การรักษาสุรา