jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

อาการทางระบบประสาทผู้ป่วยเอสแอลอี

 

อาการผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดจากโรคเอสแอลอี SLEนั้น มีอาการแสดงได้หลากหลายรูปแบบเป็นได้ทั้งความผิดปกติที่มีอาการแสดงของ

พบผู้ป่วยส่วนใหญ่ คือร้อยละ 80 มีอาการผิดปกติของระบบประสาทในช่วง 2 ปีแรกของการวินิจฉัยโรคเอสแอลอี SLE อาการของระบบประสาทที่พบบ่อยที่สุดคืออาการชักพบร้อยละ 54 ความผิดปกติทางจิต (psychosis) พบร้อยละ 13 ภาวะสับสนเฉียบพลัน (acute confusion state) พบร้อยละ 11 เนื่องจากอาการ และอาการแสดงทางระบบประสาทในโรคเอสแอลอี SLEนั้นเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง ดังนั้น ในการวินิจฉัยความผิดปกติทางระบบประสาทอันเนื่องมาจากโรคเอสแอลอี SLE จึงต้องอาศัยการวินิจฉัยแยกจากสาเหตุอื่นก่อน ได้แก่

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางระบบประสาทในโรคSLE นั้นขึ้นกับอาการ และอาการแสดงของผู้ป่วยต่ละราย ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นราย ๆ ไป เช่น

การรักษา

อาการผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดจากโรคเอสแอลอี SLEนั้นมีความหลากหลาย อาการไม่เฉพาะเจาะจง เป็นความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย หรือระบบประสาทส่วนกลางก็ได้ มีความรุนแรงตั้งแต่เล็กน้อยเช่น ปวดศีรษะเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงอาการไม่รู้สึกตัว ความผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นสามารถเกิดได้จากหลากหลายกลไก เช่น

อาจเกิดจากภาวะภูมิต้านทานกระตุ้นเซลล์ประสาท

ซึ่งอาจทำให้เซลล์ประสาทตื่นตัวผิดปกติ ได้รับบาดเจ็บ หรือตาย (immune-mediated neuronal excitation/ injury/ death) หรือเกิด demyelination ซึ่งความผิดปกติกลุ่มนี้ต้องการการรักษาด้วยยากดภูมิต้านทาน

ในขณะที่กลุ่มอาการอันเนื่องมาจากการขาดเลือด หรือการไหลเวียนโลหิตผิดปกติจากหลอดเลือดที่ผิดปกติ มีลิ้มเลือดในหลอดเลือดมักจะสัมพันธ์กับกุ่มอาการ antiphospholipid กลุ่มนี้ต้องการการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด

ผู้ป่วยที่มีผิดปกติทางระบบประสาทนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือการวินิจฉัย โดยแพทย์ควรตรวจประเมินผู้ป่วยโรคSLEเช่นเดียวกันกับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางระบบประสาททั่วไป และหาสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติ เช่น ยา การติดเชื้อ ความผิดปกติทางเมตาบอลิซึม ฯลฯ ก่อนวินิจฉัยอาการผิดปกติทางระบบประสาทนั้น ๆ เกิดจากโรคSLE
การรักษาอาการผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดจากโรคSLEนั้น หากผู้ป่วยมีอาการของนอกระบบประสาทที่กำเริบร่วมด้วย ให้การรักษาตามความรุนแรงโดยรวมของโรค แต่หากผู้ป่วยมีเพียงอาการผิดปกติทางระบบประสาทควรพิจารณาการรักษาตามความรุนแรงของอาการ และตามกลไกการเกิดโรคดังกล่าวข้างต้น